
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า
ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคม เป็นวันธาลัสซีเมียโลก
เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศให้ความสำคัญในการป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูก
โดยในประเทศไทยพบทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิดประมาณ 24,000 - 40,000 รายต่อปี
ขณะที่ข้อมูลจากทั่วโลกพบทารกที่มีความพิการแต่กำเนิดกว่า 80,000,000 คน หรือร้อยละ 6 ของทารกแรกเกิดทั่วโลก จำนวน 135,000,000
คน ทั้งนี้ ความพิการแต่กำเนิดร้อยละ 60 -70 สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดหรือดีขึ้นได้
โดยกระทรวงสาธารสุขมีนโยบายการป้องกันความพิการแต่กำเนิดที่กำหนดให้สตรีตั้งครรภ์ทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย
เพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงของทารกในครรภ์
รวมถึงรณรงค์ให้สตรีที่จะตั้งครรภ์ได้รับสารโฟเลต 6 สัปดาห์ก่อนการตั้งครรภ์ ทั้งนี้
ได้จัดทำแผนการดูแลรักษาปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดของประเทศไทย ปี 2555-2560 จัดให้มีระบบจดทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิดใน 41 จังหวัด
จำนวน 49 โรงพยาบาล พร้อมทั้งประสานโครงการต่าง ๆ
ของกระทรวงสาธารณสุขให้เพิ่มเรื่องวิธีการป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมีย
โดยสตรีตั้งครรภ์และสามีได้รับการตรวจคัดกรองมากกว่าร้อยละ 70 รวมถึงการพัฒนาระบบการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด
นายแพทย์สมเกียรติ
ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เกิดจากพันธุกรรมที่พบมากในประเทศไทย
โดยพบทารกแรกเกิดเป็นโรคดังกล่าวปีละประมาณ 12,125 ราย
โรคนี้ที่เกิดจากการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงลดน้อยลงเม็ดเลือดแดงจึงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย
ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา
แนวทางการรักษา
การดูแลรักษาสุขภาพทั่วไปสำหรับสตรีตั้งครรภ์และเด็กที่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย คือ
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ผาดโผน รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่มี “โฟเลต” สูง
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการซีดรุนแรง
ต้องได้รับเลือดเป็นประจำ เนื่องจากในเลือดมีธาตุเหล็กมาก
ฉะนั้นหากผู้ป่วยได้รับเลือดเป็นประจำ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะเหล็กเกิน
นอกจากนี้พบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและสามีเป็นพาหะด้วย จะทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติและเสียชีวิตภายในครรภ์หรือตายหลังคลอด และสตรีตั้งครรภ์ที่มีทารกผิดปกติอยู่ในครรภ์กว่าร้อยละ 75 จะมีอาการครรภ์เป็นพิษ โดยมีอาการบวมและความดันโลหิตสูง สำหรับรายที่มีอาการมากทารกจะมีอาการซีดเหลืองภายในขวบปีแรก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ตัวเล็กไม่สมอายุ หน้าตาผิดรูป หน้าผากใหญ่ โหนกแก้มสูง จมูกบาน และ ท้องโต เพราะตับม้ามโต เด็กกลุ่มนี้จะป่วยบ่อยเพราะติดเชื้อง่าย บางรายเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก
นอกจากนี้พบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและสามีเป็นพาหะด้วย จะทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติและเสียชีวิตภายในครรภ์หรือตายหลังคลอด และสตรีตั้งครรภ์ที่มีทารกผิดปกติอยู่ในครรภ์กว่าร้อยละ 75 จะมีอาการครรภ์เป็นพิษ โดยมีอาการบวมและความดันโลหิตสูง สำหรับรายที่มีอาการมากทารกจะมีอาการซีดเหลืองภายในขวบปีแรก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ตัวเล็กไม่สมอายุ หน้าตาผิดรูป หน้าผากใหญ่ โหนกแก้มสูง จมูกบาน และ ท้องโต เพราะตับม้ามโต เด็กกลุ่มนี้จะป่วยบ่อยเพราะติดเชื้อง่าย บางรายเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก
บทความโดย
ประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
ด้วยความปรารถนาดีจาก
โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง “ใส่ใจค้นหา บำบัดรักษาโรคมะเร็งให้คุณ”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 054
335262-8 ต่อ 187 , 160
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1178 วันที่ 11 - 17 พฤษภาคม 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น