การทำให้รถเคลื่อนที่ เข้าโค้ง หรือลดความเร็ว
ล้วนต้องอาศัย “แรงเสียดทาน” ระหว่างผิวถนนกับหน้ายาง
ตราบใดที่แรงซึ่งกระทำต่อล้อ ยังไม่เกินแรงเสียดทาน ล้อรถของเราก็ไม่มีทางไถลไปบนถนนแน่นอน
ซึ่งรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จะรับแรงเสียดทานได้มากกว่า
รถยนต์กลุ่มครอส โอเวอร์ เอสยูวี สมัยนี้
มักมีระบบขับเคลื่อน 4 และ 2 ล้อ ให้ลูกค้าเลือก หลายคนอาจสับสนว่าจะเลือกแบบไหนดี
อันนี้ตอบยากครับ เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเรื่องราคา ความประหยัดเชื้อเพลิง
การยึดเกาะถนน รวมถึงความต้องการของผู้ใช้ครับ
สัปดาห์นี้ผมขอพูดเฉพาะเรื่องการยึดเกาะถนนก็แล้วกัน
การทำให้รถเคลื่อนที่ เข้าโค้ง หรือลดความเร็ว
ล้วนต้องอาศัย “แรงเสียดทาน” ระหว่างผิวถนนกับหน้ายางเสมอ
แรงเสียดทาน หรือความฝืดนี้ ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคร่าวๆ คือ เนื้อของยาง ผิวถนน
และน้ำหนักของรถที่กดหน้ายางให้อัดกับพื้นผิวถนน ตราบใดที่แรงซึ่งกระทำต่อล้อ
ยังไม่เกินแรงเสียดทาน ล้อรถของเราก็ไม่มีทางไถลไปบนถนนแน่นอนครับ
ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น
สมมติให้รถขับเคลื่อนล้อหลัง (ขับ 2 ล้อ) กระจายน้ำหนักลงล้อเท่ากันล้อละ 25 %
ของน้ำหนักรถ 1,200 กก. เท่ากับ 300 กก. ให้รถอยู่บนผิวถนนที่เปียกลื่น
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำเท่ากับ 0.5
(หน้ายางรับแรงได้ครึ่งเดียวของแรงกดกับผิวถนน) ดังนั้น ล้อหลัง (ล้อขับเคลื่อน)
แทนที่จะรับได้ 300 กก./1 ล้อ ก็จะรับแรงได้เพียงล้อละ 150 กก. เท่านั้น
ถ้าเร่งความเร็วเต็มที่ในเกียร์ 1 สมมติให้แรงขับเคลื่อนสูงสุดได้ 400 กก.
ล้อจะหมุนฟรี เนื่องจากแรงขับเคลื่อนเกินแรงเสียดทานที่ยางรับได้
ตรงกันข้ามถ้าเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ FULL
TIME แรงขับเคลื่อน ( 400 กก.) ที่ถูกส่งไปแต่ละล้อ จะถูกหารด้วย 4
คือ ล้อละ 100 กก. ซึ่งต่ำกว่าแรงเสียดทานของรถขับล้อหลังอยู่ 50 กก. (ล้อหลัง 150
กก.) ดังนั้นจึงไม่มีล้อใดหมุนฟรีถ้าใช้แรงขับเคลื่อนเท่ากัน
ในโค้งยิ่งเห็นชัด
ให้ผิวถนนกับหน้ายางเหมือนเดิม แต่เพิ่มแรงหนีศูนย์ฯ เข้ามา สมมติขับด้วยความเร็วในโค้งเกินแรงหนีศูนย์ฯ
ที่ 100 กก. ถ้าต้องเร่งความเร็วเต็มที่ในโค้ง รถขับเคลื่อน 2 ล้อ
จะเร่งด้วยแรงขับเคลื่อนล้อละ 112 กก. (ขอไม่แสดงการคำนวณเพราะเนื้อที่ไม่พอ)
เกินกว่านี้ล้อขับเคลื่อนจะไถลออกนอกโค้ง
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1151 วันที่ 20 - 26 ตุลาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น