จำนวนผู้เข้าชม
สะพานรัษฎาภิเศก ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง
อำเภอเมืองลำปาง เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเษก
ส่วนชื่อขัวสี่โค้งมาจากเส้นโค้งทรงคันธนูรวม 4 โค้งทอดข้ามผ่านแม่น้ำวังนั่นเอง
บ้างก็เรียกว่าสะพานขาว
เพราะเป็นสะพานที่ทาด้วยสีขาวสะอาดตา ปัจจุบันสะพานแห่งนี้มีอายุเข้าสู่ปีที่ 103 แล้ว
สมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟ
มีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้ว
และรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา
สะพานรัษฎาภิเษกที่เราเห็นกันในปัจจุบันเป็นสะพานรุ่นที่
3 โดยรุ่นที่ 1 เป็นสะพานที่สร้างด้วยไม้ พังลงเมื่อ พ.ศ. 2544
สะพานรุ่นที่ 2 สร้างด้วยไม้เสริมเหล็กพังลงเมื่อ
พ.ศ. 2458
จนปี พ.ศ. 2459
จึงได้มีการสร้างสะพานรุ่นที่ 3 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้น
โดยสร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2460 :ซึ่งสะพานรุ่นที่
3
นี่เองที่เป็นสะพานคู่ขวัญที่อยู่คู่กับจังหวัดลำปางมาจนถึงปัจจุบัน
สะพานแห่งนี้นอกจากจะนับว่าเป็นแลนด์มาร์กของลำปางแล้ว
หากลองสังเกตบนตัวของสะพานดีๆ จะพบกับสัญลักษณ์ต่างๆ
ซึ่งแต่ละสัญลักษณ์ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม แต่ล้วนแฝงไว้ด้วยความหมายต่างๆ
ดังนี้
เสาสี่ต้น ที่ตั้งอยู่หัวสะพานฝั่งละสองต้น
หมายถึงความมั่นคงแข็งแรง
ครุฑสีแดงด้านหน้าของเสาทุกต้น เป็นตราสัญลักษณ์ของแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 6
พวงมาลัยยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสา หมายถึง
เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไก่หลวง หรือ ไก่ขาว ตรงกลางเสา เป็นสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง
*เกร็ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ประจำจังหวัดลำปาง
“ไก่ขาว”
ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปาง เนื่องจากเดิมลำปางมีชื่อว่ากุกกุฏนคร
ที่แปลว่าเมืองไก่ขัน มีตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพุทธกาลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ
ณ เมืองลำปางพระอินทร์ทราบข่าวจึงแปลงเป็นไก่ขาวเพื่อขันปลุกพระพุทธองค์ให้ตื่นขึ้นมาปฏิบัติภารกิจ
ทั้งยังเป็นห่วงว่าชาวเมืองลำปางจะตื่นขึ้นมาใส่บาตรพระพุทธองค์ไม่ทันจึงขันปลุกชาวบ้านให้ตื่นมาหุงหาอาหารเตรียมใส่บาตร
เกษณี ตั๋นตุ้ย นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำาปาง
เกษณี ตั๋นตุ้ย นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำาปาง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น