วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อบจ.ลำปาง ส่งเสริมการจัดการศึกษาภาษาไทย “Active Learning”

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

“การศึกษา”เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคนสร้างสังคมและสร้างชาติเป็นกลไกในการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0” และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ..2560–2579โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาภายใต้ 6ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อให้แผนการศึกษาแห่งชาติบรรลุเป้าหมายกระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยกระบวนการถ่ายทอดความรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้รับมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติหลากหลายรูปแบบ โดยผู้ถ่ายทอดเป็นผู้แนะนำ กระตุ้นหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้รับเกิดการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา รักษาศิลปะจารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก โดยยึดหลักการจัดการศึกษาดังนี้ เป็นการศึกษา    ตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วม และการพัฒนาสาระกระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชน มีพัฒนาการทางการเรียนรู้ สร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาสังคม ชุมชน และประเทศชาติ ดังนั้น อบจ.ลำปาง จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่ประชาชนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาภาษาไทย “โดยใช้กระบวนการ Active Learning” ของจังหวัดลำปาง   ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อบจ.ลำปาง มีการอบรมความรู้ลักษณะเทคนิคการสอนเกี่ยวกับการสอนภาษาไทย  กิจกรมปฏิบัติการจัดทำสื่อการสอนโดยจัดทำสื่อ หนังสือมะเฟือง หนังสือสามเหลี่ยม หนังสือดอกไม้ หนังสือสามมิติแนวตั้งและแนวนอน สื่อสไลด์ทำมือ และสื่อสามมิติคอนโด

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านภาษาไทยของจังหวัดลำปาง มีความรู้เกี่ยวกับการใช้กระบวนการ Active Learning  สามารถจัดทำสื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กและเยาวชน มีการพัฒนาสื่อนวัตกรรม   ในศตวรรษที่ 21 สามารถถ่ายทอดให้กับเด็กและยาวชนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ทำให้เด็ก เยาวชนและประชาชนเกิดการพัฒนาตนเอง นำไปสู่การมีส่วนร่วนในการพัฒนาสังคม ชุมชน และประเทศชาติอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน.

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1232 วันที่ 7 - 13 มิถุนายน 2562)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์