“หลักฐานทางโบราณคดีทุกยุคทุกสมัยที่ค้นพบ
เราจะพบเรื่องราวที่สะท้อนแนวคิดในยุคนั้นเสมอ ไม่ว่ายุคใดหรือแหล่งอารยธรรมใดในโลกนี้
วิถีคิดและการดำเนินชีวิตในช่วงนั้นๆ มักถูกแสดงออกมาในรูปแบบงานที่เป็นศิลปวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ
เช่นเดียวกับพุทธศตวรรษที่
255 อันเป็นมหาวโรกาสมิ่งมงคลของชาวไทยทั้งมวล ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาเรื่อง
60 ปีโดยธรรม
ซึ่งถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9
ดังปฐมราชโองการที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ”
จากข้อความข้างต้น
คือคำบรรยายประกอบ ผลงานรางวัล ดีเด่นประเภทเครื่องปั้นดินเผาโดยมีการเคลือบ ชื่อ “60
ปีโดยธรรม” โดย วุฒิชัย พลายด้วง
ศิลปินสาขาเครื่องปั้นดินเผา การแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ
ครั้งที่12 พ.ศ. 2547 ที่จัดแสดงไว้ในคลังสะสมศิลปกรรมของมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สะสมผลงานศิลปกรรมที่เป็นผลงานเหรียญรางวัลจากการประกวดศิลปกรรม
ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัด โดยมีหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลเก็บรักษา
ประกอบด้วยการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์
การประกวดศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นฝีมือของคนไทยที่อยู่ในแผ่นดินลำปาง สร้างผลงานจากแรงบันดาลใจในพระมหากรุณาธิคุณพ่อของแผ่นดิน
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่านงานศิลป์ทรงคุณค่า
วุฒิชัย พลายด้วง
ชาวนครศรีธรรมราช ที่เข้าไปเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ วิทยาลัยเพาะช่าง
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์) สาขาจิตรกรรม หนึ่งในนักเรียนที่ได้รับคัดเลือก(ปี2527)
ในโครงการ “ทุนนริศรานุวัดติวงศ์” ซึ่งเป็นทุนหลวงสำหรับบำรุงและสนับสนุนการศึกษาด้านศิลปะเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจการใช้ชีวิตเพื่อสำนึกในคุณแผ่นดินในพระมหากษัตริย์ไทย
“ในสมัยที่ผมเป็นนักศึกษาปี
1 ทางราชการประกาศให้นักเรียนนักศึกษา ส่งผลงานเข้าไปรับคัดเลือกในโครงการทุนนริศฯ
ซึ่งเป็นทุนหลวงที่สนับสนุนด้านศิลปะทุกแขนง
ผมส่งผลงานเข้าไปหลายชิ้นในที่สุดก็ได้รับคัดเลือก
นับจากวันนั้นมาผมดำเนินชีวิตทุกก้าวย่างตามรอยพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9
ที่ทรงสอนให้คนไทยเป็นคนดีเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน
นั่นคือความภาคภูมิใจของนักศึกษาไทยคนหนึ่งที่คิดและมั่นใจว่าจะทำไปจนชีวิตจะหาไม่
ผมใช้ทักษะวิชาชีพทำงานมาด้วยความภาคภูมิใจในความสามารถในศิลปะไทย
อย่างน้อยก็เป็นหนึ่งในคนไทยที่จะต้องสร้างผลงานศิลปะไทยออกไปให้คนรุ่นหลังได้เป็นแบบอย่าง
ครั้งเมื่อในอยู่ในห้วงเวลาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบ 60 พรรษา ประชาชนคนไทยต่างก็แสดงความจงรักภักดีมากมาย
ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่มีความจงรักภักดีต่อแผ่นดินและพระมหากษัตริย์
