วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

ได้ฤกษ์เปิดพิพิธภัณฑ์ดึกดำบรรพ์



รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเปิดพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ลำปาง แห่งที่ 6 ของประเทศ

เมื่อวันที่ 18 ม.ค.59  นายทศพร นุชอนงค์  รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จ.ลำปาง   พร้อมทั้งเปิดนิทรรศการ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรณีภัยพิบัติ  ร่วมกับนายสมชัย กมลเทพเทวินทร์  นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง  โดยมีนายทินกร ทาทอง ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 ลำปาง  พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และนักเรียน ร่วมเข้าชมนิทรรศการ

นายทศพร นุชอนงค์  รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า   ภารกิจของเราคือการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องทรัพยากรธรณี ธรณีวิทยา และซากดึกดำบรรพ์ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทำการสำรวจทรัพยากรธรณีของประเทศ เมื่อมีการศึกษาวิจัยสิ่งที่ค้นพบ ซึ่งมีคุณค่า เช่น แร่ต่างๆ ซากสัตว์ ไดโนเสาร์ จึงได้นำออกมาแสดง คือวัตถุประสงค์ของการจัดทำพิพิธภัณฑ์   กรมทรัพยากรธรณีมีแผนที่จะจัดทำนิทรรศการทั้งหมด 7 แห่ง  ซึ่ง จ.ลำปาง เป็นแห่งที่ ลำปางเป็นจุดสำคัญมีทรัพย์สมบัติที่มีคุณค่า เป็นแหล่งแร่ถ่านหินใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  ดินขาวใช้ทำเซรามิก  หินปูนที่ผลิตปูนซิเมนต์ เป็นต้น   โดยเบื้องต้นได้รับงบประมาณจากกรมทรัพยากรธรณี 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์และธรรมชาติวิทยาดังกล่าว   ซึ่งตอนนี้ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ในระยะแรกเท่านั้น ในวันที่ 18-25 ม.ค.59  จะเป็นในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการ สิ่งต่างๆที่พบในภาคเหนือ  เพื่อส่งเสริมการเรียนนอกสถานที่ ให้เด็กได้สัมผัสของจริง เพื่อพัฒนาการที่มากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล  หากหลังจากจบงานนี้แล้ว ผู้สนใจก็ยังสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ในวันและเวลาราชการ และคาดว่าจะเปิดได้เต็มรูปแบบประมาณปลายปี 2560 ซึ่งในส่วนที่เหลือยังคงต้องใช้งบประมาณอีกเกือบ 100 ล้านบาท


ภายในนิทรรศการ จะจัดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ พื้นที่นอกอาคารจัดเป็นสวนโลกดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วยหุ่นไดโนเสาร์ หุ่นช้าง และสวนหินที่นำรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆทั่วภูมิภาค  ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ภายในอาคาร มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติด้านไดโนเสาร์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  นิทรรศการเล่าเรื่องราวตั้งแต่การกำเนิดโลก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตยุคไดโนเสาร์ครองโลก มนุษย์ลำปาง  การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรณี และธรณีพิบัติภัย  และส่วนที่สามเป็นพื้นที่ลานกิจกรรม  ประกอบไปด้วยกิจกรรมการจำลองการขุดค้นกระดูกไนโนเสาร์ การเรียนรู้ด้านศิลปะ และกิจกรรมบนเวที  

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1063 วันที่ 22 - 28 มกราคม 2559)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์