ในห้วงระยะเวลาราวเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายนของทุกปี คนภาคเหนือตอนบน และคนลำปางต่างต้องเผชิญกับวิกฤตหมอกควัน ที่ฟุ้งกระจายมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่อีกด้านหนึ่งปัญหาหมอกควัน ที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการพูดถึงกันมากนัก คือการบุกรุกแผ้วถางป่า ทำไร่ข้าวโพด
ไร่ข้าวโพด
เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็เหลือซังข้าวโพด ต้น ใบที่ชาวบ้านใช้วิธีที่ง่ายที่สุด
คือการเผา เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สำหรับลำปางพื้นที่ปลูกข้าวโพด
163,000
ไร่ กลายเป็นกลุ่มควันขนาดใหญ่ แผ่ขยายไปทางเชียงใหม่
และเป็นควันพิษอบอวลอยู่ในจังหวัดลำปาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนแอ่งกระทะ
ผู้ใดทำให้ชาวบ้านตื่นตัวมาปลูกข้าว
โพดกันจำนวนมาก มีการพูดถึงบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บริษัทหนึ่ง
ที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกข้าวโพด
ตั้งแต่เชียงใหม่มาถึงลำปาง จนกระทั่งมีการบุกรุกป่าอย่างขนานใหญ่หลายแสนไร่
แต่ก็เอาผิดไม่ได้ เพราะการบุกรุกป่า
กับการทำไร่ข้าวโพดถูกตัดตอนว่าเป็นเรื่องของชาวบ้าน
หมอกควันจากเศษซากข้าวโพด คือมลพิษ
คือฆาตกรที่ฆ่าคนอย่างเลือดเย็น
ปีที่แล้วในช่วงเกิดหมอกควัน พบฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงกว่าค่ามาตรฐาน
โดยเฉพาะในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พบถึง 47 จุด แต่ที่น่าตกใจคือ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 10) ที่สูงกว่า 200 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ติดต่อกันนานกว่า 10 วัน
สูงที่สุด อยู่ที่นี่ จังหวัดลำปาง
หลายคนเริ่มพูดถึงไร่ข้าวโพด
และบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเกษตรอุตสาหกรรม
ที่ว่ากันว่าเป็นทั้งผู้สนับสนุนและผู้ทำลาย
และเป็นครั้งแรกที่ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (2560 – 2564) ที่จะนับหนึ่งปีหน้า ในยุทธศาสตร์ที่ 4 ว่าด้วยการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เขียนถึงปัญหาหมอกควันและไร่ข้าวโพด
แผนพัฒนา เสนอว่าการแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควัน
ไฟป่า ในเขตภาคเหนือ จะต้องประสานกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในระดับพหุภาคี
และทวิภาคี ตามข้อกำหนดในข้อตกลงอาเซียน เรื่องมลพิษจากหมอกควันชายแดน
ที่สำคัญคือการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นธรรม
สำหรับการแก้ปัญหาหมอกควัน จากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด
ควรมีการวิจัยพืชอื่นทดแทนที่เหมาะสม มีตลาดรองรับและคุ้มค่ากว่า
และสร้างอาชีพทดแทน อาทิ การท่องเที่ยวชุมชน
ปัญหาหมอกควันจากไร่ข้าวโพดอาจดูไม่ยุ่งยากเท่าปัญหาการเผาป่าทั่วไป
ซึ่งระบุพิกัดแน่นอนไม่ได้ แต่การทำไร่ข้าวโพด
ก็ไม่แตกต่างไปจากการลุกขึ้นมาเลี้ยงไก่ของเกษตรกรทั้งประเทศในอดีต
ด้วยการสนับสนุนของบริษัทยักษ์ใหญ่รายหนึ่ง เพื่อขายอาหารไก่
สุดท้ายเกษตรกรต้องรวมตัวกันขนลูกไก่ไปทิ้งทะเล ด้วยราคาไก่ที่ตกต่ำ
คำว่าบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดนั้น
คงได้เพียงชาวบ้าน คนตัวเล็กตัวน้อยเป็นผู้ต้องหา ส่วนเป็นธรรม
คงเป็นเรื่องของบริษัทยักษ์ใหญ่รายนั้น
พวกเขาได้รับความเป็นธรรมในการทำมาหากินบนความทุกข์ยากเดือดร้อนของชาวบ้านเสมอ
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1105 วันที่ 18 - 24 พฤศจิกายน 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น