วันที่
13
สิงหาคม 2564 นายอดิศักดิ์ กิจเจริญธนารักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ในฐานะผู้รักษาบริเวณ กฟผ.แม่เมาะ
และประธานศูนย์จัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) กฟผ.แม่เมาะ เปิดเผยว่า กฟผ.แม่เมาะ
พบผู้ปฏิบัติงานกองบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า 4 ฝ่ายบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ปฏิบัติงานที่อาคาร ZW-4 Workshop กองบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า 4
(เดิม) เป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมจำนวน
2 ราย โดยเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ป่วยยืนยันรายที่ 2
ของ กฟผ.แม่เมาะ ซึ่งทั้งหมดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว
ถือเป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายที่ 3 และ 4 ของ กฟผ.แม่เมาะ นับตั้งแต่เริ่มการระบาด
เบื้องต้น
กฟผ.แม่เมาะ ได้ประสานกับสาธารณสุข อ.แม่เมาะ
เพื่อคัดกรองผู้สัมผัสผู้ป่วยและดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคของ จ.ลำปาง
โดยมีผู้ปฏิบัติงานและลูกจ้างที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายที่ 2,3
และ 4 ของ กฟผ.แม่เมาะ เสี่ยงสูงจำนวน 18
ราย เสี่ยงต่ำ 14 ราย
โดยได้แจ้งให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำทั้งหมด กักตัวอยู่ที่พักอาศัย
และเตรียมเข้ารับการตรวจหาเชื้อตามลำดับ
นอกจากนั้นได้ปิดพื้นที่ทำงานและจะเข้าดำเนินการฆ่าเชื้อสถานที่ดังกล่าวต่อไป
ในส่วนของอาคารบ้านพักผู้ปฏิบัติงานที่ที่ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้ออาศัยอยู่
เจ้าหน้าที่ได้เข้าทำความสะอาดฆ่าเชื้อในพื้นที่ส่วนกลางอาคารแล้ว
และปิดกั้นห้องของผู้ป่วยไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ายังพื้นที่ อย่างไรก็ตาม
หน่วยงานที่ผู้ป่วยปฏิบัติงานอยู่
มิได้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับงานด้านการผลิตและควบคุมระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีมาตรการห้ามบุคคลภายนอกเข้าออกโดยเด็ดขาด
จึงไม่มีผลกระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าของ กฟผ.แม่เมาะ แต่อย่างใด
ทั้งนี้
ในวันที่ 12 สิงหาคม 2564 นายบัณฑิต
จารุเนตร วิศวกรระดับ 11 ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2
ให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.ลำปาง และ อ.แม่เมาะ นำโดย
นายณัฐธกูล ไชยสงคราม นายแพทย์ชำนาญการ สาธารณสุขจังหวัดลำปาง
เพื่อหารือและแนะแนวทางการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานและการดำเนินมาตรการ Bubble
and Seal ภายในพื้นที่ กฟผ.แม่เมาะ
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้มีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดในวงกว้าง
ซึ่ง
กฟผ.แม่เมาะ มีความพร้อมในการดำเนินตามมาตรการ Bubble and Seal ทันที โดยจะจัดผู้ปฏิบัติงานแยกเป็นกลุ่ม
พร้อมควบคุมไม่ให้มีกิจกรรมข้ามกลุ่ม
และขอความร่วมมือให้ผู้ปฏิบัติงานเลี่ยงการแวะทำกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างการเดินทางไปกลับที่พักอาศัย
นอกจากนั้นได้จัดเตรียมพื้นที่พักคอย (Factory Accommodation Isolation) ไว้ที่อาคารถิ่นเทเวศร์และอาคารอเนกประสงค์
สำหรับกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในปัจจุบัน
ทั้งเตรียมเป็นสถานที่สำหรับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อที่ระดับอาการไม่รุนแรง
กรณีเตียงของโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลสนามไม่เพียงพอ
ตลอดจนเตรียมจุดตรวจพร้อมชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) สำหรับตรวจกลุ่มเสี่ยงเชิงรุก
ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ทันท่วงที
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น