
กองทุนฟื้นฟูฯ
ดันเกษตรกรนำสินค้าออกสู่ตลาด ลำปางนำร่อง "ร้านฮักกรีน" คาเฟ่กลางแจ้งดึงจุดสนใจเชื่อมโยงขายสินค้าสินค้าเกษตร
และผู้บริโภคสังคมเมือง
พรสวรรค์
สมาน หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูจังหวัดลำปาง เผยว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาจังหวัดลำปาง
นำผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปจากเกษตรกร กลุ่มสมาชิกกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรลำปาง ไปร่วมกิจกรรมการตลาด
ร่วมกับสมาชิกกองทุนฟื้นฟูภาคเหนือ ในงานกษัตริย์เกษตร โซน
กาดแม่โจ้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เมื่อ วันที่ 19-25 กุมภาพันธ์
2560 ที่ผ่านมา ซึ่งกิจกรรมการตลาดของกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการหนุนเสริมด้านการตลาด
นอกเหนือจากงานจัดการหนี้ และงานฟื้นฟูอาชีพแบบเดิมๆ
ในส่วนของจังหวัดลำปาง
มีผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์ กลุ่มฮักน้ำจาง อ.แม่ทะ
กลุ่มบ้านต้นต้อง อ.เมือง ลำปาง
รวมถึงสินค้า แปรรูป ชาจากผักเชียงดา แปรรูปเห็ด สับปะรดอินทรีย์ ทั้งผลสดและแปรรูปไปจำหน่ายในงานดังกล่าว
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานส่งเสริมการตลาดที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร
กำลังขับเคลื่อนนโยบายการหาพื้นที่และช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรได้
นำผลผลิตจำหน่าย ในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้เกษตรกรได้มีประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึง
ความต้องการตลาดของผู้บริโภคด้วยตัวเอง
ศชากานท์
แก้วแพร่ อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดลำปาง
ในฐานะที่ปรึกษากลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ กล่าวว่า กิจกรรมการตลาดครั้งนี้มีการพัฒนารูแบบการขายสินค้าของเกษตรกร
ให้ยกระดับเป็นรูปแบบร้านค้าที่มีความหลากหลาย โดยมีกลุ่มคนทำเกษตร
ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่และลูกหลานเกษตรกร จัดรูปแบบขายเป็นร้านกาแฟ คาเฟ่กลางแจ้งที่ขายสินค้าจากชุมชนไปด้วยกัน
ภายใต้โมเดลร้าน"ฮักกรีน" นำร่อง เพื่อเป็นจุดดึงดูดลูกค้าผู้บริโภคตามยุคสมัยของสังคมเมือง
ทั้งนี้ได้พัฒนารูปแบบ การตลาดเป็นเสมือนหน้าร้าน
ที่เกิดการมีส่วนร่วมขายสินค้าไปเป็นกลุ่มเดียวกัน
และเป็นทั้งรับฝากขายสินค้าของเครือข่ายเกษตรกรในกรณีที่เกษตรกรไม่สะดวกเดินทางไปขายสินค้าด้วยตัวเอง
ประเทือง
นรินทรางกูล ณ อยุธยา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า
การจัดกิจกรรมการตลาดครั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้
เปิดพื้นที่ให้ทางกองทุนฟื้นฟูภาคเหนือ เข้ามามีเกษตรส่วนร่วมกับกาดแม่โจ้
ให้เกษตรกรนำสินค้าทางการเกษตรมาจำหน่าย ในงาน และจะมีโครงการต่อเนื่อง
โดยเปิดพื้นที่ตลาดแนวนี้ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจัดส่งเสริมตลาดเป็นประจำหลังจากนี้
เพื่อให้เกษตรกรหมุนเวียนนำสินค้ามาจำหน่ายต่อเนื่อง แนวทางนี้เป็นการจุดประกายให้เกษตรกรหันมาสนใจการตลาดของตัวเองเพื่อตอบโจทย์ของปัญหา
มีผลผลิตแต่มีตลาดของตัวเอง ลดการพึ่งพาการขายผ่านระบบนายทุน นำไปสู่การมีตลาดของตัวเอง หรือเชื่อมโยงกันเองได้อย่างจริงจัง
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1118 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2560 )
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น