วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

รพ.ลำปาง เผยแนวคิดนวัตกรรมรถบังคับ ส่งเวชภัณฑ์-เสิร์ฟอาหารให้ผู้ป่วย ลดเสี่ยงบุคลากร มีใช้งานแล้ว 9 คัน ในโรงพยาบาล 4 แห่ง แต่โรงพยาบาลอีก 9 อำเภอยังขาด



          ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทุกครั้ง ในการส่งมอบยา เวชภัณฑ์ อาหารเครื่องดื่มต่างๆ โดยทางโรงพยาบาลลำปาง ได้คิดค้นนวัตกรรมรถบังคับส่งของที่จำเป็น เพื่อลดการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยได้  นอกจากนั้นยังมียังปรับการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย ผ่าน Line OA  ใช้ติดต่อรายบุคคลกับผู้ป่วย Cohort ward โดยพยาบาลไม่ต้องเข้าไปในส่วนผู้ป่วย ลดเสี่ยงเลี่ยงโควิด-19

ดร.ธีรินทร์ เกตุวิชิต

          สำหรับแนวคิดนวัตกรรมรถบังคับวิทยุดังกล่าว มาจาก  ดร.ธีรินทร์ เกตุวิชิต  นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ โรงพยาบาลลำปาง เปิดเผยว่า ได้คิดค้นนวัตกรรมนี้มาตั้งแต่ที่มีการติดเชื้อโควิดรอบแรกในปี 63  ได้เห็นว่าตอนที่ส่งอาหาร เวชภัณฑ์ให้กับผู้ป่วย ต้องใช้ไม้ยาวๆส่งไป เพราะเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด ซึ่งไม่สะดวกมากนัก  จึงคิดที่จะหาวิธีอย่างไรให้ช่วยเหลือบุคลากรได้  พอดีได้เห็นรถบังคับที่น่าจะพอนำมาดัดแปลงส่งของได้ โดยมีระยะเดินทางไกลได้ 30 เมตร เลยนำมาดัดแปลงใส่ตะกร้าบรรทุกของด้านหลังรถ เพื่อใช้ส่งของ ส่งเวชภัณฑ์ อาหาร และเสื้อผ้าให้ผู้ป่วย ลดการใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี  



ตนเองเป็นคนออกแนวความคิด โดยมีทางภาคเอกชน เช่น หอการค้า จ.ลำปาง ชมรมนักธุรกิจรุ่นใหม่ เข้ามาช่วยสนับสนุน  รวมทั้งได้รับความร่วมมือของผู้บริหาร สสจ.ลำปาง ผอ.โรงพยาบาลลำปาง เล็งเห็นความจำเป็นของนวัตกรรมนี้และได้ส่งมอบให้โรงพยาบาลอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ตอนนี้มีรถอยู่ทั้งหมด 9 คัน ใช้ที่โรงพยาบาลลำปาง 6 คัน โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี 1 คัน โรงพยาบาลแจ้ห่ม 1 คัน และเตรียมไว้ที่โรงพยาบาลสนามของ อบจ. 1 คัน   โดยวิธีการส่งจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมรีโมทอยู่ภายในห้อง หรือจุดต่างๆในระยะไม่เกิน 30 เมตร  และให้รถวิ่งส่งให้กับผู้ป่วย จะมีการติดหมายเลขเตียงไว้ให้ ผู้ป่วยก็จะรู้ว่าจะต้องหยิบชิ้นไหนที่เป็นของตัวเอง



ดร.ธีรินทร์ กล่าวว่า สำหรับต้นทุนค่าใช้จ่ายนวัตกรรมรถบังคับนี้อยู่ที่ 3,000 บาทเศษ โชคดีที่ร้านขายส่งให้ราคาทุนมาเลยจริงๆ  ทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้นอย่างมาก ตอนนี้ยังต้องการเพิ่มอยู่หากมีใช้ได้ครบทุกโรงพยาบาลก็จะดีมาก เพราะมีผู้ป่วยทุกโรงพยาบาล ซึ่งยังขาดอยู่อีก 9 แห่งที่ยังไม่มีใช้  ถ้าได้ก็จะช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ได้เยอะมาก 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์