ไม่อยากจะเชื่อ ว่าแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย
มีกระจายอยู่ใน 27 จังหวัด
ที่ได้รับการพัฒนาแล้วมากถึง 129 แห่ง เฉพาะในภาคเหนือ ก็มีมากถึง
74 แห่ง ชาวต่างชาติได้รู้คงอุทานว่า “Oh My God”
จากข้อมูล การพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทยของสโมสรน้ำพุร้อนไทย
(Thai
Hot spring Club) พบว่า ระดับการพัฒนาบ่อน้ำพุร้อนในประเทศไทย
มีหลายระดับ ว่ากันตั้งแต่ ระดับแรก คือ ใช้ประโยชน์แบบดิบๆแบบบ้านๆ สำหรับคนในพื้นที่
ระดับ 2 ใช้ประโยชน์แบบสาธารณะ แบบพื้นๆไม่มีมาตรฐาน ไม่มีบริการแต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็น ระดับ 3 ใช้ประโยชน์แบบสาธารณะอย่างมีเป้าหมาย
มีมาตรฐาน มีกิจกรรมสปาบางส่วน มีบริการด้านที่พัก อาหารการกิน ( เช่น ออนเซ็น +
เรียวกัง) ระดับ 4 :
ใช้ประโยชน์แบบสาธารณะอย่างมีเป้าหมาย มีมาตรฐาน มีกิจกรรมสปาเต็มรูปแบบ
พร้อมที่พัก อาหารการกิน มีพื้นที่และ สภาพแวดล้อมเป็นธรรมชาติสวยงาม
เป็นคุณต่อสุขภาพ (เช่น Destination Hot spring Spa )
ระดับที่ 5 เป็นสปาทั้งปริมณฑลรอบแหล่งน้ำพุร้อนคือเป็นเมืองสปา
(Spa Town) เป็นเมืองสุขภาพ เมืองน่าอยู่น่ามาเยือน
เป็นเมืองที่มีความสุนทรี
เมืองสปา
จึงควรเป็นจุดหมายของการพัฒนาแหล่งนำพุร้อน
เพราะเป็นการพัฒนาระดับสูงสุดเทียบเท่ากับที่สมาคมออนเซ็นญี่ปุ่นมีความภาคภูมิใจว่า
เมืองออนเซ็นหรือเมืองสปาของประเทศเขาก้าวสู่ระดับสุนทรี หรือ Stage
of Art
อย่างไรก็ตามแม้จะมีการพบและพัฒนาใช้ประโยชน์มากว่า
30
ปี ส่วนใหญ่ของแหล่งน้ำพุร้อนไทย มีขีดความสามารถในการแข่งขันน้อย
ส่วนใหญ่เป็นการใช้ประโยชน์แบบบ้านๆ แช่เท้า แช่ไข่ อาบแบบชาวบ้าน ซึ่งยังไม่สามารถดึงดูดการท่องเที่ยวจากภายนอก
ให้เกิดผลต่อการสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างเศรษฐกิจแก่ท้องถิ่นมากนัก เพราะยังขาดการพัฒนารูปแบบให้รองรับวัฒนธรรมการอาบน้ำแบบสาธารณะ
(Public Bath) ที่ได้มาตรฐานที่ดีเหมือนญี่ปุ่นหรือ ยุโรป
โอกาสและแนวทางดำเนินธุรกิจน้ำพุร้อนร้อนในประเทศไทย
จึงมุ่งเป้าหมายแรกไปที่ Destination Hot Spring Spa : แหล่งบริการอาบน้ำแร่แบบสาธารณะ
มีบริการที่พัก อาหาร และกิจกรรมสปาบางส่วน
ซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่หลายสามารถสร้างเศรษฐกิจและดึงดูดการท่องเที่ยวจากภายนอกได้ในทั่วโลกขณะนี้
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
ก็ถือเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทยที่ใครๆก็รู้จัก แต่น้อยคนนักอาจจะรู้ลึกว่า อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกสันเทือกเขาผีปันน้ำ
ซึ่งเป็นเขตแบ่งระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร น้ำตก แอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำพุร้อน
เช่นเดียวกับพื้นที่แนวเขตติดต่อกันในเทือกเขานี้ คือที่ บ้านบ้านแม่กำปอง อ.แม่ออน
และที่บ่อน้ำพุร้อน อ.สันกำแพง รวมถึง อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ หากเลยไปถึง อ.แม่ขะจาน และบ่อน้ำพุร้อนใน ตัวเมืองจังหวัดเชียงรายอีกหลายแห่ง
