วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

โรงไฟฟ้าแม่เมาะเตรียมปิดซ่อมบำรุงรักษาคลองส่งน้ำแม่จาง เพื่อลดการรั่วไหลของน้ำ เสริมแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้ง


จำนวนผู้เข้าชม counter for blog


กฟผ.แม่เมาะ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ 2 แหล่งคือ อ่างแม่จางมีปริมาณกักเก็บปกติ 102.118 ล้านลูกบาศก์เมตร และอ่างแม่ขามมีปริมาณกักเก็บปกติ 35.843 ล้านลูกบาศก์เมตร จากข้อมูลล่าสุด (1 ธันวาคม 2563) ปริมาณน้ำใน 2 อ่างเก็บน้ำของ กฟผ.แม่เมาะ มีปริมาณคงเหลือใช้ได้คิดเป็น 28.79% และ 21% ตามลำดับ ซึ่งถือว่ายังอยู่ในภาวะภัยแล้งความรุนแรงระดับ 2 ที่ทุกคนต้องช่วยกันประหยัดน้ำ และใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า


ล่าสุด เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 นายพัฒนพงศ์ ขันทา ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้สัมภาษณ์ถึงหนึ่งในมาตรการจัดการน้ำให้เพียงต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าของ กฟผ.แม่เมาะ ว่า คลองส่งน้ำแม่จางเป็นคลองแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาว 6.4 กิโลเมตร ใช้ส่งน้ำจากอ่างแม่จางมายังบ่อพักน้ำสำหรับกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งคลองส่งน้ำดังกล่าว ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับอ่างเก็บน้ำแม่จาง และมีระยะเวลาการใช้งานมากว่า 38 ปีแล้ว ทางผู้บริหาร กฟผ.แม่เมาะ เล็งเห็นว่าควรมีการบำรุงรักษาคลอง โดยให้หน่วยงานวิศวกรรมโยธาเข้าตรวจสอบถึงความแข็งแรง หาจุดรั่วไหล หรือจุดแตกหักของคอนกรีต และทำการซ่อมแซมให้คลองมีสภาพที่พร้อมในการใช้งานได้ต่อไป

 


นายพัฒนพงศ์ ยังกล่าวต่อว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะมีแผนจะเริ่มเข้าสำรวจคลองส่งน้ำแม่เมาะประมาณต้นเดือนธันวาคม 2563 และจะเริ่มปิดคลองเพื่อซ่อมบำรุงเป็นระยะ ระหว่างเดือนธันวาคม 2563เดือนมิถุนายน 2564 ประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน ซึ่งจะตรงกับแผนการหยุดซ่อมบำรุงรักษาประจำปีของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแม่เมาะเครื่องที่ 1 (MM-T1) ดังนั้นจึงไม่กระทบต่อความมั่นคงในการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตลอดจนการปิดซ่อมคลองส่งน้ำแม่จางจะลดการรั่วไหลและสูญเสียระหว่างทางของน้ำโดยไม่จำเป็น

 


ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้จัดตั้งคณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำหรับติดตามระดับและปริมาณน้ำอย่างใกล้ชิด ตลอดจนวางแผนบริหารจัดการทั้งการกักเก็บและการใช้งานให้เพียงพอตลอดปี เพื่อให้ กฟผ.แม่เมาะ  ยังสามารถรักษาความมั่นคงในระบบการผลิตได้ไปพร้อมๆ กับการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการรักษาระบบนิเวศน์ของชุมชนอีกด้วย

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์