วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิถีมะเก่า ชาวล้านนา



เป็นรูปแบบการแพทย์พื้นบ้านของชาวบ้านในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ใช้วิธีการ ตามภูมิปัญญา ความเชื่อและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมตามวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดกันมาโดย เป็นผู้มีบทบาทในการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนาช่วยดูแลสุขภาพและรักษาโรคให้กับผู้ป่วยในชุมชนด้วยการใช้ยาและพืชสมุนไพรรวมทั้งวิธีการอื่นๆ เพื่อให้มี “สุขภาพดี” (Good Health Approach) ตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่เกิดจนแก่ มากกว่าปล่อยให้มี “สุขภาพในเชิงเจ็บป่วย” (Sick Health Approach) ต้องคอยบำบัดรักษาอาการของโรคเป็นหลัก

โครงการผลิตชุดความรู้สำหรับการสอนแพทย์ทางเลือก “วิถีมะเก่า ชาวล้านนาเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)โดยมี ดร.รชพรรณ  ฆารพันธ์ นักวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการเพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ และบันทึกข้อมูลจากหมอพื้นบ้าน หรือหมอเมืองในพื้นที่ล้านนาจำนวน 6 คน ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แล้วนำมาจัดทำเป็นบทเรียนออนไลน์ (E-Learning) และโปสเตอร์จำนวน 12 บทเรียน ได้แก่



1. นายอินสม  สิทธิตัน อายุ 67 ปี หมอพื้นบ้านล้านนา เวชกรรมไทย ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6 ด้านการแพทย์แผนไทย (แบบองค์รวม) พ.ศ. 2552 และหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (บ้านป่าป๋วยตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน) ถ่ายทอดบทเรียนเรื่องการนวดตอกเส้น และ การทำยาจู้ หรือลูกประคบสมุนไพร



2. นายอินปั๋น ทาคำสมอายุ 84 ปี หมอพื้นบ้านล้านนา เวชกรรมไทย(บ้านธงน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน)ถ่ายทอดบทเรียนเรื่องย่ำขาง และการทำสมุนไพรตะไคร้หอม



3. นายสุพัฒน์ สายยืดอายุ 60 ปี หมอพื้นบ้านล้านนา เวชกรรมไทย(หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่)ถ่ายทอดบทเรียนเรื่องการเข้าเฝือก และยาน้ำสมุนไพรในการรักษาแผลเรื้อรัง



4. นายสวัสดิ์ คุณชมภู (หมอจันทร์) อายุ 62 ปี หมอพื้นบ้านล้านนา เวชกรรมไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสมุนไพร แพทย์ทางเลือก ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นักวิจัยพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน( หมู่ที่ 9 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง)ถ่ายทอดบทเรียนเรื่อง สมุนไพรแก้โรคเก๊าท์ และ อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ



5. นายแก้ว ใจยืน อายุ 84 ปี หมอพื้นบ้านล้านนา เวชกรรมไทย( หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา) ถ่ายทอดบทเรียนเรื่อง สมุนไพรแก้เบาหวาน และเครื่องนวดจากไม้



6. นายบุญ อุปนันท์อายุ 62 ปี หมอพื้นบ้านล้านนา(ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่)ถ่ายทอดบทเรียนเรื่อง การนวดลั่นม่าน และน้ำคลอโรฟิลล์สมุนไพร

“วิถีมะเก่า ชาวล้านนา” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาดูแลผู้ป่วยด้วยภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน ตามความเชื่อ และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมตามวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดกันมา มุ่งเน้นในการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อให้เกิดความสมดุลของร่างกายและจิตใจเป็นสำคัญ หรือมุ่งรักษาคนมากกว่ามุ่งรักษาโรค สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ การใช้คาถาอาคมและพิธีกรรมเข้ามาร่วมในการสร้างเสริม ป้องกัน และดูแลรักษาสุขภาพอยู่เสมอ พโดยที่มองว่าการรักษาโรคนั้นไม่อาจรักษาเพียงด้านร่างกาย แต่ต้องบำบัดรักษาทางด้านจิตใจควบคู่ไปด้วย

ภาพ : ดร.ปณต สุสุวรรณ
เรื่อง : ดร.รชพรรณ ฆารพันธ์

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์