เวทีฟังความเห็นประชาชน
และผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
หรือ ค.1
ซึ่งเป็นด่านแรก ที่กฟผ.แม่เมาะ เปิดพื้นที่ให้ชาวบ้าน พูดในสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขา ผ่านไปในบรรยากาศการปะทะสังสรรค์
ที่มีทั้งเหตุและผล กับอารมณ์ความรู้สึกในภาพฝังใจของชาวบ้านบางคน
การฟังกัน
ไม่ว่าคนฟังจะพึงพอใจคนพูดหรือไม่ก็ตาม หรือคนพูดจะพกความคับข้องใจมาจากบ้าน โดยไม่ใส่ใจคำอธิบายอะไรเลยก็ตาม
ก็ย่อมดีกว่าการรวบรัดตัดตอน หรือกการทำประชาพิจารณ์แบบจัดตั้ง ซึ่งจะกลับมาเป็นปัญหาได้ในอนาคต
แน่นอนว่า
ไม่อาจปฏิเสธ โรงไฟฟ้าแม่เมาะคือฝันร้ายของคนแม่เมาะในอดีต ดังนั้น
เมื่อจะต้องขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4 – 7 ก็ยังคงเป็นประเด็นที่สร้างความหวาดวิตกให้กับชาวบ้าน
ทั้งที่เครื่องไม้ เครื่องมือวิทยาการสมัยใหม่ในวันนี้ แทบจะเรียกว่า
รับประกันผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ของชาวบ้านได้เกือบ 100 %
ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว
เป็นปัญหาที่โรงไฟฟ้า จะต้องมีตัวแทนมาอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ
ด้วยการสื่อสารสองทาง ที่เปืดรับทุกคำถาม ไม่ใช่คำอธิบายของบริษัทที่ปรึกษา
ซึ่งหากอธิบายด้วยเหตุ ด้วยผลแล้วยังไม่เข้าใจ นั่นแปลว่าชาวบ้านคนนั้น
หรือกลุ่มนั้น ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด อาจยังติดกับ กับขนบการต่อต้าน ไว้ก่อน
โดยไม่ต้องศึกษาหาเหตุผล ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องใส่ใจ
และการไฟฟ้าควรสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการสื่อสาร ที่จะทำให้คนกลุ่มน้อย
ที่ประสงค์เพียงทำตัวเป็นข่าว กลายเป็น “ข้าวนอกนา” และสร้างแนวร่วมชาวบ้าน ที่ฟัง
และเข้าใจเหตุผลกัน เป็นตัวถ่วงดุล
ความจริงประเด็นสาธารณะ
หรือนโยบายสาธารณะนั้น ก็เป็นพื้นฐานความขัดแย้งโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
อาของ “ม้าสีหมอก”
ซึ่งเคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.น.พ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้เชี่ยวชาญ
เรื่องความขัดแย้ง และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
เคยอธิบายว่า โครงการหลายอย่างที่ดูจะเป็น
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระยะ 5 – 10
ปีหลังนี้ พบว่าสัมพันธ์กับนโยบายสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ เช่น
โครงการโรงไฟฟ้า โครงการท่อก๊าซ
ด้วยสาเหตุ ความสลับซับซ้อนของการพัฒนา
การจัดการรูปแบบเดิมที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลข่าวสารที่มากมายและรวดเร็ว กระบวนทัศน์ของประชาธิปไตยที่เปลี่ยนไป
การเน้นการประชาสัมพันธ์แบบขายของ และกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎหมาย
ในที่นี้
จะพูดถึงเรื่องข้อมูลข่าวสารที่มากมายและรวดเร็ว
ยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีและหาได้อย่างมากมายจากสื่อต่างๆ
โดยเฉพาะจากระบบอินเตอร์เน็ต เรามักจะมองว่าเป็นข้อดี และเป็นประโยชน์
แต่ในความมากของข้อมูลข่าวสารนั้น ย่อมมีทั้งข้อมูลจริงที่เป็นประโยชน์ และข้อมูลที่สร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ดังนั้น
เมื่อมีผู้นำความคิดในสังคม หรือเพียงแต่อยากทำตัวเป็นข่าว
ให้ข้อมูลบนพื้นฐานของอคติ หรือความคิดความเชื่อที่ฝังหัวจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอดีต
โดยที่คนอื่นๆไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ฟังความอย่างถี่ถ้วนรอบด้าน ก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อข้อมูลผิดๆเหล่านั้น
ความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ แยกแยะเหตุผลด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชาวบ้านทั่วไป
และหากฟังเสียงชาวบ้าน บนเวที ค.1 อาจมีส่วนหนึ่ง
ที่ยังลบล้างระบบคิดแบบตามผู้นำไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่ มีความเข้าใจมากขึ้น
และอาจมีความพร้อมในการปรับวัฒนธรรมให้ร้าย ป้ายสี มาเป็นวัฒนธรรมในการฟังเหตุ
ฟังผลกัน
นี่จึงเป็นวิถีทางที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบ
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1128 วันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น