วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563

ค่ายกักกัน โควิด 19 กับอภิสิทธิ์ชน คน กสทช.


จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์
ไม่ใช่ดราม่า แต่เป็นเรื่องจริง ที่”ผีน้อย”ถูกนำไป “กักตัว” ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในสภาพอนาถา คล้ายอยู่ในค่ายกักกัน ต่างกันลิบลับกับผู้ที่เดินทางกลับจากอู่ฮั่น ก่อนหน้านี้ และห่างชั้นอย่างยิ่งกับ กสทช.นายหนึ่ง ซึ่งเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มยุโรป และไม่ยอมกักตัวเอง
 “ผีน้อย” มาจากเกาหลีใต้ เกาหลีใต้เป็น 1 ใน 4 ประเทศ คือเกาหลี จีนรวมทั้งเขตบริหารพิเศษมาเก๊า และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง อิตาลี อิหร่าน ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นท้องที่นอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย โควิด 19 ซึ่งต้องกักตัว 14 วัน เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย
สภาพค่ายกักกัน ที่จังหวัดบุรีรัมย์ คือเต็นท์นับร้อยเรียงรายกันใต้อาคารข้างสนามแข่งรถ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว มีแผงเหล็กที่เก็บมาตามถนน วางกั้นระหว่างเต็นท์ มีหมอน 1 ใบ ผ้าห่ม 1 ผืน ห้องน้ำรวม
คนไทยถูกคัดแยกออกมา ส่งไปค่ายกักกัน คนต่างชาติไม่ถูกกักตัว
ชาวบ้านถูกบังคับให้ต้องกักตัว เคร่งครัด แต่มีอภิสิทธิ์ชนบางคนที่ไม่ยอมวัดไข้ ไม่ยอมคัดกรอง และไม่กักตัวเอง ยังเรียกประชุม และกระจายความเสี่ยงไปยังคนอื่นๆ เช่น กรณี กสทช.นายหนึ่ง ที่เดินทางไปประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ และกลับมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม

กสทช.เคยมีประกาศ .เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2563 ให้พนักงานกสทช.ที่เดินทางไปต่างประเทศระหว่างวันที่ 11 ก.พ.-19 เม.ย.2563 เมื่อกลับมาต้องตรวจคัดกรองและเฝ้าระวัง COVID-19 และให้รอผลโดยใช้สิทธิลากิจ หรือลกพักผ่อน หรือลาป่วย และประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 25 ก.พ.เพิ่มเติมให้ผู้มาปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อที่กสทช. ต้องให้ความร่วมมือในการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าอาคารกสทช.ด้วย

อย่างน้อย โควิด 19 ก็ทำให้เห็นจิตสำนึกความรับผิดชอบของคนบางคน ที่น่าจะมีวุฒิภาวะมากพอที่จะเข้าใจในสถานะความเป็น “ตัวอันตราย”ของตัวเอง ที่จะแพร่กระจายโรคร้ายให้คนอื่น กับสะท้อนให้เห็นภาพการบริหารจัดการของรัฐบาลที่สับสนอลหม่าน และไร้ประสิทธิภาพอย่างยิ่ง   
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์