
เมื่อวันที่
14
กันยายน 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา
จัดเวทีถอดบทเรียนความสำเร็จการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลวอแก้ว ณ อบต.วอแก้ว
อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง โดยมีนายก อบต., หัวหน้าสำนักปลัด
อบต.วอแก้ว ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ตำบลวอแก้ว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร
กลุ่มผู้สูงอายุ
รวมทั้งนักวิจัยซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยด้วยงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย
คณาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนในครั้งนี้ โดยมี อ.ดร.ดวงใจ พุทธวงศ์
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา, ผศ.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ อ.อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก
อาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ รวมเป็นวิทยากรกระบวนการในการถอดบทเรียนและสกัดข้อมูลในเวทีดังกล่าว
ทั้งนี้การดำเนินการจัดเวที
อ.ดร.ดวงใจ พุทธวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เปิดเผยว่า
เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการในการวิจัยและบริการวิชาการภายใต้มิติและความต้องการของชุมชนโดยพื้นที่ตำบลวอแก้วนั้นเป็นพื้นที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่
5
ของการดำเนินการและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุดหนุนทุนวิจัยด้วยงบรายได้ในพื้นที่ดังกล่าวเข้าสู่ปีที่
4 ของการดำเนินงาน
ประกอบกับการพัฒนาเชิงพื้นที่มีความสำเร็จในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่องจากความร่วมมือของชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ
อีกทั้งมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพื่อเป็นพื้นที่ที่สร้างการเรียนรู้
การอำนวยความสะดวกและสนับสนุนส่งเสริมให้นักวิจัยพัฒนาผลงานทางวิชาการ
ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาจึงมองเห็นศักยภาพของพื้นที่ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ที่นำไปสู่การพัฒนาทั้งด้านวิชาการและท้องถิ่น
จึงได้จัดเวทีดังกล่าวขึ้นเพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จและค้นหาศักยภาพ
แนวทางในการพัฒนาสู่การเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ตำบลวอแก้ว
นอกจากนี้
ผศ.ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวว่า
พื้นที่ตำบลวอแก้วมีการบูรณาการหลากหลายศาสตร์ในการทำงานเชิงพื้นที่ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาตนเองและนำไปสู่การกำหนดเชิงนโยบายของท้องถิ่นและผู้นำชุมชนอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความโดดเด่นที่เวทีร่วมกันวิเคราะห์และนำเสนอคือด้านเกษตรอินทรีย์
และเศรษฐกิจฐานราก
ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวจึงมีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายทั้งในระดับพื้นที่และมหาวิทยาลัยในการเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้จากพื้นที่หรือ
Social
Lap ในการพัฒนาตนเองทั้งด้านการวิจัยและบริการวิชาการของคณาจารย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการวิจัยเชิงพื้นที่
รวมทั้งการเป็นฐานในการเรียนรู้การพัฒนาชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยของชุมชน องค์กร
และหน่วยงานต่างๆต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น