ท่ามกลางกระแสการแข่งขันผลิตภัณฑ์ขนมเคี้ยวในระดับอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ที่มีทุนหนา
อัดโฆษณาดึงดาราชื่อดังทำการตลาด แต่สำหรับขนมท้องถิ่นต้นตำรับจากภูมิปัญญาอย่าง “ข้าวแต๋น” ยังสามารถยืนหยัดชิงส่วนแบ่งการตลาด
และยังแจ้งเกิดในตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย
ข้าวแต๋น
ขนมพื้นบ้านที่มีข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบหลัก
นำมาผ่านการแปรรูปซึ่งเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง
หากแต่วันนี้ข้าวแต๋นก้าวขึ้นแท่นเป็นสแน็กแบบไทยๆที่สร้างรายได้หลักล้านให้แก่ผู้ประกอบการ
โดยได้มีพัฒนาปรับโฉมทั้งรูปแบบ บรรจุภัณฑ์และรสชาติกลายเป็น ข้าวแต๋นสารพัดรส
เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น

“ ด้วยความที่เราไม่หยุดนิ่ง
เราได้พัฒนาข้าวแต๋นให้มีรสชาติถึง 50 รส
โดยตลาดในประเทศหน้าที่ได้รับความนิยมยังคงเป็น น้ำอ้อย ธัญพืช หมูหยอง
ในขณะที่ตลาดต่างประเทศ อย่าง ฮ่องกง จีน นิยมหน้าวาซาบิ สาหร่าย ต้มยำ
กระเทียมพริกไทย นอกจากนี้เรายังพัฒนา รสแกงเขียวหวาน รสลำไย
รสทุเรียนเพื่อบุกตลาดประเทศจีน”
นายชาญยุทธ กล่าวต่อว่า ในปี 2557
ยอดการสั่งซื้อน่าจะโตขึ้น
แต่ไม่เป็นปัญหาเพราะกำลังการผลิตที่มีอยู่สามารถรองรับได้อีกมาก
ทุกวันนี้เราใช้กำลังการผลิตเพียง 70% เท่านั้น ยังสามารถรองรับยอดสั่งได้อีกมาก
โดยเราใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิต 30% ที่เหลือ 70% เป็นแรงงานคน ทุกวันนี้เรามีพนักงานในสายผลิต
80 คน ซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวแต๋นทวีพรรณ
ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบหมื่นบาทต่อเดือน
สุธาณี
เยาวพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนสามัญข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ 2
เปิดเผยว่า ข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ
ต.บ้านเป้า อ.เมือง จ.ลำปาง ก่อตั้งเมื่อปี 2538
จากโรงงานเล็กๆที่ต้องอาศัยกำลังการผลิตในชุมชน ได้มีการพัฒนาเรื่องคุณภาพสินค้า
และช่องทางการจัดจำหน่าย จนวันนี้มีโรงอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ถึง 3 โดม
เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
“ข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์
เปิดตลาดส่งออกมากว่า 8 ปี แล้ว โดยเน้นตลาดเอเชียและยุโรป ช่วงไตรมาสที่ 3
ทางเรากำลังได้ออเดอร์จากกลุ่มประเทศยุโรปเพิ่มขึ้นแต่กลับเจอปัญหาข่าวพบสารเคมีในข้าวไทยทำให้ลูกค้ายกเลิกการสั่งซื้อไปหลายราย
เพราะไม่มั่นใจในคุณภาพข้าวไทย ซึ่งกระทบต่อเรามาก” นายสุธาณีกล่าว
ข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์
ส่วนใหญ่จำหน่ายในประเทศถึง 85%
ส่งออกต่างประเทศ 15% แต่มีแผนจะบุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น เพราะตั้งแต่ปี
55 ที่ได้ไปออกโร้คโชว์แสดงสินค้ากับกรมส่งออก
ทำให้ข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะได้ออเดอร์จาก จีน ญี่ปุ่น มากขึ้น
นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะเปิดตลาดไปยัง ลาว พม่า และเวียดนามอีกด้วย
โดยข้าวแต๋นที่ได้รับความนิยมมีหลายหน้า เช่น หน้าธัญพืช รวมรส วาซาบิ ต้มยำ
ลิ้นจี่ และได้พัฒนารสชาติตามความต้องการของลูกค้า เช่น
หน้าผลไม้ต่างๆอย่างทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ อีกทั้งยังทำข้าวแต๋นให้มีรูปร่างหลากหลายอย่างรูปหัวใจ
รูปโดนัส
นายสุธาณีกล่าวต่อว่า ข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคนทั้งสิ้น
ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตเพียง 5% เท่านั้น
ที่เหลือเป็นงานฝีมือจากคนในพื้นที่ทั้งสิ้น หากนำเครื่องจักรมาใช้ในกระบวนการผลิตอาจจะทำให้เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หมดไป
ซึ่งเมื่อสอบถามถึงแนวโน้มธุรกิจปี 57
ยายสุธาณีให้ความเห็นว่าคงต้องดูทิศทางนโยบายจากรัฐในเรื่องการพัฒนาข้าวและเพิ่มความน่าเชื่อถือเรื่องคุณภาพข้าวไทยก่อน
เพราะต่างประเทศค่อนข้างละเอียดอ่อนกับเรื่องนี้มาก แต่คาดว่ายอดการผลิตไม่น้อยกว่าปีนี้แน่นอน
สำหรับการผลิตข้าวแต๋น ของชุมชนใน ‘หมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ’ นั้น
กว่าครึ่งหนึ่งของชุมชนมีรายได้จากการทำข้าวแต๋น
จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่บ้านข้าวแต๋น นอกจากทำการเกษตรแล้วอาชีพรองคือ
การทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม สร้างรายได้เฉลี่ย 300 – 450
บาทต่อคนต่อวัน
นับเป็นอักหนึ่งตัวอย่างของการเติบโตทางธุรกิจ
จากผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ขนมพื้นบ้าน
สามารถพัฒนาให้กลายเป็นสินค้าทำเงินเข้าสู่มือคนในท้องถิ่น
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 948 วันที่ 18 - 24 ตุลาคม 2556)