วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

ลำปางเตรียมการรับมือภัยแล้ง แม้น้ำต้นทุนน้อยลงแต่มั่นใจจัดการได้ ผู้ว่าฯย้ำประชาชนต้องมีน้ำกินน้ำใช้เพียงพอ รวมถึงด้านอุตสาหกรรมก็ต้องขับเคลื่อนไปได้

 

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

เมื่อวันที่ 29 ม.ค.64 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานแถลงข่าวการบริหารจัดการน้ำในช่วงสถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดลำปาง ปี 2564 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานชลประทานที่ 2 ลำปาง สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงาน ปภ.จังหวัด สำนักงานทรัพยากรน้ำ ภาค 1 ฯลฯ เพื่อเตรียมพร้อมกับมือกับภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือน คือ พ.ค. ถึง ก.ค.

ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง  กล่าวว่า สถานการณ์ของ จ.ลำปาง  ยืนยันว่าจากข้อมูลน้ำประมาณเดือน พ.ย. 63 มีน้อยกว่าน้ำต้นทุนปี 62 ลดลงจากเดิม แต่ได้มีการเตรียมการบริหารจัดการในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้น้ำต้นทุนเดือน ม.ค. ใกล้เคียงกัน ถือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำได้ดีมาก แต่ก็ต้องดูสถานการณ์ภัยแล้งของปีนี้อีกครั้ง

นโยบายการจัดการจะใช้เหมือนปีที่แล้ว ต้องรักษาน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมที่สำคัญก่อน อันดับ 1 ก็คือ น้ำอุปโภคบริโภค หรือน้ำดื่มน้ำกินทั้งระบบ ได้เตรียมผ่านระบบประปาของภูมิภาค และประปาท้องถิ่น มีหลุมเก็บน้ำไว้ส่วนหนึ่งสำหรับบางพื้นที่ให้ผ่านวิกฤตไปถึงเดือน ก.ค.  อันดับ 2 คือ น้ำที่ใช้ในการอุตสาหกรรม เนื่องจากลำปางมีโรงงานเซรามิค โรงงานผลิตอาหาร ชุมชนเขตเมืองที่มีร้านอาหาร ต้องสำรองน้ำไว้ให้ประชาชนที่ทำการค้า ทำธุรกิจ เพื่อให้เคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้   และอันดับ 3 ภาคการเกษตร ถึงแม้ว่ารายได้ภาคเกษตรไม่ได้มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าอุตสาหกรรม แต่ประชาชน 60 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกร  โดยจะยึดต้นไม้ที่อาจยืนต้นก่อน พยายามจัดหาอุปกรณ์ที่ให้น้ำน้อยและอยู่ได้นาน ตามวิธีการของภาคเกษตร เพื่อไม่ให้มีการยืนต้นตาย  ถ้าพอมีน้ำเหลืออีกก็จะจับจ่ายให้ภาคเกษตรอื่นที่ทำกินถูกกฎหมายแต่อยู่นอกเขตชลประทาน  ใน 3-4 เดือนข้างหน้าคงไม่ง่ายที่จะผ่านวิกฤตช่วงภัยแล้ง

ปัจจุบันเห็นว่าแม่น้ำวังน้อยมาก เมื่อน้ำแล้ง มลภาวะมี ทำให้คุณภาพน้ำแย่มาก  2 ปีล่าสุด ถ้าให้คะแนนเต็ม 100 คุณภาพน้ำอยู่ที่ 29  ซึ่งต่ำมาก หากจัดการเรื่องภัยแล้งได้แล้ว เราอาจจะมีโครงการเสริมขึ้นมาในเรื่องของคุณภาพน้ำ เพราะน้ำวังคือชีวิตของคนลำปาง  นายณรงค์ศักดิ์ กล่าว



ด้านตัวแทนจากสำนักงานชลประทานที่ 2 ลำปาง กล่าวว่า สถานการณ์น้ำต้นฤดูแล้งปีนี้ ปัจจุบันน้ำ 2 เขื่อนใหญ่มีอยู่ 145 ล้านลูกบาศก์เมตร  น้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว 25 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนอ่างขนาดกลางและเล็กใกล้เคียงกว่าปี่ที่แล้ว  ซึ่งจะต้องวางแผนอย่างรัดกุม นโยบายของกรมชลประทานจะต้องจัดลำดับตามความสำคัญตามที่ผู้ว่าฯได้กล่าวไว้  โดยเฉพาะน้ำกินน้ำใช้  ที่จะต้องมีเพียงพอ  รวมทั้งน้ำที่ใช้รักษาระบบนิเวศ แต่ละเดือนจะระบาย 1 ล้าน ลบ.ม. เพื่อผลักดันน้ำเสีย  โดยจะมีการเว้นช่วงระบาย และน้ำเพื่อการเกษตร ในช่วง 3 เดือน พ.ค.ถึง ก.ค. จะต้องสำรองน้ำไว้ให้เพียงพอ  การส่งน้ำนาปีเป็นการทำนาหลักของการปลูกข้าวก็ต้องเตรียมพร้อมไว้ด้วย  เมื่อน้ำ 3 ส่วนเพียงพอก็จะเหลือส่วนหนึ่งให้การเกษตรอื่นๆ ในปีนี้เขื่อนกิ่วคอหมามีน้ำจัดสรรให้ปลูกพืชได้ 5,300 ไร่  ส่วนเขื่อนกิ่วลมเดิมจัดสรรให้ได้ 1.3 หมื่นไร แต่จากร่วมประชุมแล้วปีนี้จะไม่ปลูกพืชใช้น้ำน้อยแล้ว  การส่งน้ำให้พื้นที่ท้ายน้ำ เถิน แม่พริก สบปราบ ปีที่แล้วระบายไป 10 ล้าน ลบ.ม. ปีนี้ก็ได้มีการเตรียมไว้แล้วเช่นกัน   และยังได้เตรียมเครื่องสูบ 42 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ รถแบ็คโฮ ไว้สนับสนุนภารกิจทั้งหมดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง




ด้านเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง  กล่าวว่า การเตรียมการแก้ปัญหาภัยแล้งว่า พื้นที่การเกษตร 1.5 ล้านไร่ มีพื้นที่เพาะปลูก 1.1 ล้านไร  73 เปอร์เซ็นต์ของการเกษตรทั้งหมด  จำแนกเป็นข้าว 5 แสนกว่าไร ไม้ผล 2 แสนกว่าไร่ พืชผักสวนครัวและอื่นๆ 3 หมื่นกว่าไร่   ปีนี้มีพื้นที่ไม้ผลยืนต้น 6.3 หมื่นไร่  ส่วนที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ 7,700 กว่าไร่ที่เสี่ยงยืนต้นตาย  ซึ่งได้มีการจัดเตรียมมาตรการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัยไว้แล้ว

 

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์