วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏลำปาง จัดงาน “แจ้ซ้อนม่วนใจ ครั้งที่ 2” ชู “ข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อน”สิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ลำปาง


จำนวนผู้เข้าชม hit counter

 ผศ.ดร.นันทินา ดำรงวัฒนกูล คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง  เปิดเผยว่า ช่วงระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2564 นี้   คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้กำหนัดจัดงาน “แจ้ซ้อนม่วนใจ ครั้งที่ 2” ขึ้น ณ แปลงนาอินทรีย์ บ้านหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลแจ้ซ้อน เพื่อเป็นการยกระดับและผลักดันให้ข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  หลังจากที่ทางคณะฯดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญที่ให้ความสำคัญในการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชนประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากและยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น


ผศ.ดร.นันทินา  กล่าวว่า  พื้นที่ตำบลแจ้ซ้อน เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว เนื่องจากมีแม่น้ำมอญไหลผ่าน โดยมีต้นกำเนิด จากขุนแม่มอญไหลผ่านอุทยานน้ำพุร้อนแจ้ซ้อนในพื้นที่กว่า 3 ไร่ รวมเป็นสายน้ำแร่สู่แม่น้ำมอญและในชุมชนได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวทิพย์ร่มโพธิ์และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยไร้สารเคมี ตำบลแจ้ซ้อน ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีมาตรฐานการผลิตตามระบบมาตรฐานข้าวอินทรีย์ รวมถึงสามารถพัฒนามาตรฐานการผลิตสู่ระบบ USDA Organic และ IFOAM โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวลำปาง (Lampang Rice) เรียกว่าข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อน  มีลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ คือ เป็นแหล่งน้ำที่อาศัยสายน้ำแร่จากน้ำพุร้อนแจ้ซ้อนซึ่งเป็นออแกนิก100 เปอร์เซ็นต์ แห่งเดียวในประเทศไทย

ปัจจุบันพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้แก่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าว กข43 และข้าวหอมล้านนา และอยู่ระหว่างการพิจารณาพันธุ์ข้าวที่ใช้กำหนดเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ได้แก่ ข้าวหอมมะลิดำหนองคาย ให้เป็นลักษณะพันธุ์ที่ใช้ปลูกในพื้นที่เพื่อขอการรับรอง เมื่อพิจารณาโอกาสในการจำหน่ายข้าวแล้ว พบว่า ปัจจุบันมีกระแสผู้รักสุขภาพมากขึ้น ข้าวอินทรีย์จึงเป็นที่ต้องการของผู้รักสุขภาพ และยังสามารถแปรรูปที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น น้ำใบข้าว ผง ชงดื่มหรือเครื่องสำอาง เป็นต้น



อีกทั้งยังมีหน่วยงานที่พร้อมสนับสนุนทั้งเงินทุน และองค์ความรู้ อาศัยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนจนเกิดเป็นข้าวสายน้ำแจ้ซ้อน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกกลุ่มที่ปลูกข้าวหรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่”  ผศ.ดร.นันทินา กล่าว

          สำหรับกิจกรรมภายในงานแจ้ซ้อนม่วนใจ ครั้งที่ 2  กำหนดพิธีเปิดงานเวลา 09.00 น. วันที่ 13 มีนาคม 64  โดย ว่าที่ร้อยตรีสมชาย  สิริชูทรัพย์ นายอำเภอเมืองปาน  พร้อมชมการแสดง โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลแจ้ซ้อน ซอล่องน่าน “งานแจ้ซ้อนม่วนใจ๋” โดย เด็กหญิงคณัสนันท์  อินทรีอาจ

จากนั้นช่วงเวลา 09.30 – 10.30 น. เป็นการเสวนา “ข้าวดีนครลำปาง-การพัฒนาข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อนตลอดโซ่อุปทาน”  โดย ผศ.ดร.นันทินา  ดำรงวัฒนกูล คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง   นายธีรภัทร์   คำสม  ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร จำกัด นายสุรินทร์ พูลสวัสดิ์  เจ้าของกิจการร้านปั้นข้าวเหนียวร้านโอมิ ซูชิแอนด์เทปปันและนักปั้นแบรนด์มืออาชีพ นายจรัญสิทธิจู ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยไร้สารเคมีตำบลแจ้ซ้อน

          เวลา 10.30 – 11.30 น. เสวนา “Signature of Chaeson Lampang - เส้นทางการท่องเที่ยว และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์โอท็อปอัตลักษณ์แห่งตำบลแจ้ซ้อน  โดย นายเมธิวัฒน์ ถุงแก้ว  ตำแหน่ง เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ซ้อน นางนัฏยา  สมฤทธิ์   ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอเมืองปาน

นอกจากนั้นยังมีกิจกรรม การประกวดวาดภาพ “ตำบลแจ้ซ้อนในฝัน” การประกวดแสดงความสามารถผู้สูงอายุ การแข่งขันจับปลาไหล และขุดปูนา  และยังจะได้บันทีกภาพประทับใจกับ ทุ่งปอเทือง พร้อมจุดเช็คอินที่สวยงาม น่าสนใจหลายจุด  การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พืชผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี ตลอดทั้งวัน   มุมให้ความรู้ “เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง เคียงคู่แจ้ซ้อน”  การแสดงสินค้าข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อน  สาธิตการใช้โดรนเพื่อการเกษตร  การแสดงนกแก้วแสนรู้ จากสมาคมนกจังหวัดลำปาง และการแสดงนวัตกรรมพลังงานทดแทน “โซล่าเซลล์” เป็นต้น





 

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์