วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 2 ตรวจสอบค่าออกซิเจนในแม่น้ำวัง พบคุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีน้ำเน่าเสีย พร้อมเก็บตัวอย่างแม่น้ำวังตรวจในเขตเทศบาล 6 จุด ส่งวิเคราะห์ประจำเดือน



เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 2 ลำปาง ได้ทำการทดสอบค่าออกซิเจนละลายน้ำในเขตเทศบาลนครลำปาง 4 จุด คือ  บริเวณสะพานออเร้นจ์ โดยชุมชนสิงห์ชัย ทดสอบค่าออกชิเจนละลายในน้ำได้ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ พอใช้  , บริเวณสะพานแขวนฝายยาง โดยชุมชนบ้านดงไชย ทดสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำได้ 6 มิลลิกรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ ดี  , บริเวณสะพานดำ โดยชุมชนนาก่วมเหนือ ทดสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำได้ 8 มิลลิกรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก   และ บริเวณชุมชนศรีปงชัย โดยชุมชนศรีปงชัย ทดสอบค่าออกซิเจนละลายในน้ำได้ 8 มิลลิกรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก



ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18   พ.ค. 64 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ส่วนวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำแม่น้ำวัง ช่วงไหลผ่านชุมชนเมือง เขตเทศบาลนครลำปาง จำนวน 6 จุดเก็บ เพื่อตรวจติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำ คือ สะพานฝายยาง  สะพานออเร้นจ์   สะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี  สะพานช้างเผือก สะพานเขลางค์นคร และสะพานเสตุวารี

          จากการตรวจสอบสภาพโดยรวมพบว่า แม่น้ำวังนิ่ง ปริมาณน้ำน้อย เนื่องจากมีการระบายน้ำออกจากฝายกั้นน้ำ เพื่อขุดลอกลำน้ำ ลักษณะน้ำขุ่น ในจุดที่1-4 คือ สะพานฝายยาง  สะพานออเร้นจ์   สะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี  สะพานช้างเผือก และใสช่วงจุดที่ 5 และ 6 คือ สะพานเขลางค์นคร และสะพานเสตุวารี  สามารถมองเห็น ปลา พืชน้ำ และสาหร่ายใต้น้ำ ได้ชัดเจน  สำหรับความลึกของลำน้ำ อยู่ระหว่าง 0.6 – 1.8 เมตร ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 7.41 – 7.64 และค่าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ (DO) อยู่ระหว่าง 3.76 – 6.98 มิลลิกรัมต่อลิตร




จุดที่ 4, 5 และ 6 พบหญ้าบริเวณข้างริมน้ำ และในลำน้ำพบพืชใต้น้ำ สาหร่าย เป็นจำนวนมาก โดยบริเวณริมฝั่ง พบว่ายังมีการระบายน้ำทิ้งจากท่อ ลงสู่แหล่งน้ำ จำนวน 7 ท่อ น้ำทิ้งที่ระบายมีลักษณะขุ่นสีขาวถึงดำ มีกลิ่นเหม็น และมีเศษอาหารปะปน  และยังพบถุงพลาสติก ขวดแก้ว เศษแก้ว ขวดพลาสติก และเศษอาหาร บริเวณริมฝั่งน้ำและในลำน้ำ

จากนั้น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำ และส่งตรวจวิเคราะห์หาสารมลพิษ ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง จำนวน 6 จุดเก็บ เดือนละ 1 ครั้ง  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินผลคุณภาพน้ำ เป็นการตรวจติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพแม่น้ำวังอย่างต่อเนื่อง สำหรับเป็นเเนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำแม่น้ำวัง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดต่อไป





 

 


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์