วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คำสั่งศาลเป็นหมัน กฟผ.แก้ทุกข้อ ผู้ฟ้องยื่นชี้ขาดใหม่


ศาลปกครองเชียงใหม่ลงพื้นที่เหมืองแม่เมาะ ติดตามการดำเนินการตามคำพิพากษา 5 ประเด็น หลัง กฟผ.ยื่นแก้ไขมาตรการใหม่ทั้งหมด ขณะที่ทีมสภาทนายความตัวแทนผู้ฟ้องคดี สงวนสิทธิ์ไม่ยอมรับในการแก้ไขมาตรการดังกล่าว เตรียมประชุมหารือภายในและยื่นเสนอให้ศาลวินิจฉัยใหม่

• ศาลปกครองตรวจสอบ
           
เมื่อวันที่ 17 มิ..58 นายพรชัย จันทรมะโน ผู้อำนวยการกลุ่มสนับสนุนงานคดีและบังคับคดีปกครอง ศาลปกครองเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายวิชิต ขอดเตชะ พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ  และน..อนงนุช เออไชยา พนักงานคดีปกครองชำนา­การ ได้ติดตามการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด พร้อมกับตรวจสถานที่พิพาทตามประเด็นที่ศาลตัดสิน 5 ประเด็นด้วยกัน โดยมีทีมสภาทนายความ ประกอบด้วย นายธนู เอกโชติ   นายวิโรจน์ ช่างสาร และน..นภาพร  สงปรางค์ เป็นตัวแทนทางฝ่ายโจทก์  รวมทั้งนางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และชาวบ้านผู้ร่วมฟ้องคดีเข้าร่วมประมาณ 10 คน  ส่วนทางด้าน กฟผ.แม่เมาะ มีนายประภาส วิชากูล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ  นายโอภาส จริยภูมิ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและบริหารเหมืองแม่เมาะ ร่วมชี้แจงในประเด็นต่างๆ   พร้อมด้วยนายชัยยุทธ สุขเสริม วิศวกรเหมืองแร่ชำนา­การ สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 เป็นตัวแทนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่  ..จารุวัฒน์ พ่วงสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนา­การ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่   ตัวแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ข้าร่วม

 กฟผ.ขอเปลี่ยนมาตรการใหม่
           
การติดตามครั้งนี้ เนื่องจากทาง กฟผ.แม่เมาะ ได้ยื่นรายงานการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ไปเมื่อวันที่ 8 .. 58 แล้ว ซึ่งทาง กฟผ.ยืนยันว่าได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลอย่างเคร่งครัด และมาตรการที่เสนอไปนั้นได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)แล้ว ดั้งนั้น ศาลปกครองฯ จึงมอบหมายให้พนักงานคดีปกครองลงพื้นที่ตรวจสอบว่าทาง กฟผ.ดำเนินการตามที่รายงานต่อศาลหรือไม่  โดยนายวิชิต ขอดเตชะ พนักงานคดีปกครองชำนา­การ ได้ชี้แจงรายละเอียดตามประเด็นต่างๆ ให้ตัวแทนผู้ฟ้องคดีทราบว่าทาง กฟผ.จะดำเนินการอย่างไร เนื่องจาก กฟผ.ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรการในประเด็นที่ศาลพิพากษาใหม่ทั้งหมด โดยให้ทาง กฟผ.อธิบายมาตรการที่เปลี่ยนแปลงให้ทราบ ก่อนที่จะลงพื้นที่ตรวจสอบว่า กฟผ.ได้ปฏิบัติตามที่รายงานจริงหรือไม่

• ปลูกต้นไม้แทนม่านน้ำ
           
ประเด็นที่ 1 ให้ทำการติดตั้งม่านน้ำเพื่อเป็นการลดฝุ่นละอองในบรรยากาศความยาว 800 เมตร  ระหว่างที่ทิ้งดินทิศตะวันออกกับบ้านหัวฝาย และด้านทิศตะวันตกกับหมู่บ้านทางทิศใต้ โดยทาง กฟผ.ได้ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้รับความเห็นชอบ แก้ไขมาตรการใหม่เป็น ให้ปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นระหว่างเขตทำเหมืองและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่บ้านหัวฝาย บ้านดง บ้านห้วยคิง และบ้านหางฮุง   บำรุงรักษาแนวต้นไม้ที่ปลูกและปลูกต้นไม้ใบกว้างเพิ่มสลับกับต้นสนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นละออง   ซึ่งในพื้นที่จริงปัจจุบันได้มีการปลูกต้นสนสูงประมาณ 20 เมตร และต้นไม้ใบหนาสลับกับแนวต้นสน เพื่อป้องกันฝุ่นแล้ว 

• อพยพเมื่อมีการทิ้งดิน 148 ล้านลบ..
           
