วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ภาพหลอน U-NET !



นวงการศึกษา คำถามที่ยังไม่ได้ตอบ เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง คือการมีอยู่ของ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รวมทั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) องค์กรเหล่านี้มีอยู่เพื่อสิ่งใด และมีองค์กรใดจะตรวจสอบ รับรองมาตรฐานและทดสอบองค์กรเหล่านี้ว่า มีมาตรฐานเพียงพอที่ผ่านการทดสอบสติปัญญาหรือไม่ เพราะความเชื่อว่าคนในองค์กร ฉลาดสุดๆ จนไม่มีใครกล้าแตะต้อง

วงการศึกษาบ้านเราจึงเศร้าหมองเช่นทุกวันนี้
เมื่อต้นปี 57 สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)จัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นการสอบเพื่อวัดผลของเด็กชั้นป.6 ม.3 และ ม.6 ว่าง่ายๆก็คือดูว่าเรียนแล้วมีเข้าใจเนื้อหาสาระที่เรียนในหลักสูตรมากน้อยแค่ไหนโดยใช้ข้อสอบจากส่วนกลางเป็นตัวชี้วัด

แต่ผลสอบที่ประกาศมาช่วงปลายเดือนมีนาคมกลับช็อคความรู้สึกเมื่อคะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศของนักเรียน ม.6 สอบตกทุกวิชา ยกเว้นวิชาสุขศึกษา !! แต่ที่น่าสนใจคือ ในแต่ละวิชาจะมีคะแนนต่ำสุด คือ 0 คะแนน ซึ่งความน่าจะเป็นของการตอบผิดทุกข้อมันก็น้อยพอๆกับตอบถูกทุกข้อเช่นกัน แปลกแต่ก็เกิดขึ้นทุกปีที่มีการจัดสอบ จะว่าเป็นแล้วหากการสอนหลักสูตรเดียวกันแต่ไม่สามารถทำให้ทุกโรงเรียนมี มาตรฐานที่สามารถพัฒนาเยาวชนได้นี่ก็เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนของความระบบเหลว ของระบบการศึกษาได้อยู่ที่ว่าเมื่อไหร่จะแก้ให้ตรงจุดซักที

ถัดมาอีกสักหนึ่งเดือนราวๆปลายเดือนเมษายนก่อนรัฐประหาร ที่ผ่านมา ก็มีกระแสอันร้อนแรงในโลกโซเชียล ที่ทำให้เมาส์ในมือทุกคนสั่นไปหมด เพราะกระแส U-NET ที่จะให้มีการทดสอบนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายของทุกสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยที่มีความสมัครใจซึ่งจะสอบวัดทักษะพื้นฐาน 4 วิชา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต :การรู้เท่าทันสื่อ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) แต่กระแสการต่อต้านไม่เอา U-NET ก็เกิดทันทีเมื่อมีข่าวว่าจะจัดการสอบนี้ขึ้นมา เพราะกลุ่มคนที่จะต้องสอบ U-NET ล้วนแต่เป็นกลุ่มที่ใช้โซเชียลมีเดียกันทั้งนั้น ฉะนั้นการรณรงค์ไม่เอา U-NET ผ่านwww.change.org จึงมีผู้ไปลงชื่อคัดค้านมากถึง 6 หมื่นรายชื่อ โดยให้เหตุผลว่า

การสอบ U-NET ไม่ ได้ช่วยวัดความรู้และมาตรฐานของบัณฑิตระดับปริญญาตรีและไม่สามารถชี้วัดอะไร ได้เลยกับตัวนักศึกษาในด้านความรู้แต่ละสถาบันก็มีการวัดผลกันอยู่แล้ว การสอบ U-NET จึงเป็นระบบที่ซ้ำซ้อน ส่วนในด้านทักษะที่จำเป็นในการทำงานบางอย่าง เช่นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือมาตรฐานจริยธรรมก็วัดกันไม่ได้ด้วยการสอบข้อเขียนอย่างที่ สทศ. เสนอแนะ

การ เรียนในมหาวิทยาลัยเป็นการเรียนการสอนที่เน้นจินตนาการเปิดกว้างไม่มีที่ สิ้นสุดเน้นการคิดวิเคราะห์และการหาความรู้ด้วยตัวเองนักศึกษาแต่ละคนจึงมี วิธีการหาความรู้ที่แตกต่างกัน แต่ก็มีคุณภาพเช่นกันอีกทั้งแต่ละศาสตร์แต่ละสาขาก็มีอัตลักษณ์เป็นของตัว เอง ยากแก่การจัดมาตรฐานให้อยู่เฉพาะในกรอบของสทศ.และที่ผ่านมา นักเรียน นิสิต นักศึกษา ก็วนเวียนกับการสอบต่างๆที่ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างมาแล้วตลอดชีวิตการเรียน ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้ สทศ.ยกเลิกการสอบ U-NET เพราะเป็นการสอบที่ซ้ำซ้อนไม่มีความจำเป็น สิ้นเปลืองและมีแต่จะสร้างปัญหาพวกเราได้พยายามคัดค้านการสอบครั้งนี้อย่างเต็มที่ แต่ผู้ใหญ่ในสทศ.ยังคงประกาศเดินหน้าไม่สนใจเหตุผลและข้อเรียกร้องของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างพวกเรา

เมื่อไม่นานมานี้ก็มีเสียงกระหึ่มดังอีกครั้งหลังจากที่มีการแชร์ภาพกระดาษคำตอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT ตอนที่1) เผยแพร่ผ่านอินสตราแกรม จนมีกระแสกระหน่ำสาวน้อยคนนั้นทั้งในอินสตราแกรมและเฟสบุ๊คแฟนเพจจนสทศ.ต้องตัดสิทธิ์ไม่ตรวจข้อสอบของเด็กคนนั้น แต่ก็ทำถามที่ยังค้างคาใจก็คือทำไมจึงมีการอนุญาตนำโทรศัทพ์มือถือเข้าห้องสอบได้ ทั้งที่บางศูนย์สอบแม้แต่ปากกาไฮไลท์ก็เอาเข้าไม่ได้จนตอนนี้เรื่องก็เงียบไป....

เป็นบุญของแร็คลานนา เหลือเกินที่เกิดก่อนที่จะมี สทศ. ไม่เช่นนั้นคงต้องลำบาก ตรากตรำอ่านตำราเพื่อสอบกลางภาค ปลายภาค O-NET GAT PAT Admission สอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกเรียกได้ว่ากว่าจะเรียนจบปริญญาตรี เราต้องผ่านการสอบมากมายก่ายกองจนหลายคนจมความรู้ตาย เพราะระบบการเรียนที่ไม่พัฒนาผู้เรียนเท่าที่ควร

จนล่าสุด U-NET มีแนวโน้มกำลังจะกลับมา เพราะ สทศ.ยันจำเป็นต้องสอบ ไม่บังคับแต่หน่วยงาน บริษัท อาจจะนำคะแนนไปใช้ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน !!

แต่ก่อนจะทดสอบเด็ก อันดับแรกควรทดสอบสมอง สติปัญญา สทศ.ก่อน


Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์