จั่วหัวกันด้วยศัพท์แสงคุ้นหูว่า
“การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ภาษาอังกฤษสากล คือ Community - Based Tourism คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน
เพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแล
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน
ความหมาย นัยสำคัญนี้
เป็นเรื่องที่ หน่วยงานต่างๆพุ่งเป้าหน้างานไปที่ชุมชน หลากหลายรูปแบบ
ในลำปางเราก็มีหน่วยงานรัฐและเอกชน สร้างผลงานกันมาระยะสองสามปีที่ผ่านมา
หากแต่
ข้อมูลที่พบส่วนใหญ่ มักเป็นไปในรูปแบบของการเอาขนมแป้งขนมปัง ไปส่งให้แล้วบอกว่า
มาทำขนมปังกันเถอะ ซึ่งชุมชนเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง อยากมีส่วนร่วมบ้างไม่อยากบ้าง เพราะชุมชนยังมองไม่เห็นโอกาสของการสร้างมูลค่าเพิ่มทางสิ่งแวดล้อม
สังคม และวัฒนธรรม วิถีชุมชนของตนเองให้ออกมาเป็นสินค้าการท่องเที่ยวชุมชน ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้อยากเข้าไปในชุมชน
นำเงินในกระเป๋าของเขาไปจับจ่ายในชุมชน
ประเด็นที่จะพูดในเรื่องนี้คือ
นักวิชาการ หรือนักวิจัยอะไรก็ตามที่เข้าพื้นที่ไปนั้นมีองค์ความรู้ประสบการณ์จริงด้านการท่องเที่ยว
มากกว่าวิชาการที่หาโหลดข้อมูลได้ในกูเกิล เอาไปถ่ายทอดกันไหม??
ใครคือผู้เชี่ยวชาญ และใครคือคนรับลูก
หน้าเสื่อหน้างานในชุมชนนั้นๆ
จะเปรียบเปรยเหมือนเรื่องที่ว่า
กระบวนการส่งแป้งขนมปังเข้าไปในชุมชน ที่ว่านี้ ก็เลยกลายเป็น
สิ่งที่ป้อนไม่ถูกปาก การพัฒนาจึงไม่เกิดขึ้นจริง สื่อดิจิทัล ที่กำลังถั่งโถมเข้าไปเป็นแรงหนุน
ให้ชุมชนสื่อสาร
เรื่องราวคุณค่า
ของชุมชน นั้น ก็ อาจจะไม่มีความหมายเพราะชาวบ้านไม่อยากทำขนมปัง แต่ถ้าชวนชาวบ้านเอาแป้งขนมปังมาปรับใช้กับการทำขนมท้องถิ่นนั้น
มันจะสนุกกว่าไหม ??
นักวิชาการ หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
ต้องทบทวนว่าจะไปสอนเขาเอาแป้งขนมปังนั้นทำอะไร ให้ขายได้แบบอินที่จะบอกให้คนกิน(นักท่องเที่ยว)
นั้น...ว่ากินขนมชุมชนที่ปรุงจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่แท้จริง มันอร่อยยังไง
...
การท่องเที่ยวชุมชนก็ต้องมาจากความต้องการของชุมชน
ร่วมในกันทำให้เข้มแข็ง
ไม่ใช่มาจากภาครัฐที่อยากสร้างผลงานจนยัดเยียดงบประมาณจนลืมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเมื่อไหร่ที่หมดงบชุมชนก็อาจจะหมดใจ
กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวร้างกลายเป็นซากที่ประจานการละเลงงบหลวงที่ถูกแร้งให้ชุมชนดูต่างหน้า
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น