ประเด็นที่ 2  การอพยพราษฎรออกนอกรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร โดยจัดตั้งคณะทำงานระดับท้องถิ่นและผู้เชี่ยวชา­ร่วมกันพิจารณาในการอพยพ  ซึ่งทาง กฟผ.ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรการดังกล่าว เป็น มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เสนอไว้ในรายงานฯ กำหนดว่า อพยพหมู่บ้านออกนอกรัศมีผลกระทบ กิโลเมตร เมื่อมีการทิ้งดินตั้งแต่ 148 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีขึ้นไป ซึ่งในประเด็นนี้ผู้ฟ้องคดีได้มีการโต้แย้งว่า กฟผ.ไม่ควรมีเงื่อนไขว่าจะต้องทิ้งดิน 148 ล้านลูกบาศก์เมตรถึงจะอพยพชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจริงๆ เห็นได้จากกลุ่มที่เคยอพยพออกมาแล้ว แต่ยังมีชาวบ้านที่ยังรอการอพยพอยู่อีกจำนวนมาก ในเมื่อชาวบ้านอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรก็ควรจะให้ชาวบ้านได้อพยพออกจากพื้นที่ รวมทั้งการตั้งคณะทำงานฯ ไม่เคยมีตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าไปร่วมด้วยเลย จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา

• ยันสนามกอล์ฟไม่อยู่ในขุมเหมือง
           
ประเด็นที่ 3 ให้ฟื้นฟูขุมเหมืองให้ใกล้เคียงกับสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยการถมดินกลับในบ่อเหมืองให้มากที่สุด และให้ปลูกป่าทดแทนเฉพาะในส่วนที่ กฟผ.นำพื้นที่ที่ต้องฟื้นฟูขุมเหมืองไปทำเป็นสวนพฤกษชาติและสนามกอล์ฟ ประเด็นนี้ทาง กฟผ.ชี้แจงว่า พื้นที่นำไปทำสนามกอล์ฟและสวนพฤกษชาติไม่ใช่แปลงประทานบัตรตามคำขอประทานบัตรที่ 3-6/2530  และ 30-46/2535 ที่เป็นข้อพิพาทตามคำพิพากษาในคดีนี้ แต่เป็นส่วนหนึ่งของแปลงประทานบัตรที่ 20010/15937 คำขอที่ 13/2558  กฟผ.ได้สิ้นสุดการทำเหมืองและถมกลับ ฟื้นฟูโดยการปลูกต้นไม้โตเร็วแล้ว
• พื้นที่ทับซ้อนปลูกต้นไม้แล้ว
           
ทั้งนี้ กฟผ.ได้นำแผนที่แปลงประทานบัตรมาเทียบให้ดูระหว่างพื้นที่ขุมเหมืองและสนามกอล์ฟ ซึ่งจะมีพื้นที่ของสนามกอล์ฟส่วนหนึ่งที่ทับซ้อนกับขอบขุมเหมือง แต่ได้มีการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว โดยทางสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 ยืนยันว่า ได้เข้ามาตรวจสอบพื้นที่ พบว่าสนามกอล์ฟไม่ได้ทับซ้อนกับพื้นที่ขุมเหมือง แต่มีพื้นที่คาบเกี่ยวกันอยู่เล็กน้อยเท่านั้น

• ผู้ฟ้องท้วงเรื่องสนามกอล์ฟไม่ชัดเจน
           
แต่ด้านผู้ฟ้องยังท้วงติงว่า ในส่วนนี้ทางพิพากษาพูดไว้ชัดเรื่องสนามกอล์ฟ เข้าใจว่าเป็นพื้นที่ที่ตั้งสนามกอล์ฟในปัจจุบันเป็นดินจากขุมเหมือง ต้องดูว่าประทานบัตรครอบคลุมไปถึงไหนจะเกี่ยวกับพื้นที่นำดินไปกลบด้วยหรือเปล่า ดินที่เอาไปจากขุมเหมืองอยู่ในสนามกอล์ฟหรือไม่ ทางผู้ฟ้องอยากได้คำตอบ หากพูดว่าสนามกอล์ฟไม่ได้เกี่ยวกับสนามกอล์ฟเลย แต่ศาลพิพากษาออกมาพูดถึงสนามกอล์ฟได้อย่างไร
           
ทางตัวแทน กฟผ.ชี้แจงต่อว่า การทำเหมืองจะมีการขุดดินไปเก็บกองไว้ด้านนอกขุมเหมือง ณ ตอนนั้นได้มีการขุดดินไปเก็บกองไว้ในพื้นที่สนามกอล์ฟในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนได้รับอนุญาตเป็นที่ทิ้งดิน ปัจจุบันพื้นที่ตรงนั้นไม่มีใบอนุญาตที่ทิ้งดินแล้วจึงได้ฟื้นฟูปรับปรุงขึ้นมาเป็นสนามกอล์ฟ  และปัจจุบันในบ่อเหมืองกำลังทำงานอยู่ยังไม่สามารถถมดินกลับได้ คาดว่าจะเริ่มมีการถมกลับบางส่วนได้ในปี 2564 
           
นายถาวร งามกนกวรรณ  ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ กล่าวเสริมว่า ตอนยื่นคำให้การได้มีเอาสารและมีแผนที่ประกอบ EIA เมื่อศาลตัดสินแล้วจึงมาลงลึกในรายละเอียดอีกครั้งเพื่อตรวจสอบ จึงมีการทำแผนที่ขอบเขตประทานบัตรขึ้นมาให้เห็นชัดเจนว่าเป็นพื้นที่คนละแปลง

