
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 63 นายศุกษ์ ไทยธนสุกานต์
นายก อบต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พร้อมด้วยชาวบ้านจาก 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
บ้านหัวฝาย หมู่ 1 บ้านหัวฝายหล่ายทุ่ง หมู่ 8
บ้านดง หมู่ 2
และบ้านสวนป่าแม่เมาะ หมู่ 7 ประมาณ 300 คน ได้รวมตัวเดินทางกันมาที่ศาลาเอนกประสงค์
อบต.บ้านดง
พร้อมป้ายผ้าเขียนข้อความทวงถามความคืบหน้ากรณีการอพยพราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากพื้นที่การทำเหมือง
กฟผ.แม่เมาะ หลังจากที่ ครม.ได้มีมติ
วันที่ 15 ต.ค.2556 จนกระทั่งได้ทำพิธีเปิดพื้นที่การก่อสร้างไปแล้ว เมื่อวันที่
19 ธ.ค.61 จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า
นายศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายก อบต.บ้านดง
กล่าวว่า
ปัญหาจากผลกระทบการทำเหมืองและโรงไฟฟ้าที่ผ่านมา
ทำให้ชาวบ้านต้องการอพยพห่างออกจากพื้นที่
ทางรัฐบาล โดย ครม.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการอพยพ
ตั้งแต่ปี 2556 กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 5 ปี และเมื่อเดือน ต.ค.61
ทางตนเองได้ยื่นหนังสือต่อรัฐบาล เพื่อเร่งรัดระยะเวลาการดำเนินการปรับพื้นที่
จัดระบบสาธารณูปโภค รองรับการอพยพให้เสร็จตามกำหนดภายในปี 2562
และพิจารณาทบทวนการประเมินราคาทรัพย์สิน และปรับราคาประเมิน ค่าชดเชยทรัพย์สิน
ที่ดิน ต้นไม้ สิ่งปลูกสร้าง ให้เกิดความเป็นธรรมกับราษฎร
เนื่องจากความล่าช้าในการดำเนินงานอพยพ กระทั่งมีความคืบหน้า
โดยการเปิดพื้นที่ก่อสร้างรองรับราษฎรผู้อพยพ ในวันที่ 19 ธ.ค.61
ได้เริ่มก่อสร้างพื้นที่รองรับการอพยพของ 4 หมู่บ้าน จัดเป็น 2 โซน ประกอบด้วย โซน 1 รองรับการอพยพราษฎรบ้านดง
หมู่ 2 จำนวน 206 ราย และโซน 2 รองรับการอพยพราษฎร 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหัวฝาย หมู่
1 บ้านหัวฝายหล่ายทุ่ง หมู่ 8 และบ้านสวนป่าแม่เมาะ หมู่ 7 จำนวน 776 ราย
และจะมีพื้นที่จัดสรรเป็นสถาบันการศึกษา โรงเรียนประถม โรงเรียนอนุบาล สนามกีฬาฯลฯ
พื้นที่รวมประมาณ 11.68 ไร่ โดยพื้นที่รองรับการอพยพ 4 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 1,368
ไร่ ราษฎร 982 ราย
แต่ปรากฏว่าขณะนี้แผนงานการทำงานทั้งหมดล่าช้า
ไม่เสร็จตามกำหนดการ ซึ่งพบว่าปัญหาอยู่ที่การประกวดราคา
ซึ่งโยธาจังหวัดเป็นเจ้าภาพดำเนินการ โดยมีการร้องเรียนจากผู้รับเหมารายแรกที่ยื่นราคาต่ำสุด
แต่ไม่ได้เนื่องจากคณะกรรมการแจ้งว่า เอกสารไม่ครบตามระเบียบ
ซึ่งทางผู้รับเหมายืนยันว่าตนเองทำถูกต้อง จึงยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
และขณะนี้เรื่องไปอยู่ที่สำนักงบประมาณรอชี้ขาดประมาณ 4 เดือนผ่านมาแล้ว ด้านนายประทีป ประคองวงศ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลำปางกล่าวว่า
ตนเองปฏิบัติตามระเบียบทุกขั้นตอน ซึ่งถ้าผู้รับเหมาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
ก็ทำตามระเบียบที่เปิดให้อุทธรณ์ได้
ดังนั้นปัญหาจึงอยู่ที่ระบบและคณะกรรมการได้พยายามแก้ไขกันอยู่
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีนายสุรพล บุรินทราพันธุ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
ได้กล่าวทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
โดยเบื้องต้นให้มีการแต่งตั้งชาวบ้านในพื้นที่ให้เข้าเป็นคณะกรรมการร่วมในการดำเนินการ
และขอให้แผนงานการปฏิบัติทุกอย่างต้องทำให้เสร็จภายในวันที่ 31 ก.ค.2563
นี้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น