ผมเห็นปู่เย็นที่อาศัยอยู่ในเรือ ก็ยังแสดงความจงรักภักดีในรูปแบบของปู่เย็น
ผมเป็นคงเงียบๆพูดไม่เก่ง ไม่รู้จะแสดงออกมาอย่างไร
ผมจึงใส่ความรู้สึกนึกคิดของความจงรักภักดีทั้งหมดลงไปในรูปแบบของงานศิลปะของตัวเอง
และคัดเลือกผลงานที่ทำนั้นส่งไปมีส่วนร่วมกับทางมหาวิทยาลัยศิลปากร
และได้รับรางวัลเกินความคาดหมายที่และเป็นที่สุดในชีวิตที่มีโอกาสได้เข้ารับรางวัลพระราชทาน
จากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ”
ตลอดเส้นทางชีวิตของ
วุฒิชัย พลายด้วง มีแรงบันดาลใจจากพระมหากรุณาธิคุณเป็นแรงขับเคลื่อนส่วนลึกของหัวใจ
ทางเดินชีวิตของเขาจึงเป็นศิลปินผู้สร้างและแบ่งปันจิตวิญญาณของศิลปะไทย
ทั้งงานศิลปะที่ทำเพื่อความสุขเป็นการส่วนตัว และธุรกิจการงานมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อมีความถนัดด้านศิลปะด้านจิตรกรรมเป็นทุนเดิมแต่การเดินทางเข้าสู่อาชีพจากการทำงานนั้นไม่ง่าย เขาจึงจากงานเขียนลายเส้นบนกระเบื้องเคลือบดินเผาในโรงงานหลายแห่งในภาคกลางอยู่หลายปีต่อมาได้พัฒนาจากงานเขียนลายเส้นสู่งานปั้นแกะลายแม่พิมพ์เซรามิคซึ่งต้องอาศัยทักษะกระบวนช่างศิลป์รอบด้าน
เส้นทางชีวิตของเขาคร่ำหวอดอยู่ ในโรงงานเซรามิคในภาคกลางกระทั่งมาตั้งรกรากสร้างครอบครัวอยู่ที่ลำปาง
เมื่อถึงจุดหนึ่งเขาหันหลังให้กับการเป็นลูกจ้างในอุตสาหกรรมเซรามิค
มาทำโรงงานรับจ้างผลิตแม่พิมพ์ ในที่ดินบ้านของตัวเอง ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำโจ้
อำเภอแม่ทะ ซึ่งเป็นโรงงานเซรามิคเล็กๆภายใต้ชื่อ “วุฒิชัยเซรามิคส์” ในปัจจุบัน
“งานเซรามิคที่ผมทำมีความหลากหลาย
แสดงเอกลักษณ์และตัวตนของผมมากที่สุด ด้วยการใช้ศิลปะไทยมาประยุคใช้
เป็นลวดลายนูนต่ำลงบนชิ้นงานอย่างปราณีต ขณะเดียวกันผมก็ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเข้ามาช่วยให้สามารถผลิตชิ้นงานศิลปะจำนวนมากได้ในคุณภาพสูงเป็นหัตถอุตสาหกรรม ผลงานเซรามิคจากโรงงานผมที่ออกไปสู่ท้องตลาดเชิงพาณิชย์จะมีความเป็นไทยสูงมาก
เช่นลายไทย ดอกบัว และลายไทยล้านนา ผสานกับเทคนิคสูตรดิน และการเผาเคลือบ
ที่มีเอกลักษณ์ไทยโบราณ คนทำงานทุกคนมีส่วนร่วมในความสำนึกรู้คุณแผ่นดินด้วยกันทั้งคนไทยและชาวต่างชาติจะได้ซึมซับว่า
สินค้าจากไทยเป็นของดีมีคุณค่า ”
ทั้งหมดนี้คือแนวทางการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน
ในฐานะคนไทยที่ซาบซึ้งในพระมากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินและกษัตริย์ไทยทุกพระองค์
“ผมรักและเทิดทูนในพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
และ ผมก็มีความภาคภูมิใจที่เกิดมาในยุคสมัยของรัชกาลที่ 9
ที่บ่มเพาะจิตใจให้ผมเป็นคนไทยที่รักแผ่นดินไทยมาพร้อมกับพ่อแม่ตั้งแต่ผมจำความได้
การแสดงออกถึงความรักต่อแผ่นดินจะส่งผ่านทางผลงานเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ไปถึงรุ่นลูกหลาน”
เรื่อง
- ศชากานท์ แก้วแพร่
ภาพ
- วุฒิชัย พลายด้วง
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1149 วันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น