• เพิ่มระบบบำบัดน้ำ 
           
ประเด็นที่ 4  ให้นำพืชที่ปลูกใน wetland ไปกำจัด และปลูกเสริมทุก 18 เดือน และต้องทำการขุดลอกเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำใน wetland  กฟผ.ได้ขอแก้ไขมาตรการและได้รับความเห็นชอบจาก สผ.แล้ว เปลี่ยนเป็น สร้างระบบบำบัดน้ำโดยใช้ Anaerobic bacteria  หรือโดยวิธีอื่นที่เพื่อประสิทธิภาพในการลดซัลเฟตก่อนปล่อยสู่ wetland  และให้ขยายพื้นที่ wetland หรือสร้างระบบบำบัดน้ำโดยใช้ Anaerobic bacteria ให้มีความสามารถในการบำบัดให้เพียงพอสำหรับรองรับน้ำทิ้งจากบ่อเหมืองที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งจากการตรวจสอบพื้นที่ได้มีการดำเนินการ wetland  โดยใช้ต้นกกในการดูดซับ และมีการทดลองใช้ระบบบำบัดน้ำ Anaerobic bacteria ประกอบกันอยู่

• สเปรย์น้ำบนสายพานเป็นระยะ
           
ประเด็นที่ 5 ให้ทำการขนส่งเปลือกดิน โดยใช้ระบบสายพานที่มีการติดตั้งระบบสเปรย์น้ำตามแนวสายพาน  กำหนดพื้นที่ Buffer Zone ระยะจุดปล่อยดินกับชุมชนระยะทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร และควรจัดทำ Bunker ให้จุดปล่อยดินอยู่ต่ำกว่าความสูงของ Bunker   ส่วนมาตรการใหม่ คือ ได้มีการวางแผนจุดปล่อยดินแล้วและเนื่องจากพื้นที่มีกระแสลมที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลาทั้งกระแสลมท้องถิ่น และกระแสทั่วไป ทำให้ยากต่อการกำหนดทิศทางลมจึงทำให้ยากในการกำหนดจุดปล่อยดินที่จะให้ห่างจากชุมชนแต่จะให้ห่างมากที่สุด หากไม่สามารถทำได้จะให้ทำการฉีดพ่นหน้าดินก่อนทำการขุดขนในฤดูแล้งและจะสเปรย์น้ำบนสายพานเป็นระยะให้เพียงพอใกล้จุดปล่อยดิน และการตรวจสอบสถานที่พบว่า ระบบสายพานที่การติดตั้งสเปรย์น้ำเป็นระยะ และมีสเปรย์น้ำจุดที่ปล่อยดิน  ส่วนพื้นที่ Buffer Zone ได้มีการปลูกต้นสนและต้นไม้อื่นๆเป็นแนวยาวตลอด

• ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมทุก 5 ปี
           
ประเด็นที่ 6 กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ได้พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น และคงให้เป็นไปตามที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษา คือ ให้ กฟผปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เสนอไว้ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯแต่กฟผ.ได้มีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงมาตรการใหม่ จากที่ให้จัดทำ การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Audit ทุก 2 ปี ในทุกผลกระทบที่เกิดขึ้น เสนอให้ สผ.ทราบ เปลี่ยนเป็นเป็นจัดทำ Environmental Audit  ทุก 5 ปี แทน

• ผู้ฟ้องติงเปลี่ยนแปลงคำพากษา
           
นายวิโรจน์ ช่างสาร ทนายความจากสภาทนายความ ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า จากการรับฟังรายงานการดำเนินการตามคำสั่งศาลปกครองของ กฟผ.แม่เมาะ พบว่ามีการแก้ไขมาตรการใหม่หมดทุกข้อ ทางฝ่ายผู้ฟ้องจึงขอสงวนสิทธิในการให้ความเห็นชอบทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาล ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะยอมรับในเงื่อนไขดังกล่าวได้ โดยขอนำเรื่องทั้งหมดที่ผู้ถูกฟ้องเสนอไปประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา และอาจจะร้องศาลให้เป็นผู้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว

• ตัวแทนศาลเร่งรายงานผลเสนอศาลพิจารณา
           
นายวิชิต ขอดเตชะ พนักงานคดีปกครอง กล่าวภายหลังนำทีมทั้งหมดลงตรวจพื้นที่พิพาท ตามที่ศาลมีคำพิพากษาให้ กฟผ.ดำเนินการด้านการป้องกันและแก้ไขผลกระทบว่า การเดินทางมาในวันนี้เป็นเพียงการลงมาตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลและข้อเสนอของผู้ถูกร้องเท่านั้น ซึ่งจะนำผลการประชุมไมว่าจะเป็นข้อเสนอแนะ ข้อท้วงติง ทั้งจากทางฝ่ายผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง ไปเสนอให้ศาลเพื่อพิจารณาต่อไป

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1033  วันที่  19  - 25  มิถุนายน 2558) 
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์