วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564

การอ่านหนังสือ


จำนวนผู้เข้าชม blog counter


การอ่านหนังสือ เป็นการหาความรู้หาวิชาในเรื่องที่อยากจะทราบเอา ซึ่งหนังสือแต่ละเล่ม ก็คงได้บรรจุบันทึกอะไรที่คนอยากรู้อยากจะทราบเอาไว้แล้ว เพียงแต่หาเวลาหาโอกาสจับมาอ่านหนังสือเล่มที่อยากจะอ่านกันไป เป็นข้อผิดพลาดอย่างแรง ที่คนซื้อหนังสือเล่มที่ชอบและอยากอ่านั้น เมื่อซื้อมาแล้ว ก็คิดว่าจะอ่านเมื่อใดก็ได้จึงไม่ได้อ่านสักที ความรู้นั้นก็ไม่ได้รู้กัน ถ้าเปิดอ่านก็จะได้ความรู้นั้นไปตั้งนานแล้ว หนังสือซื้อกันไว้แล้วไม่ได้จับมาอ่าน เท่ากับเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือมีบางครั้งอยากจะอ่าน ไปหยิบมาอ่านนั้น ก็ไม่ได้อ่านเสียแล้ว ปลวกแทะเลมจนกลายเป็นผงไปแล้ว จึงคงจะรู้สึกเสียดายและก็เสียใจกัน ที่มีหนังสือดี ๆ แล้วไม่ได้อ่าน เพราะเก็บรักษาไม่ดีจึงเป็นเหตุให้หนังสือนั้นเป็นเหยื่อของปลวกไป

 

การอ่านหนังสือ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแสวงหาความรู้ เพราะการได้อ่านทำให้ความรู้สมบูรณ์ และวิธีการอ่านที่จะได้ผลดีนั้น พึงปฏิบัติ ดังนี้

 

การอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ควรจะอ่านด้วยความตั้งใจอย่างดีที่สุด จงถือเวลาที่เงียบสงัด จากความกังวลต่าง ๆ อย่าคิดว่าการอ่านหนังสือในสถานที่หรือเวลาที่ไม่มีความเงียบสงัดจากความกังวลต่างๆ  จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

 

ขณะที่อ่านหนังสือพบข้อความใดที่เห็นว่า สำคัญควรจะทำเครื่องหมายไว้ให้สะดุดตา โดยไม่ต้องคิดเสียดายว่าหนังสือจะเสีย

 

ในขณะที่อ่านหนังสือพึงใช้ความพินิจ และคิดคำนึงติดตามไปด้วย การอ่านครั้งแรกอาจจะต้องอ่านเพื่อทราบและสำรวจเนื้อหาในหนังสือ และอ่านจับใจความให้ละเอียดอีกในเที่ยวที่สอง ต่อจากนั้นจึงนำเอามาคิดใคร่ครวญดูว่าอันไหนไม่ดี

 

การอ่านหนังสือเพียงเที่ยวเดียวอย่างตั้งใจย่อมไม่เป็นการเพียงพอ การอ่านซ้ำซากหลายเที่ยว เลือกเฟ้นกดเกณฑ์ต่างๆ   แล้วนำไปคิดวิพากษ์วิจารณ์ ก็จะก่อให้เกิดความรอบรู้ได้

 

ขณะที่อ่านหนังสือ พบข้อความใดที่เป็นประโยชน์น่าสนใจ น่าคิด ถ้าเกรงว่าจะจำไม่ได้ จงบันทึกลงในสมุด

 

เมื่อได้บันทึกข้อความที่น่าสนใจเหล่านั้นลงไปในสมุดแล้ว ควรเลือกบันทึกการอ่านทบทวน อีกครั้งเพื่อช่วยความจำ

 

เหล่านี้ คือความสำคัญ และจำเป็นในการอ่านหนังสือ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนวุฒิปัญญาแก่ผู้ต้องการ ซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาเพื่อจะให้เกิดความรอบรู้อย่างแตกฉานให้เกิดขึ้นแก่ตน หากท่านที่ต้องการเป็นนักพูดหรือไม่ก็ตาม น่าจะยึดถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป เพราะหนังสือเป็นทั้งครู เป็นทั้งอาจารย์ที่จะเลือกคิดใครครวญได้เป็นอย่างดี

 

การอ่านหนังสือนั้นบางครั้งแค่คำ ๆ เดียวที่ไม่ค่อยจะรู้ความหมายของคำนั้น ก็อาจจะไม่เข้าใจทั้งประโยค และข้อความทั้งหมดกันได้ก็อาจทำให้อ่านไม่สนุกไม่รู้เรื่องแล้วพาลไม่อ่านต่อไป บางทีบางครั้งคำที่ชิน ๆ เคย ๆ กันแล้ว อยากจะทราบความหมายก็คงจะตอบไม่ได้ อย่างคำว่าทะเล และมหาสมุทร เราคงรู้ได้ดี แต่ถ้าสมุทรคำเดียว เรากลับอึ้งหาคำตอบไม่ได้เอากันเลย ฉะนั้นหากติดศัพท์คำใดๆ ควรจะมีหนังสือพจนานุกรมเอาไว้เปิดหาความหมายคำนั้นด้วย สมุทรที่เราหาคำตอบไม่ได้ก็ลองไปหาความหมายจากหนังสือพจนานุกรม ก็ไความหมายว่า ทะเล นั่นเอง บางคำเราซึ้งเอามาก ๆ อย่างคำว่าน้ำใจ นี่!! แต่ให้อธิบายว่ามันคืออะไรก็ต้องหากันที่หนังสือพจนานุกรมอีก ก็คือ ความจริงใจที่แสดงออกต่อกัน นั่นเอง

 

การอ่านหนังสือมีประโยชน์เพิ่มพูนความรู้ควรจะมีหนังสือพจนานุกรมไว้หาความหมายคำที่ไม่รู้หรืออยากรู้ไว้ค้นหาด้วย

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์