การเสวนาส่งเสริมการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เมื่อวันก่อน นายประยูร แก้วเดียว ผู้สมัครนายก
อบจ.ลำปาง เบอร์ 2 เป็นอีกคนที่ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ภายในงาน
โดยเน้นย้ำปัญหาเรื่องน้ำ และเศรษฐกิจ ขอเสนอตัวพร้อมเข้ามาแก้ไข
นายประยูร
แก้วเดียว ผู้สมัครนายก อบจ.ลำปาง เบอร์ 2 กล่าวถึงปัญหาเร่งด่วนที่ควรแก้ไขว่า
ความเดือดร้อนของชาวบ้านที่กำลังพบเจออยู่คือเรื่องน้ำ
ทั้งหมด 13 อำเภอ มีห้วย หนอง คลอง บึงตามธรรมชาติ
แต่ที่ผ่านมาการพัฒนาเรื่องน้ำไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร การทำฝายชะลอน้ำให้ชาวบ้าน จึงเป็นแนวนโยบายหนึ่งที่ตนคิดไว้
โดยการทำฝายในระยะ 3-4 กิโลเมตร ต่อ 1
ฝาย หากมีน้ำฝนก็จะเก็บกักได้
หากช่วงนี้ที่น้ำฝนแล้ง ก็สามารถใช้น้ำใต้ดินโดยมีระบบดูดน้ำขึ้นมาใช้ทดแทนได้ ซึ่งการทำฝายนี้จะช่วยเหลือด้านการเกษตรได้มาก
สิ่งที่จะตามมาคือการทำปศุสัตว์ เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และยังสามารถปลูกพืชผักอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ได้อีก
เป็นการลดสารเคมีสู่ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตก็จะกลับคืนมา รวมทั้งชาวบ้านก็จะมีอาหารบริโภค
และยังค้าขายได้ ในส่วนสถานที่สาธารณะที่มีหนอง
คลอง บึง ก็ให้ทำการขุดไม่ให้ตื้นเขิน
อบจ.มีอุปกรณ์ทั้งหมดแต่ที่ผ่านมาไม่มีใครทำ
ถ้าได้มีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่ อันดับแรกจะแก้ปัญหาเรื่องน้ำ
นายประยูร
กล่าวอีกว่า เรื่องที่สองคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการนำของดีแต่ละอำเภอ 13 อำเภอ จัดงานอีเว้นทุกเดือนให้ครบ 12 เดือน เพื่อดึงเม็ดเงินเข้ามาสู่
จ.ลำปาง จากที่เคยเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ ตนมีคอนเน็กชั่นอยู่ สามารถติดต่อประสานงานกัน
ร่วมมือกันนำเสนอให้มาเที่ยวที่ จ.ลำปางได้ มีการจัดให้มีที่พักโฮมสเตย์ในแต่ละอำเภอ
เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ ตนมองว่าลำปางมีของดีมากมายที่จะนำเสนอมากมาย
หนึ่งในนั้น คือน้ำตกแจ้ซ้อน ที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก มีวัดพม่าสวยงามหลายแห่ง หากตนมีอกาศได้เข้าไปทำหน้าที่นายก อบจ. จะเริ่มทำได้ทันที
ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 64 เป็นต้นไป
สิ่งสำคัญคือ
อบจ.ต้องทำงานร่วมกับท้องถิ่นอื่นๆ ต้องไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกเหมือนที่ผ่านมา
เพราะต้องช่วยกันเข้ามาแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน การมาเป็นนายก อบจ. ต้องเข้าใจชาวบ้าน
รับทราบพื้นที่ รับทราบถึงปัญหา 2 สิ่งที่จะทำเร่งด่วนก็คือ น้ำ
และเศรษฐกิจ ตามที่กล่าว
ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
นายประยูร กล่าวว่า
ตนมีความเห็นในทิศทางเดียวกันกับผู้สมัครอีกหลายท่าน ที่ต้องการใช้พื้นที่ราชพัสดุสักแห่ง
จัดทำให้เป็นแลนมาร์คของจังหวัดลำปาง นำเสนอสินค้าโอทอปของดีจังหวัดลำปางทั้ง 13 อำเภอ รวมไปถึงการค้าขายพืชผลทางการเกษตร เป็นเกษตรอินทรี ย์ ให้นักท่องเที่ยวที่ผ่านมาทางภาคเหนือมาซื้อสินค้าที่จุดเดียว
ต่อไปทุกคนต้องแวะไม่ใช่แค่ผ่าน ถ้าทำได้ถือเป็นการมีส่วนร่วมกันหมด และมีรายได้กันถ้วนหน้า
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น