การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 วนลูปกลับมาอีกครั้ง หลังจากเกิดขึ้นอย่างหนักหน่วงเมื่อช่วงเดือนเมษายน 64 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนั้น จ.ลำปาง มีผู้ติดเชื้อมากถึง 262 คน และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย โดยลักษณะของการติดเชื้อมาจากคนนอกพื้นที่นำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในชุมชน ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นจากเคสงานบวช อ.แจ้ห่ม และ เคสจากการดื่มสังสรรค์กันในพื้นที่ อ.งาว ทำให้มีผู้ป่วยในพื้นที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 30 คน จนต้องปิดหมู่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
ในการแพร่ระบาดระลอกเดือนเมษายนนั้น จะเห็นได้ว่า มีผู้ที่รู้ตัวว่าติดเชื้อโควิด-19 และตั้งใจเดินทางกลับมายัง
จ.ลำปาง เป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดผู้ป่วยในจังหวัดเพิ่มขึ้น ถึงแม้จังหวัดจะไม่ได้ห้ามการเดินทางเข้าพื้นที่
แต่ก็ได้ขอความร่วมมือแล้วว่า
ขอให้งดการเดินทางเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดสู่ครอบครัว และสังคม ซึ่งมีการเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
มีทั้งผู้ที่กักตัวตามมาตรการ และไม่กักตัว ทำให้ จ.ลำปาง มีผู้ป่วยสะสมมากถึง 262 คน
จนช่วงต้นเดือนมิถุนายน 64 จึงเข้าสู่ภาวะปกติ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา
เป็นวันที่ผู้ป่วยทุกคนรักษาหาย ผู้ติดเชื้อในพื้นที่ จ.ลำปาง กลายเป็น 0 รวมทั้งหมด 31 วัน ขณะเดียวกันได้
ขอความร่วมมือให้คนที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด ต้องกักตัว 14 วัน และสแกน “ลำปางชนะ”
รายงานตัวต่อผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อให้ จ.ลำปาง
ยอดผู้ป่วยเป็น 0 ต่อเนื่องตลอดไป
แต่ก็ต้องผิดหวัง
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 64 พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่อีกครั้ง
เป็นชาย
2 คน อายุ 24 ปี และ 26 ปี ชาว อ.เมืองลำปาง เดินทางไป จ.กรุงเทพฯ และ จ.นนทบุรี
เพื่อดูงานธุรกิจขายเนื้อวัว หลังเดินทางกลับมาถึง จ.ลำปาง ไม่ได้กักตัวทันทีแต่ได้ไปซื้อของและซื้ออาหารที่ห้างหลายแห่ง
จนทราบว่าเจ้าของร้านเนื้อที่ไปดูงานติดเชื้อโควิด จึงได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ
และเป็นผู้ป่วยยืนยัน 2 รายใหม่ของ จ.ลำปาง และผู้ป่วยคนที่ 3 คนที่ 4
ก็ตามมาติดๆ
ในการระบาดช่วงเดือนมิถุนายน 64 ครั้งนี้ ทาง จ.กรุงเทพฯ
ได้มีการสั่งปิดแคมป์ ทำให้แรงงานต่างๆกลับบ้านเกิด ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดกระจายทั่วประเทศ
หรือที่เรียกว่า “ผึ้งแตกรัง” รวมทั้งผู้ป่วยที่อยู่กรุงเทพฯ
ไม่มีเตรียงให้รักษา การเดินทางกลับบ้านจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด
จ.ลำปาง
ได้ผุดโครงการ “รับคนลำปางกลับบ้าน” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ใน จ.กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้รับการรักษาที่บ้านเกิด โดยไม่ต้องนอนรอความหวังว่าจะมีเตียงหรือไม่หลังจากเปิดโครงการมาตั้งแต่วันที่
30 มิถุนายน 64 ได้มีการติดต่อประสานงานเข้ามาเรื่อยๆ
จนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 64 รวมผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน
28 คน ขณะที่มีผู้ป่วยชาวลำปาง ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อในพื้นที่
จ.ลำปาง รวม 21 คน กระจายใน 5 อำเภอ คือ อ.เมืองลำปาง อ.เกาะคา อ.แม่พริก อ.วังเหนือ
และ อ.เมืองปาน และผู้ป่วยที่เป็นคนต่างจังหวัดที่ตรวจพบเชื้อและเข้ารักษาตัวที่
จ.ลำปาง จำนวน 4 คน รวมผู้ป่วยสะสมจำนวน 53
คน
การที่
จ.ลำปางมีโครงการรับคนลำปางกลับบ้าน เป็นเรื่องที่ดี ผู้ป่วยที่เดินทางมาเข้าในระบบทุกคนโดยการตรงไปโรงพยาบาลทำให้เชื้อไม่แพร่กระจาย แต่ก็ยังมีคนลำปางเองที่ฝ่าฝืนมาตรการจังหวัด
โดยการเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงแต่ไม่กักตัว จนติดเชื้อและลามไปติดครอบครัว
ตัวอย่างจาก ผู้ป่วยรายที่ 16
ชายอายุ 35 ปี ชาว อ.เกาะคา ที่เดินทางไป
จ.กรุงเทพฯ และกลับมาไม่ได้มีการกักตัว ยังคงไปดื่มสังสรรค์กับเพื่อนรวม 5 คน ทำให้มีการแพร่เชื้อสู่ญาติพี่น้อง และหลานวัย 5
ขวบ จนทำให้เด็กนักเรียนจำนวนมากกลายเป็นกลุ่มเสี่ยง
รวมถึงบุคคลอื่นๆที่ใกล้ชิดรวมทั้งหมด 73 คน ซึ่งเคสนี้ มีผู้ติดเชื้อจากผู้ป่วยรายที่ 16 จำนวน 4 คน
อีกรายที่น่าจับตามองคือ ผู้ป่วยรายที่ 42 หญิงสาว อายุ 29 ปี ชาว อ.เกาะคา ทำงานอยู่โลตัสเอ็กเพลส
สาขารีเจนท์ลอร์จ โดยทราบว่าเพื่อนเดินทางมาจากกรุงเทพฯ
มาพักที่หอพักด้วย 2 วัน แต่ไม่ได้มีการกักตัว
เดินทางออกไปรับประทานอาหารกับเพื่อนคนดังกล่าว หลายร้านในตัวเมืองลำปาง และมาทำงานตามปกติ จนกระทั่งมีอาการป่วยจึงไปตรวจและพบว่าติดเชื้อโควิด
แม้จะมีบทเรียนให้เห็นมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
จากประสบการณ์การแพร่ระบาดถึง 3 ครั้งที่ผ่านมา ว่าเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดส่วนใหญ่เกิดจากการเดินทางเข้าไปคลุกคลีอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
และกลับมาภูมิลำเนาโดยไม่มีการกักตัว 14 วัน รวมถึงเกิดจากการดื่มกิน
สังสรรค์ด้วยกันเป็นหมู่คณะ
รู้ทั้งรู้
แต่ก็ยังทำ
หลายคนอาจจะคิดว่า บทเรียนเหล่านี้ คือบทเรียนราคา หรือว่าคือบทเรียนที่ราคายังไม่ได้แพงมากถึงมากที่สุด พอที่จะให้ใครจดจำ
หรือต้องรอให้เกิดการสูญเสียถึงขั้นเสียชีวิตก่อน
จึงจะหันมารักษามาตรการกันอย่างเคร่งครัด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น