ในการตรวจสุขภาพประจำปีบางครั้งอาจพบว่า
ไขมันในเลือดสูง บางท่านอาจมีความวิตกกังวลว่าจะมีผลต่อสุขภาพหรือไม่อย่างไร เพราะผู้ที่มีอายุมากขึ้นมักพบว่าไขมันสูงซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของเราจะมีไขมันอยู่
2 ชนิด คือ
1. โคเลสเตอรอล (Cholesterol) แบ่งเป็นชนิดความหนาแน่นต่ำ
(LDL) หรือ ไขมันชนิดไม่ดี สามารถไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง
เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และหลอดเลือดสมองตีบ
ส่วนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือ ไขมันชนิดดี
ทำหน้าที่กำจัดไขมันชนิดอันตรายออกไปจากกระแสเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่อาจสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้หากมีปริมาณสูงมาก
ๆ แต่จะส่งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าไขมันชนิดโคเลสเตอรอล และเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ
ก่อนการตรวจหาไขมันในเลือดนั้นจำเป็นจะต้องงดอาหารทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่า ก่อนการเจาะเลือด 8 – 10 ชั่วโมงผู้ที่ควรตรวจหาไขมันในเลือดคือ มากกว่า
35 ปีขึ้นไป
โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยว่าโรคหลอดเลือดตีบเป็นเบาหวาน สูบบุหรี่ โรคความดันเลือดสูงอ้วนลงพุง
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้มีภาวะไขมันในเลือดสูง
1. ปรับพฤติกรรมการบริโภคควรลดอาหารประเภทน้ำตาล
ขนมหวานทุกชนิด ผลไม้รสหวานจัดและผลไม้แปรรูป ของทอดต่าง ๆ
อาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ เช่น เนย หรือมาการีนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว
ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดองแข็ง เช่น หอยนางรม ปู
ปลาหมึก ควรรับประทานผักให้มาก โดยเน้นผักใบเขียวอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่
อาหารที่ทำจากพืช ถั่วต่าง ๆ และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลาชนิดต่าง
ๆเน้นการปรุงประกอบอาหารแบบต้ม อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ แทนการใช้น้ำมัน
หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันควรลดปริมาณให้น้อยลง
2. ปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอด้วยการวิ่ง
เดินเร็ว หรือขี่จักรยาน ช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์งดสูบบุหรี่ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
ไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง
บทความโดยทนพญ.วรันกร เกยูรวงศ์
ด้วยความปรารถนาดีจาก
โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง “ใส่ใจค้นหา
บำบัดรักษาโรคมะเร็งให้คุณ”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
054 335262-8 ต่อ 187 , 160
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น