กลุ่มทุนต่างถิ่น
รุกป่าแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ ป่าต้นน้ำชั้น A เขต อ.งาว เพื่อปลูกกาแฟและผลไม้เมืองหนาว ผืนป่าสูญหายนับพันไร่
กลายเป็นภูเขาหัวโลนชัดเจน ส่วนที่ อ.แม่เมาะ
นายทุนต่างถิ่นย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในพื้นที่เพียง 5 เดือน
กว้านซื้อที่ดินชาวบ้านปลูกยางพาราเกือบ 100 ไร่ เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการตรวจยึด พร้อมติดตามตัวมาดำเนินคดีทางกฎหมาย
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.61 เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน
ประกอบด้วย กำลังเจ้าหน้าที่ หน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ ลป.19(แม่โป่ง)
เจ้าหน้าที่ทหารกองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 3 ค่ายประตูผา ตำรวจ กก.4 บก.ปทส. ตำรวจ
ศปทส.ภ.5 ตำรวจ สภ.งาว ตำรวจ นปพ.กก.สส.ภ.จว.ลำปาง ตำรวจ ตชด.33 เชียงใหม่ และ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.งาว รวม 30 นาย เดินเท้าเข้าตรวจสอบบริเวณป่าห้วยดินดาก
เขตบ้านปากบอก หมู่ 6 ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลำปาง หลังจากก่อนหน้านี้ เฮลิคอปเตอร์
กรมอุทยานแห่งชาติได้ นำเจ้าหน้าที่
ขึ้นบินสำรวจพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกอย่างหนักในบริเวณดังกล่าว พบว่าผืนป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์
และเป็นผืนป่าต้นน้ำ ชั้นที่ 1A ถูกบุกรุกแผ้วถางอย่างหนัก ผืนป่าหายไปเป็นจำนวนมาก
เห็นแต่ภูเขาหัวโล้นและมีบางจุดได้มีการปลูกต้นกาแฟ และผลไม้เมืองหนาวหลากหลายชนิด
ตามสันเขาเป็นจำนวนมาก โดยทางเจ้าหน้าที่ได้พิกัดจุดดาวเทียมเพื่อเอาไปประกอบกับแผนที่ทางภาคพื้นดินเพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทางภาคพื้นที่
เดินทางเข้าไปยังจุดเกิดเหตุ
จากการหาพิกัดจุดที่มีการรุกป่าอย่างชัดเจนได้ทั้งหมด
7 แปลง แปลงที่ใหญ่สุดมีพื้นที่ 104 ไร่เศษ มูลค่าความเสียหายกว่า 15 ล้านบาท ส่วนอีก 6 แปลง มีขนาดประมาณ 9 ไร่ ถึง 53
ไร่เศษ รวมทั้งหมด 236 ไร่เศษ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่พบว่าได้มีการแผ้วถางต้นไม้ขนาดใหญ่ออกไปทั้งหมดจนโล่งเตียน
บางแปลงได้มีการปลูกต้นกาแฟและเริ่มให้ผลผลิตแล้ว
บางแห่งมีการปลูกต้นผลไม้เมืองหนาวหลากหลายชนิด
แต่ไม่พบตัวผู้กระทำผิดเพราะทั้งหมดได้หลบหนีไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะไปถึง
เนื่องจากสภาพพื้นที่และการเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุนั้นค่อนข้างลำบาก และทุรกันดารเป็นอย่างมาก
อีกทั้งการเข้าออกหมู่บ้านแห่งนี้มีเพียงเส้นทางเดียวจึงทำให้กลุ่มที่รุกป่าทราบความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่พากันหลบหนีออกไป
ซึ่งในการตรวจยึดผืนป่าในครั้งนี้คาดว่าคงต้องให้เวลาอีกหลายวันในการเดินสำรวจ
และทำการปักป้ายตรวจและห้ามเข้ามาทำกินในพื้นที่แหงนี้อย่างเด็ดขาด
เบื้องต้นทราบว่าเป็นกลุ่มทุนจากพื้นที่อำเภอวังเหนือ
จังหวัดลำปาง และพื้นที่จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน เข้ามาบุกรุกแผ่วถางป่า โดยได้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่
