เป็นเรื่องที่น่าในใจว่า
ลำปางเป็นเมืองที่มีการเลี้ยงวัว หรือ “โค” ทั้งเนื้อและ นม กระจายอยู่ทุกอำเภอจำนวนมาก
ส่วนหนึ่งเป็นโคพื้นบ้านที่เลี้ยงกันตามทุ่งนา แต่ทว่าการเลี้ยงโคนมขายเข้าสู่อุตสาหกรรมโคนม
และเลี้ยงโคเนื้อเพื่อขายเข้ากลุ่มตลาดเนื้อโคขุนร่วมกับสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทยก็เริ่มแสดงศักยภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้สหกรณ์โคนมนครลำปางจำกัด
และเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนจังหวัดลำปาง ขณะที่เครือข่ายผู้เลี้ยงแพะแกะในจังหวัดลำปาง
ในหลายอำเภอก็เริ่มรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อเลี้ยงแพะนม แพะเนื้อ
ขายเชิงพาณิชย์
โยธิน ฮาวปินใจ ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมนครลำปางจำกัด เปิดเผยว่ากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมใน ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เริ่มต้นจากการรวมตัวกันของเกษตรกรกลุ่มใหญ่ที่ขายส่งน้ำนมดิบให้กับสหกรณ์โคนมแม่ทะ พัฒนาแล้ย้ายที่ทำการใหม่ขายตัวใหญ่ขึ้นกว่าเดิมในนาม
สหกรณ์โคนม นครลำปางจำกัด ซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้ง
สหกรณ์และโรงงานรวมรวมน้ำนมดิบคุณภาพ GMP ที่ตำบลวอแก้ว ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า
70 ราย มีโคนมทั้งหมด กว่า 1,800 ตัว ปี 2560 ที่ผ่านมา มีกำลังการผลิตน้ำนมดิบ
2,833 ตัน/ปี เฉลี่ย 237 ตันต่อปี
หรือประมาณ 7.6 ตันต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มขึ้น เป็น 11 ตันต่อวัน ซึ่งได้ทำบันทึกข้อตกลง MOU
กับบริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
รวมแล้วประมาณ 8 ตันต่อวัน
นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตน้ำนมออกจำหน่ายเองอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ทางสหกรณ์ฯ ได้ เป็นตัวกลางในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมหลายด้าน
โดยจัดให้มีสินค้าและบริการอย่างครบวงจร
มีบริการด้านสินเชื่อ หาแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยถูก โครงการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ และไอศกรีมนมสด
ลดต้นทุนการผลิตโดยหาแหล่งอาหารสำหรับวัวราคาถูก รวมถึงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ทั้งหญ้า
ข้าวโพด มันสำปะหลัง และขยายประชากรโคและสมาชิกเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตน้ำนมดิบ ฟาร์มละ 300 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อให้ได้กำลังผลิตส่งน้ำนมดิบเข้าในอุตสาหกรรมนมที่เป้าหมาย
ขณะที่
เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในลำปางเองก็ตื่นตัวกับการเกาะกลุ่มกันเลี้ยงโคขุน
หรือโคเนื้อสายพันธุ์ที่มีการซื้อขายกันในตลาดโคขุนอย่างจริงจัง เช่นกัน
ร.ต.อ.ธนาธิป
ยอดแก้ว ข้าราชการตำรวจ ที่ใช้เวลาว่างเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพเสริมจนสามารถจำหน่ายเข้าสู่ตลาดโคเนื้อได้สำเร็จ
ได้ริเริ่มก่อตั้งเครือข่ายเกษตรกรโคเนื้อในจังหวัดลำปางเพื่อเลี้ยงโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรป
ทั้งอเมริกันบราห์มัน ชาร์โรเล่ส์ ซิมเมนทอล
และโคเนื้อสายพันธุ์ผสมของไทย เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดโคขุนในประเทศไทย
