เพื่อเป็นการรณรงค์และสร้างการรับรู้
รวมถึงสร้างองค์ความรู้ และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste
นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้คน
จึงกำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวัน International
E-Waste Day ซึ่งความสำคัญดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแนวทางการทำงานด้านความยั่งยืนของ
AIS ในด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้สร้างความตระหนักรู้ผ่าน
การสื่อสาร กิจกรรม และโครงการต่างๆ ทำให้สามารถเก็บ E-Waste เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้องได้แล้วกว่า 223,807 ชิ้น ซึ่งสามารถดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,238,070 กิโลกรัมคาร์บอนสมมูลย์ เทียบเท่ากับต้นไม้ขนาดใหญ่ 248,674 ต้น (น้ำหนัก 10,749.17 Kg. / 10.7 Tons)
โดยในปีนี้ได้น้อง
เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ หนึ่งใน AIS Family ในฐานะเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกครั้งล่าสุด
ซึ่งเป็นเหรียญที่ทำมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มาร่วมรณรงค์
ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการ E-Waste ถึงวันนี้เป้าหมายภารกิจ
คนไทยไร้ E-Waste ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง และ AIS
ขออาสาเป็นศูนย์กลางด้านองค์ความรู้และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี
มุ่งเน้นการทำงานกับพันธมิตรและภาคส่วนต่างๆ
สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นางสายชล
ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า
“เนื่องในวัน International E-Waste Day ประจำปีนี้ AIS
ขอใช้โอกาสนี้ในการย้ำเตือนสังคมให้เห็นถึงปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์
หรือ E-Waste ที่มีการเติบโตสูงสุดในบรรดาขยะทั้งหมด
ซึ่งจะต้องจัดการทิ้งให้ถูกวิธีและมีความรับผิดชอบ
จากความตั้งใจนี้ทำให้เราสร้างภารกิจ คนไทยไร้ E-Waste ขึ้น
โดยรับอาสารวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
และกำจัดตามมาตรฐานสากล ปัจจุบันได้จัดทำถังรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์
วางในจุดต่างๆ ทั่วประเทศ รวมแล้วกว่า 2,400 จุด
และได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ เช่น ไปรษณีย์ไทย ที่สามารถฝากทิ้ง E-Waste
กับพี่ไปรษณีย์ได้ รวมถึงองค์กรเครือข่ายคนไทยไร้ E-Waste ในการเป็นจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากคนไทยทั่วประเทศ”
“เป้าหมายการทำงานของ AIS ต่อเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่ใช่เพียงแค่กิจกรรมเพื่อสังคม
แต่เราต้องการทำให้ภารกิจ คนไทยไร้ E-Waste ถูกขยายออกไปสู่การสร้าง
Engagement กับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
โดยวันนี้เราพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางด้านองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี
ซึ่งจะไม่ใช่แค่การได้มาซึ่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ลดลงเท่านั้น
แต่ยังช่วยสร้างประโยชน์ที่เกิดจากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง”
เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ เล่าว่า “เหรียญทองโอลิมปิกนับว่าเป็นความภูมิใจสูงสุดที่เกิดจากความพยายาม และที่สำคัญคือทุกเหรียญเกิดจากความตั้งใจของชาวญี่ปุ่นในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์มาสร้างเป็นเหรียญรางวัลให้กับนักกีฬา ซึ่งถือว่าเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และยังเป็นตัวอย่างในการรีไซเคิลให้ขยะกลับมามีคุณค่าอีกครั้ง วันนี้ยังมีขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่ยังจัดการไม่ถูกวิธี เราต้องเริ่มจากการวางแผนการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้คุ้มค่าที่สุด และหากจำเป็นต้องทิ้งก็ควรทิ้งให้ถูกวิธีกับ AIS ที่มีจุดรับทิ้งมากมาย พวกเราทุกคนช่วยกันได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและโลกของเรา”
นางสายชล
กล่าวในตอนท้ายว่า “นอกเหนือจากการทำงานเพื่อส่งมอบประสบการณ์ใหม่ด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีในทุกรูปแบบแล้ว
เรายังมีอีกหนึ่งพันธกิจในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ
ร่วมดูแลรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจ
และสิ่งแวดล้อมให้สามารถเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืนได้
เราเชื่อว่าการจะขับเคลื่อนเพื่อจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คนไทยไร้ E-Waste
ได้นั้น ต้องเกิดจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน
และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และลงมือทำอย่างจริงจัง
ก็จะทำเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด
ทั้งนี้หากองค์กรใดสนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายคนไทยไร้ E-Waste ก็สามารถติดต่อได้ที่ E-Mail: [email protected] เพื่อร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมของเราไปด้วยกัน”
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://ewastethailand.com/
และรับชมความประทับใจของ เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ
ที่มีต่อเหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิก
ที่ทำมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงมุมมองและวิธีการจัดการกับ E-