
ฝุ่ นควันที่ยังไม่จาง หลังจากเวที ค.1 เมื่อสองสัปดาห์ก่อน
คือคำถามนอกประเด็น เรื่องกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า
ของชาวบ้านทั้งที่ขอใช้สิทธิพูดในเวที และความเห็นจำนวนมาก ผ่านช่องทาง
เพสบุ๊คไลฟ์ ของฝ่ายสื่อสารองค์กร กฟผ.นั่นแปลว่าความพยายามที่จะอธิบายความจริง
ให้คนที่ข้องใจเข้าใจยังไม่เป็นผล ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา
การใช้เงินผิดประเภท
ความไม่โปร่งใสในการอนุมัติเงินกองทุน อาจคล้ายกับกองทุนอื่นๆ
สำหรับกิจการรัฐหรือเอกชนที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ตั้งโรงงาน
แต่ที่แม่เมาะ คำถามดังกว่าที่อื่นๆ เนื่องเพราะขนาดของกองทุน
แต่เสียงตอบรับกลับแผ่วเบาอย่างยิ่ง
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ 2,400 เมกะวัตต์
เป็นกองทุนที่มีเงินก้อนโตที่สุด มีเงินกองทุนเฉลี่ยปีละ 300 ล้านบาท ขณะที่โครงสร้างคณะกรรมการ เป็นชาวบ้านส่วนใหญ่
มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
มีเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก
ที่แสดงถึงความไม่โปร่งใสของกองทุน ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีการบริหารจัดการ
ข้อมูลจากไทยพีบีเอส
ก่อนหน้านี้บอกว่าการขออนุมัติโครงการตามงบประมาณ กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ปีละกว่า 300
ล้านบาท กำลังก่อให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ อ.แม่เมาะ
จังหวัดลำปาง หลังเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะร้องเรียนให้ตรวจสอบความไม่โปร่งใสในการดำเนินการ
เนื่องจากพบว่าโครงการเยียวยาผู้ป่วย และ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน ที่ผ่านการทำประชาคมแล้ว
กลับถูกคณะกรรมการของโครงการนี้ตัดสิทธิ์
รวมทั้งยังพบว่าอาจมีการปลอมแปลงรายชื่อผู้ทำประกอบเอกสารรายชื่อผู้ทำประชาคมในโครงการของบประมาณจาก
กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นหลักฐานหนึ่งที่เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ
จ.ลำปาง นำเข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการพลังงานวุฒิสภา เพื่อขอให้ตรวจสอบสิ่งผิดปกติ
หลังพบว่าการทำประชาคม มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ถึงหนึ่งร้อยคน
แต่กลับมีรายชื่อผู้ร่วมประชุมมากถึง 400 คน และ
บางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว จึงเชื่อว่าอาจมีการปลอมแปลงรายชื่อ
กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
ก่อตั้งโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า
โดยนำงบประมาณมาจากค่าไฟฟ้าผันแปร ที่เก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ปีละ 2,000 กว่าล้านบาท มาจัดสรรให้กับ 71 กองทุนทั่วประเทศ
ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในพื้นที่
เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใสในการอนุมัติโครงการ เพราะโครงการเยียวยาผู้ป่วย
และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน ที่ผ่านการทำประชาคมแล้ว
กลับถูกคณะกรรมการตัดสิทธิ์รวม 13 โครงการ
นายธวัชชัย
เทอดเผ่าไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ระบุว่า ความขัดแย้งในพื้นที่
เกิดขึ้นมากจากความไม่เข้าใจในกฏระเบียบ โดยยืนยันว่าการนำเสนอโครงการ เพื่อขอใช้งบจากกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ทางชุมชน หรือ กลุ่มต่างๆในพื้นที่ ต้องเสนอโครงการแก่คณะกรรมการท้องที่ตามลำดับ ก่อนที่จะไปยังส่วนกลางเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ตามขั้นตอนของกฏหมาย โดยขณะนี้มีหลายโครงการได้อนุมัติแล้ว
ส่วนโครงการที่ใช้งบประมาณเกิน 300,000 บาท ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ
ไม่ว่าใครจะอธิบายอย่างไร
หรือผ่านผู้ว่าฯซึ่งนั่งหัวโต๊ะการประชุมมากี่สมัย
แต่คำถามนี้ก็ยังดังก้องอยู่ในใจของทุกคน
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1127 วันที่ 5 -11 พฤษภาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น