กฟผ.แม่เมาะ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะ “องค์กรที่มีความเป็นเลิศในกิจการถ่านหินของอาเซียน” ในเวที ASEAN Coal Awards 2019 คว้า 3 รางวัลชนะเลิศ ประเภท CCT Utilization, CSR และ Special Submission และ 1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภท CSR ตอกย้ำการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เป็นประธานในงาน กาล่าดินเนอร์ของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37
ซึ่งภายในงานมีพิธีมอบรางวัล ASEAN Coal Awards 2019 จัดขึ้นโดย ASEAN center for Energy commitee เพื่อคัดเลือกองค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านต่าง
ๆ ของกิจการถ่านหินของไทยและเคยได้รับรางวัล Thailand Coal Awards 2018 แสดงถึงความเป็นองค์กรที่มีผลงานดีเด่นในกิจการด้านถ่านหิน การขนส่ง
การใช้ประโยชน์ถ่านหิน การใช้เทคโนโลยีสะอาดด้านถ่านหิน
และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มาร่วมประกวดในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ นายบุญทวี กังวานกิจ รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยผู้บริหาร และพนักงาน เป็นผู้แทน กฟผ.
เข้ารับรางวัลจากเวทีดังกล่าว จำนวน 4 รางวัล
นอกจากนี้ภายในงานมีองค์กรที่ดำเนินกิจการถ่านหินจากทั่วภูมิภาคอาเซียนกว่า 70
หน่วยงานเข้าร่วมงาน ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯ
สำหรับผลงาน Dust
Killer Box หรือ กล่องพิฆาตฝุ่น ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
เป็นผลงานนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นและนำมาใช้ในการขุด-ขน และลำเลียงถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ
จังหวัดลำปาง
โดยคำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินงานต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนโดยรอบเหมืองแม่เมาะเป็นสำคัญ
ซึ่งหลังจากการใช้งานกล่องพิฆาตฝุ่นในพื้นที่ดังกล่าว พบว่า
ปริมาณฝุ่นถ่านลดลงเหลือไม่เกิน 5%ความทึบแสง
ซึ่งดีกว่าค่ามาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ ไม่เกิน 20%ความทึบแสง
อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด
เนื่องจากสามารถนำฝุ่นถ่านที่เก็บไว้ในตัวเครื่องมาใช้ผสมกับถ่านคุณภาพดีและนำกลับมาใช้ได้อีกครั้งด้วย
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
คือผลงานการปรับปรุงหม้อน้ำของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด
โดยนำร่องที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 12 แล้วเมื่อปี 2557
เพื่อรองรับการเผาถ่านลิกไนต์ที่มีแคลเซียมออกไซด์ 30% ได้โดยไม่มีการลดกำลังการผลิต ทำให้ กฟผ.
ไม่สูญเสียโอกาสในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาและต่อยอดเพื่อนำไปใช้งานกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 8
– 11 ต่อไป
ในส่วนของการดำเนินงานด้าน CSR กฟผ.
มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่เป็นสำคัญ
โดยมีการสำรวจความต้องการและความคาดหวังของชุมชนเป็นประจำทุกปี
เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานด้าน CSR ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมากที่สุด
รวมถึงได้น้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
มาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสู่แนวทางในการปฏิบัติ
โดยครอบคลุมการดำเนินงาน 3 มิติ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและนวัตกรรมด้านชุมชน
โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำของประเทศไทย อาทิ
การนำวัตถุพลอยได้ ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าไปต่อยอดพัฒนานวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชน
และทำให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า กฟผ. มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า
เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ส่งผลให้ประชาชนมีไฟฟ้าอย่างเพียงพอและทั่วถึง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
ควบคู่กับการใส่ใจดูแล และสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่
เพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป”
นายบุญทวี กังวานกิจ กล่าวในที่สุด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น