เรื่องของคุณโซไรดา ซาลวาลา เรียกแบบนิยายพาฝัน
ก็อาจเรียกได้ว่า “แม่พระของช้าง”ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
เธอถูกพูดถึงทั้งในด้านร้ายและด้านดี โดยเฉพาะในด้านร้ายในสื่อสังคมออนไลน์
หลังจากที่คุณโซไรดา ส่งสัญญาณว่าฐานะการเงินของมูลนิธิเพื่อนช้าง เข้าขั้นยากลำบาก
จนไม่อาจดูแลช้างที่เจ็บป่วยได้อีกต่อไป
มูลนิธิเพื่อนช้าง
และโรงพยาบาลช้างของมูลนิธิที่ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
เป็นที่จดจำและกล่าวขวัญกันมาก่อนหน้านี้ หลังจากโรงพยาบาล รับพังโมตาล่า
ช้างที่ไปเหยียบกับระเบิดระหว่างไปทำงานที่ประเทศพม่า จนต้องใส่ขาเทียม
และอยู่ในความดูแลของมูลนิธิ โรงพยาบาลช้างมาตั้งแต่ปี 2543
นอกจากพังโมตาล่าแล้ว
ก็ยังมีช้างเจ็บอีกหลายเชือกที่อยู่ที่นั่น ช้างทุกเชือก
เมื่อทีมกองบรรณาธิการลานนาโพสต์ไปเยือนที่นั่น 2 – 3 ปีก่อน ได้เห็นความผูกพันใกล้ชิดระหว่างคุณโซไรดา กับช้าง จนคล้ายกับเธอสามารถสื่อสารกับช้างทุกเชือกได้
ถึงกระนั้น
มูลนิธิเพื่อนช้างก็มีคำถาม เป็นปกติธรรมดาของสังคมไทย
ที่เมื่อมีผู้อุทิศตัวเองทำงานเพื่อสังคมและอาจต้องใช้เงินทุนสนับสนุนจากภายนอกช่วยในการทำงาน
ก็จะมีคนส่วนหนึ่งระแวง สงสัย มีคนส่วนหนึ่งเชื่อและวางใจ ขึ้นอยู่กับข้อมูล
ความคิด ทัศนคติที่พวกเขามีแตกต่างกัน
คุณไซโรดา
จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเพื่อนช้าง (FAE) เพื่อดูแลสวัสดิภาพช้างทั่วประเทศไทย
โครงการสำคัญของมูลนิธิฯคือการริเริ่มดำเนินงานโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลกซึ่งเป็นงานบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะปรับปรุงสวัสดิภาพของช้างในประเทศไทย
เปิดเมื่อเดือนตุลาคม 2537
ในตอนเริ่มต้นมีสัตวแพทย์เฉพาะด้านช้างเพียงคนเดียว
แต่วันนี้มูลนิธิฯสามารถให้บริการด้านสุขภาพช้างอย่างต่อเนื่องได้ด้วยการสนับสนุนจากพันธมิตรและผู้บริจาค
และได้ทำการบริบาลรักษาช้างมาแล้วกว่า 4,200 เชือก
แต่..ความช่วยเหลือก็ไม่ได้ต่อเนื่อง
ในขณะที่ภาระของมูลนิธิ และโรงพยาบาลช้างเพิ่มขึ้น จนถึงวันที่คุณโซไรดา
ต้องส่งเสียงว่า เธอไม่ไหวแล้ว เสียงนั้นทำให้วันนี้ยอดเงินบริจาคกลับเข้ามาถึงราว
50 ล้านบาท แล้วก็เกิดคำถามเช่นเดียวกับคำถามที่เคยเกิดกับครูน้อย นวลน้อย
ทิมกุล ผู้อุทิศตัวดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กยากจน ว่าเธอเชื่อถือไหม
เงินที่ได้จากการบริจาคถูกใช้ไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
เพราะสังคมเรา มี "นักบุญคนบาป"
จำนวนมาก จึงไม่ผิดหากจะมีคนตั้งคำถามว่า โซโรดา ซาลวาลา ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง
ผู้มีภาพจำในสังคมไทยมาเนิ่นนานว่าเป็นผู้ดูแล รักษาช้าง อันเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย
เป็นของจริงหรือของปลอม โดยเฉพาะเมื่อเธอเดินทางมาถึงจุดสุดท้ายที่ไม่สามารถแบกรับภาระดูแลช้างอีกต่อไป
แร็ค
ลานนาไม่ได้รู้จัก โซไรดา มากนัก แต่คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูล บรรณาธิการลานนาโพสต์
เคยเป็นจำเลยขึ้นศาลร่วมกับคุณไซโรดาครั้งหนึ่ง ที่มีพระภิกษุเป็นโจทก์ในคดีปกป้องช้าง
ที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งเมื่อคุณจักร์กฤษยังเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในเมืองใหญ่
ลานนาโพสต์เคยไปพูดคุย
เยี่ยมเยียนดูงานครั้งหนึ่งที่โรงพยาบาลช้าง ของมูลนิธิ
ที่ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง แต่ตลอดระยะเวลายาวนาน ที่คุณโซไรดา แสดงตัวว่าเป็นคนที่ดูแล
รักษาช้างอย่างจริงจัง เราเชื่อว่าคุณโซไรดา เป็นตัวจริง
ในทัศนะของลานนาโพสต์
คุณโซไรดา ก็ไม่ได้แตกต่างไปจาก ไดแอน ฟอสซีย์ (Dian fossey) นักสัตววิทยาสาวชาวอเมริกัน
ที่ดูแลปกป้องลิงกอริลลาภูเขาในป่าทึบ ของประเทศรวันดา จนตัวตาย
เรื่องราวของเธอต่อมากลายเป็นภาพยนตร์ เรื่อง Gorillas in the Mist:The
Story of Dian Fossey คุณโซไรดา ก็ทุ่มเทดูแลช้าง จนสุขภาพร่างกายทรุดโทรม
ไม่แตกต่างกัน
สัปดาห์ที่แล้ว
"ลานนาโพสต์" ได้มีโอกาสกลับไปพูดคุยกับคุณโซไรดา อีกครั้ง
กับคำตอบ สถานการณ์ล่าสุดของมูลนิธิเพื่อนช้าง ที่ติดลบมาตลอดระยะเวลา 11 ปี
แต่วันนี้สถานการณ์พลิกกลับ
เงินจำนวนหนึ่งซึ่งน่าจะมากพอได้ต่อท่อหายใจของมูลนิธิเพื่อนช้างออกไปอีก
และแน่นอน
คำถามที่มีต่อคุณไซโรดา ก็ยังไม่หมดสิ้นไป
ซึ่งคงเป็นภาระในการพิสูจน์ตัวเองของคุณโซไรดา ที่จะต้องหนักแน่น มั่นคง
และไม่หวั่นไหวง่ายๆ กับคำพูดไม่กี่คำ
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์
ฉบับที่ 1122 วันที่ 24-30 มีนาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น