
จังหวัดลำปาง
ร่วมกับอำเภอแจ้ห่ม และสำนักงานประมงจังหวัดลำปาง เตรียมจัดกิจกรรมเทศกาล “กินปู
ดูนา พาฟิน” ครั้งที่ 1 ในวันที่ 11-12 กันยายน 2563 ณ อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาคำลือ
ต.วิเชตนคร อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการการสร้างรายได้เสริมจาการเลี้ยงปูนาและการเพิ่มมูลค่าสินค้าแปรรูปจากปูนา
เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจังหวัดลำปาง จัดทำโดยสำนักงานประมงจังหวัดลำปาง เพื่อส่งเสริมต่อยอดการสร้างรายได้ให้เกษตรกร
ที่ทำเกษตรปลอดภัย และได้ผลผลิตปูนาจากนาข้าวมาทำผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสนับสนุนการท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
นายเสรี
เรือนหล้า ประมงจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ถ้าพูดถึงน้ำ.ปูคนลำปางก็จะรู้จัก อ.แจ้ห่ม
เนื่องจากเป็นพื้นที่ต้นตำรับในการทำน้ำปู แต่ปัจจุบันผลผลิตปูนาลดน้อยลง
เพราะรูปแบบการทำนาเปลี่ยนไป ทำให้มีการใช้สารเคมีมากขึ้น ปูนาที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติจึงลดลง
สำนักงานประมงเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปูนา จึงนำเสนอวิธีการเลี้ยงปูนาให้กับเกษตรกร
ให้มีรายได้เสริม และเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูป
จึงได้ขอสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดลำปาง เพื่อจัดทำโครงการสร้างรายได้เสริมจาการเลี้ยงปูนาและการเพิ่มมูลค่าสินค้าแปรรูปจากปูนา
โดยได้มีการคัดเลือกเกษตรกร อ.แจ้ห่ม จำนวน 40 ราย เป็นต้นแบบการเลี้ยงปูนาในรูปแบบต่างๆ
โดยได้ร่วมกับคณะเทคโนโลยีเกษตร ม.ราชภัฎลำปาง ในการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
และได้ขยายผลการเลี้ยงปูนาไปอีก 13 อำเภอ ทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
240 ราย ในอนาคตถ้าเกษตรกรสามารถเลี้ยงปูนาให้ได้ผลผลิตมากขึ้น
จะนำไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์จำหน่าย เป็นสินค้าโอทอป จ.ลำปาง
ประมงจังหวัดลำปาง
กล่าวอีกว่า นอกจากจะส่งเสริมการเลี้ยงปูนาแล้ว
ขั้นตอนต่อไปจะเน้นการส่งเสริมด้านการตลาด ให้เกษตรแปรรูปปูเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ
เช่น ปูนาซอสกะเพรา ปูนาทอดกรอบสามรส น้ำพริกปูนาย่าง น้ำพริกปูเปรี้ยวหวาน ปูนาดอง
อ่องมันปูนาสมุนไพรฯลฯ จำหน่ายให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือน
อ.แจ้ห่ม
เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกทางหนึ่ง และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
สอดคล้องกับการอนุรักษ์พัฒนาอาหารถิ่น อ.แจ้ห่มอีกด้วย
ด้านนายยุทธพงศ์
ไชยศร นายอำเภอแจ้ห่ม กล่าวว่า ต้องขอบคุณประมงจังหวัดที่ได้นำโครงการระดับจังหวัดเข้ามาส่งเสริมในพื้นที่
อ.แจ้ห่ม โดยเฉพาะน้ำปู ซึ่งเป็นจุดขายของ อ.แจ้ห่ม
การนำกิจกรรมนี้ขึ้นมาพัฒนาเกษตรกร และดึงดูดนักท่องเที่ยว มาจับจ่ายใช้สอยใน
อ.แจ้ห่ม ถือเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งปัจจุบันปูนาธรรมชาติก็ยังมีอยู่บางส่วน
แต่เกษตรกรรมบางชนิดก็มีการใช้สารเคมี ผู้บริโภคอาจจะลังเลใจในการอุปโภคบริโภค
เพราะฉะนั้นทางจังหวัดจึงอยากจะให้ปูนาตามโครงการนี้ มีความปลอดภัยในการบริโภค
และจัดทำเป็นสัญลักษณ์ปูแจ้ห่มปลอดสารพิษขึ้น
นอกจากนั้น กิจกรรมกินปูดูนาพาฟินที่
อ.แจ้ห่ม ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษแล้ว ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาใน อ.แจ้ห่ม
เพื่อเชื่อมโยงการกินปูนา ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะน้ำปู ที่ใช้ปูนาแปรรูปได้ ซึ่งปูนานำมาทำอาหารได้หลายชนิดได้อร่อยมาก
และยังจะได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม และอันซีนหลายแห่งใน
อ.แจ้ห่มด้วย
นายสิธิชัย
จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปูนาฯ ที่เกิดขึ้น เป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ของ
จ.ลำปาง และยังเป็นโครงการที่มีความสำคัญอีกโครงการหนึ่ง ที่มีการรวมตัวของ 3 เรื่อง มาบูรณาการร่วมกัน โดยเรื่องแรก คือ การส่งเสริมอาชีพ เนื่องจากลำปางเป็นพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรโดยส่วนใหญ่
และมีการส่งเสริมให้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน
ไม่น่าจะเป็น การทำนา ปลูกไม้ผล พืชผักสวนครัว รวมถึงการทำปศุสัตว์ และประมง
ปูนาถือเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่น่าสนใจทางภาคเหนือ
การส่งเสริมเลี้ยงปูนาก็เป็นการสร้างอาชีพต่อยอดให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง ให้ปูนามีการแพร่หลายมากขึ้น
เรื่องที่สองคือการส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น
เมื่อผลผลิตออกมาก็จะเป็นอาหารของคน อาหารแต่ละพื้นถิ่นจะมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกันไป
และถูกสรรค์สร้างขึ้นหลายหลายเมนู
ปูนาก็มีการนำมาแปรรูปให้เป็นอาหารอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของ อ.แจ้ห่ม
ก็คือการทำ “น้ำปู” นำไปใช้ประกอบอาหาร เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน
สุดท้ายคือเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยว
วิถีเกษตรก็สามารถนำมาส่งเสริมทางด้านนี้ได้
เพราะการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีเสน่ห์ของตัวเอง นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสธรรมชาติ
ต้นไม้ แหล่งน้ำ พืชผัก และสัตว์ จะได้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย
นอกจากนั้นจะยังได้มีส่วนร่วม เช่น
การลงมือทำนาเอง การปล่อยปูนา ดูการเลี้ยงปูนา เป็นต้น วิถีเกษตรยังต่อยอดท่องเที่ยวทำได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
โดยเฉพาะการท่องเที่ยวโดยชุมชน นี่คือจุดโดดเด่นภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปูนาฯ ซึ่งเป็นการนำสตอรี่มารวมกันส่งเสริมปูนาได้อย่างลงตัว และเป็นโครงการนำร่องที่จะนำไปขยายผลการเลี้ยงสัตว์ประเภทอื่น
ๆ ได้ต่อไป รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าว.

0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น