(ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหาข่าว) |
นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง
เผยผู้ประกอบการเซรามิกได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งการปรับราคาค่าก๊าซ
ทั้งในระบบอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน
อีกทั้งยังแบกรับค่าแรงที่สูงเพิ่มมากขึ้นกว่า 60% เริ่มจะพยุงตัวไม่ไหวแล้ว
โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางเริ่มปิดตัวลงมากว่า 20 แห่ง
ระบุอีก 4 เดือนข้างหน้าหากการช่วยเหลือจากภาครัฐยังไม่ออกมาเป็นรูปธรรม คาดกระทบทั้งระบบอย่างแน่นอน
หลังจากเมื่อวันที่
19 ก.ค.54 ที่ผ่านมา ราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)
ในภาคอุตสาหกรรมปรับขึ้น 3 บาท/กิโลกรัม ครั้งแรก ตามมติของนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)
เมื่อวันที่ 27 เม.ย.54 ให้ทยอยปรับราคาขายปลีกแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาสละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 3 บาท/ก.ก. รวมแล้ว 12 บาท/ก.ก.
และครั้งที่ 4 ปรับราคาขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.55 ทำให้ราคาก๊าซหุงต้ม
ในภาคอุตสาหกรรมมีราคาสูงถึง กก.ละ 30.13 บาท/สตางค์
และลำปางที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเซรามิกและเมืองต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกระดับประเทศ
ที่มีมานานเป็นสินค้าที่ส่งขายทั้งภายในและนอกประเทศ
สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดและประเทศไทยปีละไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท แต่สองปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเซรามิก
ต้องประสบปัญหาเรื่องการปรับราคาก๊าซในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนได้รับผลกระทบทำให้โรงานขนาดใหญ่หลายแห่งปิดตัวลงเพราะแบกรับภาระไม่ไหว
บางส่วนก็ปรับตัวหันมาใช้ก๊าซในภาคครัวเรือนที่มีราคาถูกกว่า
เพื่อบรรเทาและต่อสู้กับสภาพที่เกิดขึ้น แต่จากนั้นไม่นานก็มาประสบปัญหาการปรับราคาค่าแรงที่เพิ่มมากว่า 60% และกัดฟันต่อสู้มาเรื่อยแต่สุดท้าย ในวันที่ 1 ก.ย.56 มติคณะรัฐมนตรีให้มี
การปรับค่าก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนอีกเดือนละ 50 สตางค์
ซึ่งก็ไปกระทบกับประชาชนชาวบ้าน แต่ขณะเดียวกันยิ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการด้านเซามิกเข้าไปอีก
ต้องแบกภาระต้นทุนที่ต้องเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่ผลผลิตก็ยังคงเท่าเดิมการจำหน่ายสินค้าก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น
ทำให้โรงงานขนาดเล็กที่ประสบปัญหาที่ผ่านมา แบกภาระไม่ไหวทยอยปิดตัวลงไปกว่า 20 แห่งแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังจะเป็นปัญหากระทบไปทั่วทั้งจังหวัด
นายธนโชติ วนาวัฒน์ นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง
เปิดเผยว่า หลังจากที่ผู้ประกอบการประสบปัญหาที่ต้องแบกรับภาระค่าแรงที่สูงขึ้น
รวมทั้งค่าแก๊สในภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้นจนหลายแห่งปรับตัวหันมาใช้ก๊าซในภาครัวเรือนที่มีราคาถูกและลดจำนวนพนักงานลง
เพื่อให้สถานประกอบการอยู่รอด และพยายามทุกวิธี เพื่อที่จะให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือย่างเร่งด่วนไม่เช่นนั้นผู้ประกอบหลายแห่งอาจต้องปิดกิจการตามๆกันไป
เพราะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว ที่ผ่านมาโรงงานเซรามิกขนาดเล็กและขนาดกลางปิดตัวไปแล้วมากว่า 20 แห่ง และในวันที่ 1 ก.ย.56 ค่าก๊าซในภาคครัวเรือนจะมีการปรับตัวอีกยิ่งสงผลกระทบอย่างหนักซึ่งหากภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญเข้ามาช่วยเหลือตามที่ทางสมาคมฯเรียกร้องเข้าไปคาดว่าอีก 4 เดือนต่อจากนี้โรงงานเซรามิกหลายแห่งจะต้องปิดกิจการลงไปอย่างแน่นอน
ขณะที่ผู้ประกอบเซรามิกขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบกับเรื่องนี้ด้วย
คือ นายต่อศักดิ์ ประคำทอง เจ้าของโรงงานวังแคว้งเซรามิกคราฟท์ เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ต้นทุนการผลิตทั้งแรงงานวัตถุดิบ ที่ผ่านมาอยู่ที่ 30-40% แล้ว และเมื่อพลังงานต้นทุนการผลิตขึ้นอีกก็เท่ากบว่าต้นทุนเพิ่มอีก 30% ขึ้นไปอยู่ที่ต้นทุนการผลิตที่ 60% นอกจากนี้ยังจะมีปลีกย่อยไปอีกหากว่ารัฐบาลยังไม่มาใส่ใจหรือลงเข้ามาช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ
แม้จะพยายามประครองให้อยู่รอด แต่อาจจะไปไม่ไหวอาจจะต้องปิดตัวลงและปัญหาอื่นๆจะตามมาจึงอยากให้ภาครัฐเร่งเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการเซรามิกอย่างเร่งด่วนด้วย