วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

นายอำเภอห้างฉัตรโร่แจ้งความ ถูกปลอมเฟซบุ๊ก

จำนวนผู้เข้าชม IP Address

มิจฉาชีพปลอมเฟชบุ๊กเป็นนายอำเภอห้างฉัตร แชทยืมเงินเพื่อนในเฟชบุ๊กหลายราย อ้างลูกน้องประสบอุบัติเหตุให้โอนเงิน 10,000 บาท  โชคดีที่เพื่อนในเฟชบุ๊กเอะใจโทรสายตรงมาสอบนายอำเภอก่อน จึงรู้ว่าโดนปลอมเฟช เข้าแจ้งความโดยด่วน

เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น.วันที่ 20 มิ.ย. 61 นายวาทิต  ปัญญาคม นายอำเภอห้างฉัตร จ.ลำปาง ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง หลังมีคนปลอมแปลงเฟชบุ๊กเป็นชื่อของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า “วาทิต ปัญญาคม” และใช้รูปโปรไฟล์เป็นรูปเดียวกันกับเฟชบุ๊กจริงของตน แล้วทักข้อความทางแมสเซนเจอร์ไปขอยืมเงินเพื่อนในเฟชบุ๊กจำนวน 4-5 คน  แต่ไม่มีใครเชื่อ เพราะรู้จักนิสัยนายอำเภอดี จึงได้โทรศัพท์มาสอบถามข้อเท็จจริงก่อน จริงทราบว่าถูกปลอมเฟชบุ๊กดังกล่าว


นายวาทิต ปัญญาคม  นายอำเภอห้างฉัตร  เปิดเผยว่า เมื่อช่วงค่ำวานนี้ได้มีเพื่อนๆและลูกน้องที่เป็นทั้งข้าราชกการ ครู ตำรวจ อบต. ที่รู้จักกันเมื่อครั้งที่ตนเป็นนายอำเภออยู่ที่ อ.แม่ระมาด อ.แม่สอด จ.ตาก รวมถึงเพื่อนที่ จ.สกลนคร และผู้ใหญ่บ้านสถานี อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โทรศัพท์เข้ามาสอบถามนายอำเภอว่าเหตุใดจึงได้มีการทักข้อความมายืมเงินผ่านทางเฟชบุ๊ก เป็นเรื่องจริงหรือไม่  จึงตกใจเพราะตนเองไม่ได้ขอยืมเงินไป ทางเพื่อนจึงได้แคปหน้าจอและส่งมาให้ดู ก็พบว่ามีการใช้เฟชบุ๊กเป็นชื่อของตนเอง รวมทั้งรูปภาพโปรไฟล์เดียวกันกับรูปของตน ทักไปขอยืมเงินเพื่อนในเฟชบุ๊ก โดยอ้างว่าลูกน้องประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ ขอให้โอนเงินมาให้ 10,000 บาท  พร้อมกับส่งเลขบัญชีมาให้ ซึ่งมิจฉาชีพได้อ้างเป็นนายอำเภอว่าจะรับผิดชอบเองหากมีปัญหา ซึ่งหลายคนเริ่มสงสัยว่าระดับนายอำเภอเดือดร้อนถึงต้องไล่ยืมเงินผู้คนขนาดนี้เชียวหรือ และยังพิมพ์ข้อความผิดๆถูกๆ โชคดีที่เพื่อนในเฟชบุ๊กไม่ได้โอนไปและได้โทรศัพท์มาสอบถามตนก่อน  ทำให้รู้ว่าต้องโดนปลอมเฟชบุ๊คแน่นอน จึงได้เดินทางเข้าแจ้งความไว้เป็นหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ห้างฉัตรไว้แล้ว


 นายอำเภอห้างฉัตร กล่าวว่า เมื่อตรวจสอบดูเฟชบุ๊กปลอมดังกล่าวพบว่ามีการสมัครขึ้นใหม่เมื่อเวลา 19.00 น.ของวันที่ 19 มิ.ย.61  ใช้ชื่อและรูปหน้าของตนขึ้น แล้วไปขอเป็นเพื่อนในเฟชบุ๊กที่ตนเองมีอยู่ จากนั้นก็ไปขอไล่ยืมเงิน เมื่อทราบเรื่องจึงได้แจ้งรายงานปัญหาเข้าทางระบบของเฟชบุ๊ค ซึ่งเชื่อว่าเฟชปลอมนั้นน่าจะปิดไปแล้ว ส่วนเฟชบุ๊กเดิมของตนก็ยังใช้อยู่ตามปกติ แต่คงจะต้องมีการสร้างรหัสผ่านให้รัดกุมและป้องกันมากขึ้น   ทั้งนี้ ขอฝากเตือนไปยังผู้ที่โดนส่งข้อความยืมเงินลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ให้คิดดีๆอย่าหลงกล หากสงสัยให้โทรสอบถามเจ้าตัวก่อน เพื่อจะได้ไม่สูญเงินให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ น่าเชื่อได้ว่ากลุ่มคนพวกนี้ทำงานเป็นกระบวนการกลุ่มใหญ่ ทำอย่างรวดเร็ว เมื่อทราบว่าทำวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลก็อาจจะหาวิธีการใหม่มาเรื่อยๆเพื่อมาหลอกลวงผู้คน จึงต้องระวังตัวกันให้มากขึ้น


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1184 วันที่ 22 - 28 มิถุนายน 2561)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์