วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เอไอเอส จับมือ ม.แม่ฟ้าหลวง พัฒนานวัตกรรมตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM2.5 รับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นควัน ภาคเหนือ

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

AIS ผนึก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีก่อกำเนิด (AIE) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.แม่ฟ้าหลวง พัฒนานวัตกรรมตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM2.5 ด้วยเทคโนโลยี NB-IoT ด้วยอุปกรณ์ DEVIO NB-SHIELD I รับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นควัน จังหวัดเชียงราย

5 กุมภาพันธ์ 2563 : จากสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ส่งผลให้ขณะนี้ เกิดมลพิษทางอากาศ  โดยมีค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นเกินมาตรฐาน จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นวงกว้าง



ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว AIS โดยโครงการ AIAP (AIS IoT Alliance Program) ภาคีความร่วมมือด้านเทคโนโลยี IoT ระดับประเทศ ได้ร่วมมือกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีก่อกำเนิด (AIE) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง  ร่วมพัฒนานวัตกรรม IoT อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ (M-Care) ด้วยเทคโนโลยี NB-IoT ด้วยอุปกรณ์ DEVIO NB- SHIELD I  นำร่องติดตั้งอุปกรณ์ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าสุด จำนวน 11  จุด พร้อมร่วมบูรณาการผ่านเครือข่ายในชุมชน อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามคุณภาพอากาศ และอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่านทางเว็บไซต์  http://poomprommool.com/M-Care/ เพื่อจะได้รับมือและป้องกันตัวเองจากสถานการณ์ฝุ่นควันดังกล่าว

ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จของการนำเทคโนโลยี NB-IoT ด้วยอุปกรณ์ DEVIO NB-SHIELD I มาพัฒนาและออกแบบอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานได้จริง พร้อมตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม อันเป็นการยกระดับนวัตกรรม Smart City ของประเทศไปอีกขั้น



เทคโนโลยี IoT DEVIO NB-SHIELD I เป็นชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณ มีจุดเด่น คือ มีขนาดเล็ก ใช้ไฟน้อย ประหยัดพลังงาน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย AIS NB-IoT ที่ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคิดค้นและพัฒนาโดยทีมงานของ AIS IoT Alliance Program (AIAP) โครงการความร่วมมือของสมาชิก 1,500 ราย จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย ผู้ผลิตเทคโนโลยี นักพัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ, Product, Service หรือ Solution เพื่อให้เกิดการพัฒนา IoT Solution หรือ Business Model ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ขยายประโยชน์สู่ภาคประชาชน เสริมการบริหารจัดการในทุกภาคส่วน

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์