เอไอเอส
เดินหน้าปฏิบัติการเพื่อสิ่งแวดล้อม ขยายผลแคมเปญ “คนไทยไร้ E-Waste”
จับมือพันธมิตรภาคการศึกษา ในการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste)
และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ล่าสุดร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ร่วมรณรงค์นักศึกษา คัด แยก ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี
พร้อมตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมขยายจุดรับทิ้งขยะ E-Waste
ทั่วมหาวิทยาลัย
นายพรรัตน์
เจนจรัสสกุล หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital
Life Service Provider ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ Digital
Infrastructure เพื่อคนไทย
เราให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจแบบเติบโตไปพร้อมกันทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะในประเด็นของสิ่งแวดล้อม ที่เราตระหนักถึงและมีนโยบายในการร่วมดูแลรักษา
ฟื้นฟู ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราได้สานต่อภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม
โดยขยายผลแคมเปญใหญ่ “คนไทยไร้ E-Waste” จับมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั่วประเทศ
เพื่อสร้างการตระหนักรู้เรื่องภัยอันตรายที่แฝงมากับขยะอิเล็กทรอนิกส์
พร้อมขยายจุดรับทิ้งขยะทั่วประเทศ
อำนวยความสะดวกให้คนไทยสามารถเข้าถึงจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ได้ง่าย
ใกล้บ้านคุณ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้
เพื่อร่วมสร้างเครือข่ายสีเขียว และนับเป็นความร่วมมือที่สำคัญ
ที่จะช่วยให้นักศึกษาตลอดจนถึงบุคลากร และประชาชนในพื้นที่ ได้เข้าใจ
รู้ถึงภัยอันตรายที่มากับขยะอิเล็กทรอนิกส์หากกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี
รวมถึงสามารถเข้าถึงจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น”
ด้าน
รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า
“ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการสานต่อกิจกรรมความร่วมมือ โครงการ CMU
Smart City Clean Energy ของทั้งสองฝ่ายที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี
2561 และ โครงการ E-Waste ตั้งแต่ปี 2562
ในการสร้างการตระหนักรู้ให้นักศึกษาและบุคลากร มช.เห็นถึงอันตรายของขยะอิเล็กทรอนิกส์
สร้างเครือข่ายในการดูแลสิ่งแวดล้อม รวบรวมขยะและกำจัดอย่างถูกวิธี
ช่วยลดปริมาณและช่วยลดมลพิษและสารปนเปื้อนของสารอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
อีกทั้งช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอกไซด์
ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เชิงรุกของมหาวิทยาลัยฯ ด้านนวัตกรรม พลังงาน
และสิ่งแวดล้อม”
ขยะอิเล็กทรอนิกส์
(E-Waste)
ที่แคมเปญ “คนไทยไร้ E-Waste” มุ่งเน้นมีทั้งหมด
5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ,
พาวเวอร์แบงก์, สายชาร์จ หูฟัง
และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก อาทิ กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่น MP3 โดยขยะ E-Waste ทั้งหมดที่เข้าสู่โครงการจะถูกรวบรวมและนำไปกำจัดแบบถูกวิธีด้วยกระบวนการ
Zero Landfilled โดยจุดรับทิ้ง E-Waste ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 18 จุด ตั้งอยู่ในบริเวณ
สำนักงานมหาวิทยาลัย ฯ , หอพักในมหาวิทยาลัยฯ , หอพักในกำกับสวนดอก ,โรงอาหาร อมช. ,โรงอาหารใหม่ , STEP , ERDI , AIS PLAYGROUND , อาคารจอดรถ
S1 และจุดจอดรถไฟฟ้า
ปัจจุบัน “คนไทยไร้ E-Waste” รวมทั้งสิ้น 1,806 จุด
อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์ 160 แห่ง, AIS Shop จำนวน 136
สาขาทั่วประเทศ, AIS Telewiz, ศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัล 34
แห่ง, มหาวิทยาลัยต่างๆ และอาคารชุด คอนโด
ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ
E-Waste
ได้ที่ https://ewastethailand.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น