
เมื่อวันที่
16
มกราคม 2563 บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง)
จำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี จัดกิจกรรม เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูการทำเหมืองปูนลำปาง
และ“พบกันฉันท์น้องพี่ SCG ลำปาง & สื่อมวลชนจังหวัดลำปาง”
เพื่อเน้นย้ำนโยบายยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน
และสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟูที่และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบในจังหวัดลำปาง สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ SCG Circular way ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนต่อยอดสู่การพัฒนาอาชีพ
สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชน
ในการนี้ นายวิสุทธ จงเจริญกิจ Managing
Director บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด กล่าวว่า SCG ใช้วิธีการทำเหมืองรูปแบบใหม่ เรียกว่า “Semi-Open Cut” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบเหมืองที่ SCG พัฒนาขึ้น
โดยนำไปใช้กับโรงงานปูนของ SCG ทุกแห่งทุกประเทศ โดย Semi-Open
Cut เป็นเทคนิคการทำเหมืองจากภายใน ละเว้นพื้นที่สีเขียว หรือ Buffer
Zone ไม่น้อยกว่า 40% จากพื้นที่รับสัมปทานทั้งหมด
จึงสามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อชุมชน ทั้งด้านฝุ่น เสียง และแรงสั่นสะเทือนได้
อีกทั้งยังดำเนินการยังต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง
ให้ยังคงทัศนียภาพตามเดิมควบคู่กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ตามแนวคิด
“โรงงานอยู่ที่ไหน ป่าต้องเขียวที่นั่น”
เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ
SCG และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้มีการนำมาปรับใช้ในกระบวนการจัดการและดูและสิ่งแวดล้อมตามข้อกฏหมายกำหนด
รวมถึงมาตรฐานสากล
ในส่วนของการฟื้นฟู SCG
ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยการฟื้นฟูป่า
คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
และสรุปชนิดพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น ที่ใช้ในงานฟื้นฟูเหมืองลำปาง เช่น กระถิน ประดู่
ยมหิน อ้อยช้าง เป็นต้น โดยจะมีการปลูกพืชทับบริเวณที่เหมืองส่วนนั้นหมดอายุการใช้งานแล้วทันที
เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวแก่ธรรมชาติ
รวมทั้งได้ริเริ่มโครงการกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และ Glabal
Nature Fund จัดทำโครงการตรวจประเมินธุรกิจ
รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร
โดยเน้นการสำรวจชนิดพันธุ์นก ซึ่งพบว่าในพื้นที่เหมืองลำปางมีชนิดนกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แสดงถึงสภาพธรรมชาติที่กลับคืนมามีระบบนิเวศเหมาะสมแก่การดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ในปี 2563 SCG ยังมีแผนดำเนินงานอีกหลายโครงการ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อม
เช่น ป้องกันและควบคุมไฟ, ระบบเมืองนิเวศยั่งยืน 6 หมู่บ้าน ใน ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม
จ.ลำปาง, การขยายการจัดการขยะจากระดับตำบลสู่ระดับอำเภอ
(แจ้ห่ม), การปลูกต้นไม้ 30 ไร่
ฟื้นฟูระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังได้ทำโครงการ Zero
Burn โดยร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย รวบรวมนำพืชชีวมวลจากภาคการเกษตร
เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด กิ่งไม้ใบไม้ เป็นต้น
มาเป็นเชื้อเพลิงในกระบวรการเผาปูนซีเมนต์ช่วยป้องการและลดปัญหาหมอกควัน (PM
2.5) ในพื้นที่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น