สภ.งาว จ.ลำปาง เพื่อเร่งติดตามหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี เพราะสภาพป่าเดิมสูญหายไปเป็นจำนวนมาก และป่าแห่งนี้เป็นป่าต้นน้ำชั้น
A เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำหลายสายที่ไหลไปสู่ภาคกลางด้วย
ทั้งนี้
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 ก.พ.61 นายดนุศักดิ์
หมื่นโฮ้ง หัวหน้าสายตรวจปราบปรามฯสายที่ 1 พร้อมด้วยนายเจษฎา อเนกคณา
เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปราม ที่ 3 (ภาคเหนือ) และเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่
ลป.12 (แม่จางตอนขุน) เจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปทส. ภ.5 กองร้อยฝึกรบพิเศษที่
3 ค่ายประตูผา ตำรวจ กก.4 บก.ปทส. ตำรวจ
ส.ภ.แม่เมาะ , ตำรวจ ปทส.กก.สส.ภ.จว.ลำปาง เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและรักษาป่า ที่ ลป.
12 (แม่จางตอนขุน) ปลัดอำเภอแม่เมาะ กำนัน ต. จางเหนือ และ
ผู้ใหญ่บ้านพร้อมผู้ช่วยบ้านทาน หมู่ 4 ต.จางเหนือ อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง ได้ร่วมกันเข้าตรวจสอบพื้นที่ป่าห้วยวังช้าง
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา ท้องที่บ้านทาน หมู่ 4 ต.จางเหนือ อ.แม่เมาะ
จ.ลำปาง พร้อมกับตรวจยึดแปลงปลูกต้นยางพารา
รวม 9 แปลง เนื้อที่ 97-3-20 ไร่
โดยก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้ร่วมกับกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ เข้าตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีนานทุนจากต่างถิ่นเข้ามากว้านซื้อที่ดินและทำการปลูกยางพาราจำนวนมากกว่า
1,000 ต้น มีอายุประมาณ 7 ปี ตรวจสอบพิกัดตามแผนที่ดาวเทียวแล้วพบว่าอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้เจ้าของที่ดิน
นำหลักฐานเอกสารการครอบครองพื้นที่ปลูกยางพาราดังกล่าวมาแสดงต่อคณะเจ้าหน้าที่ภายใน
15 วัน แต่เมื่อครบกำหนด ทางเจ้าของที่ไม่มีหลักฐานการครอบครองมาแสดงเพิ่มเติมต่อคณะเจ้าหน้าที่ได้แต่อย่างใด
และจากการตรวจสอบทะเบียนบ้าน
พบว่าเพิ่งมีการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาในพื้นที่ได้เพียง 5
เดือนเท่านั้น
และตัวเจ้าของบ้านก็ไม่ได้พักอยู่ในพื้นที่ อ.แม่เมาะแต่อย่างใด
ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ปราจีนบุรี เจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันพิจารณาแล้ว
การครอบครองแปลงปลูกยางพาราเป็นการซื้อต่อจากเจ้าของเดิม
เป็นนายทุนต่างถิ่นมาจ้างแรงงานในพื้นที่หรือคนท้องถิ่นให้ดำเนินการแทน
จึงได้ร่วมกันตรวจยึดพื้นที่ทั้งหมด 9 แปลง ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย
โดยแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 54
ประกอบมาตรา 72 ตรี ฐาน “ก่อสร้าง เข้ายึดถือหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น
โดยไม่ได้รับอนุญาต” และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ฐาน “ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์หรือกระทำด้วยประการใดๆ
อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต”
และจะติดตามตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น