วันที่
9 มี.ค.64 เวลา 10.30 น. 5 นักกิจกรรมทางการเมือง นำโดยนายพินิจ ทองคำ
แกนนำกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน นางยุพดี กูลกิจตานนท์ น.ส.ภัทรกันย์ แข็งขัน นักศึกษา
ม.ราชภัฎลำปาง น.ส.วรรณพร หุตะโกวิท
สมาชิก NU MOVEMENT และ
นักศึกษาหญิงไม่ประสงค์ออกนามจาก ม.ธรรมศาสตร์
พร้อมด้วยทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จ.เชียงใหม่ เข้ารายงานตัวที่สำนักงานอัยการจังหวัดลำปาง หลังเจ้าหน้าตำรวจ สภ.เมืองลำปาง ส่งสำนวนฟ้อง
ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
กรณีขึ้นป้ายงบสถาบันกษัตริย์-วัคซีนโควิด-19 บนสะพานรัษฎาภิเศก
รวมทั้งมีการนำภาพโพสต์ลงในเพจพิราบข่าวเพื่อมวลชนด้วย
โดยทั้ง
5 คนได้บันทึกภาพด้านหน้าป้ายสำนักงานอัยการจังหวัด
พร้อมชู 3 นิ้ว ก่อนจะเข้าพบพนักงานอัยการ
ซึงมีผู้ติดตามมาให้กำลังใจประมาณ 10 คน
และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบดูแลความเรียบร้อยโดยรอบประมาณ 10
นาย
ทั้งนี้
กลุ่มนักกิจกรรมฯ ทั้ง 5 คน ได้มีการยื่นเอกสารร้องขอความเป็นธรรมให้แก่พนักงานอันการจังหวัดลำปาง
ซึ่งมีความประสงค์จะขออ้างพยานบุคคล โดยขอให้พนักงานอัยการได้ทำการสอบสวนเพิ่มเติม
ดังนี้ ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้การเกี่ยวกับประเด็นประวัติศาสตร์
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ , เลขาธิการสำนักพระราชวัง
ให้การตามที่กล่าวหาผู้ต้องหาทั้ง 5 คน
ว่าสร้างความเสียหายต่อ ร.10 หรือไม่อย่างไร , เรียกขอพยานเอกสารไปยัง
นายกรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอเอกสารงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่ปี 57-64 , และ
ออกหมายเรียก รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้การเกี่ยวกับประเด็นงบประมาณที่เกี่ยวจ้องกับวัคซีคโควิด-19 ซึ่งการขอความเป็นธรรม โดยการเชิญบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มีวัตถุประสงค์เพื่อการยืนยันว่ากรณีดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดหรือเข้าข่ายการกระทำความผิดหรือไม่
สำหรับการเรียกตัวครั้งนี้
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มคณะบุคคล นำป้ายผ้าระบุข้อความโจมตี นโยบาย
และการทำงานของรัฐบาล รวมถึงประเด็นในส่วนของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
และมีข้อความบางส่วนที่ไม่เหมาะสมพาดพิงถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าติดตามการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
พบว่า กลุ่มบุคคลมีการนำป้ายข้อความไปติดยังสถานที่สำคัญต่างๆ
รวมถึงสถานที่ราชการหลายแห่ง ในเขตอำเภอเมืองลำปาง ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 หลายครั้ง ซึ่งการกระทำดังกล่าว อาจสร้างความเข้าใจผิด
ให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนไปจากความจริง
เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองลำปาง ได้ทำการปลดป้ายผ้าดังกล่าวออก
ต่อมาได้ดำเนินการสืบสวนจนสามารถพิสูจน์ทราบว่า
ทั้ง 5 คนข้างต้น
เกี่ยวข้องกับการขึ้นป้ายดังกล่าว จึงได้เรียกตัวมารับทราบข้อกล่าวหาที่
สภ.เมืองลำปาง เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 64 ที่ผ่านมา
โดยทั้งหมดได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
ทางพนักงานสอบสาวนจึงได้รวบรวมส่งสำนวนยื่นต่ออัยการดังกล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น