เทือกเขานี้จึงมีมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ให้ผู้คนอยากไปพักผ่อนหย่อนกาย ในช่วงวันหยุดให้ดีแก่ใจ
ทรงพล
สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เผยว่า
ขณะนี้ทางจังหวัดลำปางได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดลำปาง พ.ศ. 2561 –2564 ยุทธศาสตร์พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวที่เน้นอัตลักษณ์ชุมชน
สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
ด้านการยกระดับมาตรฐานระบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่มาตรฐานสากล
ตามมติตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเพื่อจัดทางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจาปี
2561 ตลอดจนนโยบายการพัฒนาจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ในการพัฒนาจังหวัดลำปางให้เป็นเมืองท่องเที่ยว “ลำปาง..ปลายทางฝัน”
เพื่อเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว
ด้านพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้ครอบคลุมทุกจุดบริการในอุทยานแห่งชาติในปี 2561
ต่อเนื่องไปถึงปี 2562
ยกระดับให้เป็นแหล่งสปาระดับสากล โดยจัดทำโครงการบ่อน้ำพุร้อนทั้งในร่มและกลางแจ้ง
แบ่งพื้นที่สำหรับชาย หญิง เลียบน้ำตกและบ่อน้ำพุร้อน
ออกแบบสถานที่
ตามขั้นตอนในการแช่บ่อน้ำร้อนออนเซ็น คือ พื้นที่ ห้อง 1. อาบน้ำล้างตัวก่อนลงแช่ในบ่อน้ำร้อนออนเซ็น จากนั้นเข้าสู่โซนชำระร่างกายด้วยน้ำร้อน
(Kakeyu) เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ปรับตัว
ชินกับน้ำร้อน
บ่อออนเซ็นระดับน้ำครึ่งตัว
(Hanshin-yoku)
สำหรับเริ่มแช่ตัวลงในน้ำร้อนเพียงครึ่งตัวถึงแค่ระดับเอวก่อน
และบ่อออนเซ็นระดับน้ำถึงไหล่ กว้างพอที่จะลอยตัวได้
ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
ทั้งนี้จังหวัดลำปางมีแผนจะสร้างบ่อออนเซ็น
ขนาดเล็กแช่ได้ 5 คน ขนาดใหญ่แช่ได้ 10 คน แยกชาย-หญิง ซึ่งเป็นเป็นบ่อน้ำร้อนที่ขนานกับน้ำตกแจ้ซ้อน
มีทั้งแบบกลางแจ้ง และกึ่งกลางแจ้ง (มีระนาบหลังคา ศาลา
หรือร่มไม้ที่ให้ร่มเงา) รวมถึงบริเวณที่ใช้เป็นอาคารต้อนรับ ที่เก็บของ ห้องอาบน้ำ ฯลฯ
อยู่ฝั่งเดียวกับอุทยานฯ ใช้วิธีปิดล้อมพื้นที่เพื่อความเป็นส่วนตัวด้วยน้ำ รั้ว
และต้นไม้ และเปิดมุมมองมาที่น้ำตกแจ้ซ้อน
และพื้นที่ฝั่งตรงข้ามที่มีการปรับภูมิทัศน์แล้ว โครงการพัฒนาดังกล่าวถือเป็นการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวของลำปาง
ที่มีศักยภาพอยู่แล้วให้เป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยวระดับสากล
การท่องเที่ยวเมืองรองตามนโยบายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ในปีนี้จะส่งผลต่อลำปางในอนาคต การพัฒนา “แจ้ซ้อนออนเซ็น” ให้เป็น Destination
Hot Spring Spa ไม่ไกลเกินปลายทางฝัน ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ศชากานท์
แก้วแพร่ : รายงาน
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1180 วันที่ 25 -31 พฤษภาคม 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น