วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

รองผู้ว่าฯ นำทีม ระดมกำลังทำแนวกันไฟรอบดอยพระบาทยาวกว่า 30 กิโลเมตร พร้อม “ชิงเก็บและชิงฝัง”

 

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์ 


รองผู้ว่าฯ นำทีม ระดมกำลังทำแนวกันไฟรอบดอยพระบาทยาวกว่า 30 กิโลเมตร  พร้อม “ชิงเก็บและชิงฝัง”เศษใบไม้หญ้าแห้ง ตามแนวคิดผู้ว่าฯครั้งแรกของจังหวัดลำปาง  คาดจะสามารถลดปัญหาไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564  ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พันเอก โสภณ นันทสุวรรณ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 และรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำปาง นายเรวัตร  เวียงทอง ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้ลำปางสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 ลำปาง นายอิศเรศ จิรารัตน์ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมควบคุมไฟป่าภาคกลาง (ชุดเหยี่ยวไฟ) ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่เหยี่ยวไฟป่าลำปาง เจ้าหน้าที่เสือไฟลำปาง กำลังทหารตากมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเมืองลำปาง เจ้าหน้าที่ ปภ.จ.ลำปาง  พร้อมชาวบ้านชุมชนบ้านโทกหัวช้าง หมู่ 3 ต.พระบาท อ.เมืองลำปาง ระดมกำลังเข้าไปทำแนวกันไฟ บริเวณจุดปักธง ยอดดอยพระบาท ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของยอดดอยพระบาท เขต ต.พระบาท อ.เมืองลำปาง  โดยการทำแนวกันไฟครั้งนี้มีความกว้างกว่า 10 เมตร ระยะทางยาวกว่า 30 กิโลเมตร  เชื่อว่าจะสามารถเป็นแนวป้องกันการลุกลามหากเกิดไฟไหม้ป่าในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  




ทั้งนี้ จากสภาพปัญหาเกิดไฟป่าขึ้นประจำทุกปี โดยเฉพาะแนวเขาดอยพระบาท สาเหตุหลักมาจากการลักลอบเผาป่า เพื่อล่าสัตว์และหาของป่า ทำให้แต่ละปีที่ผ่านมา ได้มีการปรับรูปแบบแผนรับมือการเกิดไฟไหม้ป่ากันอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังเกิดไฟไหม้ขึ้นประจำ เช่นเดียวกับปีนี้ ในพื้นที่แห่งนี้ยังไม่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น เนื่องจากว่าทางชุมชน และหน่วยงานต่างๆได้ทำงานร่วมกันมานานหลายปี แต่ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ เพราะยังมีกลุ่มคนที่มีอาชีพหาของป่าเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นมาตรการป้องกันอีกทางหนึ่งคือการทำแนวป้องกันไฟป่าในพื้นที่โดยรอบ จึงได้มีการร่วมมือจากหลายหน่วยงานเข้าทำการจัดการเศษใบไม้ หญ้าแห้ง




โดยในปีนี้ ได้มีแนวคิดใหม่คือ การชิงเก็บและชิงฝัง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ โดยการจัดเก็บเศษวัสดุที่จะเป็นเชื้อเพลิง และขุดหลุมฝังบริเวณใกล้โคนต้นไม้  ไม่ให้มีการเผาเกิดขึ้นเพื่อลดมลพิษทางอากาศ อีกทั้งเศษใบไม้หญ้าแห้งเหล่านี้ต่อไปในวันช้างหน้าก็จะเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้เจริญเติบโต  ซึ่งแนวคิดนี้ถือว่าได้ทำขึ้นเป็นครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดลำปาง และจะได้ขยายการดำเนินการออกไปให้ครอบคลุมต่อไป




Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์