วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

6 เคล็ดลับกินต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

ขึ้นชื่อว่า มะเร็งไม่ว่าเป็นส่วนไหนหรือระยะใดก็ไม่มีใครอยากเป็น ผลที่ตามมาคือ ความกังวลใจของผู้ป่วย คนรอบข้าง และการรักษาที่ไม่รู้ว่าจะจบที่ตรงไหน จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถป้องกันให้มะเร็งไกลตัวได้ 
           
งานวิจัยพบว่าพฤติกรรมการกินมีผลทำให้เกิดมะเร็งมากถึง 1 ใน 3 ของปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ   โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับอ่อน ดังนั้นการรู้จักเลือกอาหารให้เหมาะสมและถูกต้องจึงมีส่วนอย่างมากในการป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง 

1. เลือกกินให้หลากหลายและครบหมู่
2. กินผักผลไม้หลากสี ต้านมะเร็ง
- สีแดง  อุดมด้วยไลโคปีน (Lycopene) พบมากในมะเขือเทศ พริกแดง  บีทรูท และแอปเปิ้ลสีแดง
- สีเหลืองและส้ม อุดมด้วยวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน (Beta  carotene) พบมากใน ฟักทอง แครอท และส้ม
- สีเขียว  อุดมด้วยอัลฟ่าแคโรทีน (Alpha Carotene)และคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)  พบมากใน ผักโขม  คะน้า บล็อคโคลี่
- สีม่วง อุดมด้วยสารแอนโทไซยานิน  (Anthocyanin) พบมากในกะหล่ำม่วง  ดอกอัญชัน  บลูเบอร์รี่  ลูกพรุน  และข้าวเหนียวดำ
- สีขาว  อุดมด้วยสารแซนโทน (Xanthone) พบมากในกระเทียม กล้วย ขิง  หัวไชเท้า กะหล่ำ  รวมถึงเห็ดต่างๆ   
3. เพิ่มธัญพืชและถั่ว
4. หมั่นเติมเครื่องเทศในอาหาร
5. เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง และเนื้อแดง
6.หลีกเลี่ยงอาหารก่อมะเร็ง
- อาหารทอดหรือปิ้งย่าง โดยเฉพาะอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหรือปิ้งย่างจนไหม้เกรียม หากจะกินควรตัดส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้ง จะช่วยลดสารพิษได้บ้าง แต่ก็ไม่ควรรับประทานบ่อยจนเกินไป
- อาหารที่ขึ้นราง่าย เช่น พริกแห้ง กระเทียม และถั่วลิสง ก่อนกินควรดูให้แน่ใจว่าไม่ได้ทิ้งไว้นานจนเกิดเชื้อรา
- อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป ใส่สี รมควัน หรือใส่ดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้า ขนม หรือเนื้อแดงที่สีสดมากๆ 
- อาหารสุกๆ ดิบๆ  อาหารที่ปรุงไม่สุกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อพยาธิ ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นมะเร็งได้ 

อีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำนอกจากการระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร นั่นก็คือการหมั่นสังเกตดูความผิดปกติของอุจจาระของตัวเองทุกวัน ฝึกให้เป็นนิสัย เพราะการสังเกตลักษณะของอุจจาระ เป็นการคัดกรองอาการป่วยเบื้องต้นแบบง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ หากพบว่าอุจจาระมีสี กลิ่น หรือลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

 

บทความโดย โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ใส่ใจค้นหา บำบัดรักษาโรคมะเร็งให้คุณ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 054 335262-8 ต่อ 187 , 160
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์