น านหลายสิบปี
ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะสวมบทเพชฌฆาต หยิบยื่นความป่วยไข้ ความตายให้กับชาวบ้านแม่เมาะ
ภาพเหล่านี้ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเทศกาลท่องเที่ยว
ความบันเทิงและเสียงหัวเราะที่ซ่อนน้ำตาไว้ภายใน
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเพียงใด
เวลาเดินเร็วจนเราก้าวย่างเข้าปีใหม่มาได้เกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว
แต่สำหรับผู้ป่วยชาวแม่เมาะที่ได้รับผล กระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะยังคงรอคอยอย่างมีความหวังที่จะได้รับการเยียวยา
รายล่าสุดที่จากโลกนี้ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมาเป็น 1 ใน 4
ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบชุดแรกยื่นฟ้อง กฟผ.แม่เมาะ
ให้เยียวยาความทุกข์ทรมานกับอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์จน
ช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในการดำรงชีวิต
มาถึงวันนี้กลุ่มผู้ป่วยชุดแรกได้จากลาโลกนี้ไปหมดแล้ว
แต่การเดินหน้าเพื่อเรียกร้องการเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ยื่นฟ้องเพิ่มอีกหนึ่งร้อยกว่าราย
ยังคงรอความหวังจากกระบวนการยุติธรรมที่ กฟผ.ยื่นอุทธรณ์คดี โดยไม่รู้ว่าต้องรอไปอีกนานแค่ไหน
และผู้ที่ได้รับผลกระทบจะอยู่รอวันนั้นได้ครบทุกคนหรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่รอคำตอบมานานนับสิบปี
ในขณะที่
กฟผ.แม่เมาะ ยื่นอุทธรณ์ต่อคำพิพากษาที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยให้เหยื่อ
รายละ 240,000
บาท อาจจะดูเป็นเงินเพียงน้อยนิด
แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นคนในพื้นที่ได้ผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า
ที่แต่ละปีมีผลกำไรมหาศาลนั้นเป็นเงินที่ผู้ได้รับผลกระทบควรได้ในยามที่เขา
เหล่านั้นยังมีลมหายใจอยู่
หาใช่ได้รับการเยียวยาในยามที่เหลือแต่เพียงชื่อในฐานะโจทก์โดยที่ไม่รู้ว่า
ความยุติธรรมที่เขาเหล่านั้นควรได้รับจะมาถึงเมื่อใด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการก่อเกิดของโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำแม่เมาะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่คนท้องถิ่นส่วนหนึ่ง
มีชุมชนใหม่เกิดขึ้น มีการจ้างแรงงานคนในท้องถิ่น ในขณะที่ความรู้สึกหวาดหวั่นของชาวบ้านก็ถูกลบเลือนด้วยโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆ
รวมทั้งการเชื้อเชิญให้คนต่างถิ่นไปเที่ยวแม่เมาะที่ยังมีศักยภาพในการท่องเที่ยวสูง ‘เทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ’
ก็ไม่ต่างไปจากงานรื่นเริงบนแหล่งวัตถุดิบถ่านหินที่ซึมซับคราบน้ำตาของผู้ได้รับผลกระทบ
การมีอยู่ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะอาจทำให้ลำปางเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจ
และโรงไฟฟ้าแม่เมาะคงอยู่คู่กับคนลำปางต่อไปอีกยาวนานนับสิบปี จนกว่าวัตถุดิบถ่านหินจะหมดไป
หรือเหลือจำนวนน้อยไม่เพียงพอในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีก ถึงวันนั้นลำปางก็จะมีแหล่งท่องเที่ยวที่ยังอุดมสมบูรณ์
และคงความเป็นธรรมชาติอันงดงามไว้เหมือนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆของจังหวัดลำปาง
ที่ยังไม่ถูกรุกรานจากคนต่างถิ่น
จาก
แนวคิดในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับสิ่งก่อสร้างมากกว่าการ
อนุรักษ์ธรรมชาติดั้งเดิม
แร็ค
ลานนาเชื่อว่าผู้บริหารโรงไฟฟ้าแม่เมาะคงไม่ซ่อนความจริงที่โหดร้ายไว้
เบื้องหลังเทศกาลงานรื่นเริงที่เหมือนทำนาบนหลังผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ
โปรยเงินเพื่อสร้างภาพ
เทศกาลนี้จัดมาอย่างต่อเนื่องนับสิบปี
ควบคู่มากับเสียงเรียกร้องของคนท้องถิ่นให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ดูแลใส่ใจในผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้า เช่นเดียวกับคนในท้องถิ่นอื่นๆ
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน บ้านกรูด บ่อนอก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของ
กฟผ. โรงไฟฟ้าที่บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ของบริษัทสยามเอ็นเนอร์ยี จำกัด
พวกเขามีสิทธิที่จะเรียกร้อง
และแสดงความกังวลห่วงใยในการที่คนต่างถิ่นไปใช้ผืนดินของเขา
ทรัพยากรธรรมชาติของเขา ส่งออกความเจริญไปสู่คนในเมืองใหญ่
ทิ้งภาระเสี่ยงภัยไว้กับชาวบ้าน ตาสี ตาสา ที่ไม่มีพลังจะไปต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมใดๆ
นอกจากยอมจำนน และยอมเชื่อในสิ่งที่ “คนต่างถิ่น”บอกพวกเขา