กุลธิดา
สืบหล้า...
เสือทัสมาเนีย สัตว์กินเนื้อมีกระเป๋าหน้าท้อง
พบเฉพาะบนเกาะทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย ตัวสุดท้ายของโลกตายไปเมื่อปี พ.ศ. 2479 ในสวนสัตว์
Hobart โดยถิ่นอาศัยเดิมของมันก็ได้กลายเป็นเขตชุมชนไปหมดแล้ว
เสือโคร่งสายพันธุ์ชวา
สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติเมื่อปี พ.ศ. 2523 นี้เอง โดยที่มนุษย์ยังรู้เรื่องราวของมันน้อยมาก
นอกจากนี้ ยังมีเสือโคร่งเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเสือโคร่งขนาดใหญ่สายพันธุ์หนึ่งของโลกที่มีขนหนาและมีลวดลายสวยงาม
มันจึงถูกไล่ล่าจนสูญพันธุ์เพื่อนำขนไปประดับบ้านและใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม
แถมยังถูกทำลายที่อยู่อาศัยโดยมนุษย์อีกด้วย
เสือโคร่ง หรือเสือลายพาดกลอนมีชนิดย่อยอยู่
8 ชนิดในโลก สำหรับชนิดย่อยที่พบในประเทศไทย คือ
เสือโคร่งอินโดจีน จัดเป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งที่หายากมากในโลก
มีหลายประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
หน้าที่นี้ควรเป็นของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน หรือนักวิชาการด้านป่าไม้
ว่าอันที่จริง เสือโคร่งอยู่ในป่านั้นถูกต้องแล้ว ด้วยมุมมองที่เป็นธรรม สิ่งที่ชาวบ้านต้องทำคือเข้าไปไล่วัวของตนเองออกมาจากป่า
เพราะป่าคือบ้านของสัตว์ป่า ห้ามนำวัวเข้าไปเลี้ยง และหากมีใครยิงเสือโคร่ง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย อีกประเด็นหนึ่งก็คือ
เสือโคร่งไม่ได้อยู่รวมกันเป็นฝูงแบบพ่อแม่ลูก แต่ที่เจอรอย 3 ตัว อาจเป็นแม่
1 ตัว และลูก 2 ตัว
เสือโคร่งไม่ใช่ผู้ร้าย
เพียงแต่ธรรมชาติมอบหมายให้พวกเขาดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการเป็นผู้ล่า เสือโคร่งจึงอยู่ลำดับสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร
พวกเขากลัวคนพอ ๆ กับที่เรากลัวเขา และขอเพียงพื้นที่ป่าที่จะดำรงชีวิตสืบทอดเผ่าพันธุ์
โดยปราศจากการแย่งชิงของมนุษย์
ด้าน ดร. อนรรฆ พัฒนวิบูลย์
อาจารย์คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า
ป่าตะวันตกเป็นป่าแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่ ในปี
พ.ศ. 2553
ประเทศไทยเคยให้ปฏิญญาไว้ว่า “จะไม่มีโครงการพัฒนาในพื้นที่ที่มีเสือโคร่ง” อีกทั้งมีแผนในระดับชาติระหว่างปี พ.ศ. 2553-2565 ว่าจะทำให้มีเสือโคร่งเพิ่มขึ้นอีก
20 ตัว
นอกจากนี้ ดร. โรเบิร์ต สไตน์แมตซ์
นักวิจัยจาก WWF
ประเทศไทย ยังเปิดเผยข้อมูลที่น่ายินดีว่า ปัจจุบันพบเสือโคร่งโตเต็มวัยในป่าแม่วงก์-คลองลานถึง
15 ตัว ลูกอีก 3 ตัว เพิ่มขึ้นจากเมื่อ
2 ปีก่อนที่พบเสือโคร่งโตเต็มวัย 12 ตัว
และลูก 2 ตัว ซึ่งการที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่ได้ นั่นแปลว่า
แหล่งอาหารของมันอย่างกระทิง เก้ง กวาง ฯลฯ กลับมาแล้ว
“แนวโน้มการฟื้นฟูเสือโคร่งในป่าตะวันตกอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น
แต่ก็ยังมีจำนวนไม่มาก ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์ ทั้งนี้จากงานวิจัยของต่างประเทศพบว่า
หากไม่มีการคุกคามจากมนุษย์ จะสามารถฟื้นฟูเสือโคร่งให้เพิ่มจำนวนได้ร้อยละ 10
ต่อปี สำหรับประเทศไทยอาจจะฟื้นฟูจำนวนเสือโคร่งได้เร็วกว่านี้
เนื่องจากเสือโคร่งของป่าแม่
วงก์ส่วนหนึ่งย้ายออกมาจากป่าห้วยขาแข้ง เพื่อสร้างอาณาเขตของตนเองและขยายพันธุ์ต่อไปเรื่อย
ๆ ในป่าแม่วงก์”
ประเทศไทยมีเสือโคร่งเหลืออยู่ในป่าราว
250 ตัว พวกเขาไม่เพียงมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ
แต่ยังเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เพราะเสือโคร่งจะอาศัยอยู่ในป่าสมบูรณ์เท่านั้น
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เสือโคร่งอีกไม่น้อยยังคงเผชิญมหันตภัยจากมนุษย์ในรูปแบบต่าง
ๆ
เสือโคร่ง สถานภาพ : IUCN-ใกล้สูญพันธุ์ CITES-Appendix I
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 989 ประจำวันที่ 1 - 7 สิงหาคม 2557)