ซึ่งยังมีความต้องการสูงมาก แต่ยังมีเกษตรกรเลี้ยงจำนวนน้อย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรวมรวมเกษตรกรและจำนวนโคที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด
ทั้งนี้มีแนวทางจะลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการซื้อขายกับเครือข่ายโคเนื้อแห่งประเทศไทยเป็นหลักประกันให้ทั้งเกษตรกรและผู้ซื้อร่วมกัน
โดยกำหนดการซื้อขายตามน้ำหนักของวัวเป็นมาตรฐานตลาดเดียวกันทั่วประเทศ
ร.ต.อ.ธนาธิป
ยอดแก้ว บอกว่า การรวมตัวกันเป็นเครือข่ายวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อลำปาง 15 กลุ่ม
ประมาณ 500 กว่าราย ในพื้นที่ 8 อำเภอ ที่ผ่านมารวมกลุ่มกันขายเข้าสู่ตลาดโคเนื้อไทย
ซึ่งรับซื้อเนื้อโคขุนไขมันแทรก และ โคเนื้อพันธุ์พื้นเมือง อายุ 8 เดือน รายละอย่างน้อย 5 ตัว
มาต่อเนื่องหลายปีปัจจุบันได้มีแนวทางรวมตัวกันเพื่อพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงกลางน้ำ
ให้มั่นคง เป็นอันดับแรก ก่อนจะไปถึงการพัฒนาปลายน้ำคือการแปรรูปในอนาคต
“เครือข่ายโคเนื้อของเรา
จะเน้นการผลิตแม่พันธุ์แต่ละสายพันธุ์ให้หมุนเวียนผลิตลูกแก่สมาชิก ส่วนการเลี้ยงจะเลือกให้อาหารธรรมชาติ
โดยให้เกษตรกรมีแปลงหญ้าของตัวเอง หรือ ซื้อหญ้าจากเครือข่ายผู้ปลูกอาหารสัตว์แทนอาหารเม็ด
เพื่อให้ได้เนื้อโคที่มีคุณภาพปลอดภัย ทั้งนี้ได้เสนอให้ทางราชการสนับสนุนการส่งเสริมเลี้ยงโคเนื้อและการรวมกันเป็นเครือข่ายที่มั่นคง
โดยมีเป้าหมายจะสร้างศูนย์พัฒนาพันธุ์โคเนื้อ และโรงเรือนรวบรวมโคเนื้อก่อนนำออกสู่ตลาด การทำแปลงหญ้าและโรงหมักอาหารวัวจากพืชธรรมชาติ
เป็นต้นแบบแก่สมาชิกเครือข่าย ช่วยให้การพัฒนาเครือข่ายมีความชัดเจนและยั่งยืน
ซึ่งมีข้อดีกว่าการปล่อยให้เกษตรกรแต่ละรายไปพัฒนาเอง ที่สำคัญเราสามารถกำหนดตลาดได้แม่นยำมีความเสี่ยงน้อยรายได้มั่นคง
ล่าสุดวิสาหกิจของเราเราได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์สาขาเกาะคา ดำเนินการบริหารจัดการตลาดแก่สมาชิกให้สามารถรับซื้อโคของสมาชิกตามน้ำหนักแล้วขายเข้าตลาดอย่างเป็นธรรมเป็นโครงการแรก
จากนั้นจะดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องด้านอื่นๆตามแผนงานต่อไป ”
ศร ธีปฎิมากร
ปศุสัตว์จังหวัดลำปาง เผยว่า จังหวัดลำปางมีศักยภาพด้านปศุสัตว์ ทั้งส่วนของแพะแกะ
ซึ่งมีโครงการพัฒนามาตรฐานฟาร์มต่อเนื่อง ขณะที่เกษตรกรที่เลี้ยงโคสามารถรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรโดยบูรณาการเชื่อมโยงกันในด้านอาหารสัตว์ร่วมกัน
โดยทางสหกรณ์โคนม ในจังหวัดลำปางเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ทางสำนักงานปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการเกษตรกรแปลงใหญ่
เพื่อเพิ่มจำนวนโคนม และการผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ เช่นการปลูกหญ้า
และการนำสับปะรดที่ปลูกในลำปางมาทำอาหารหมักคุณภาพให้เกษตรกรกลุ่มปศุสัตว์
ส่วนการพัฒนาส่งเสริมเลี้ยงโคนม
รองรับการผลิตนมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
ที่จะก่อตั้งขึ้นที่อำเภอห้างฉัตรภายในปี 2563 ซึ่งจะช่วยให้
เกิดวงจรอุตสาหกรรมโคนมในลำปางที่เอื้อต่อความมั่นคงเติบโตของแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมเป็นกลไกเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดลำปางต่อไป
มีหญ้าเนเปียร์ขายสนใจเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 0848175617
ตอบลบ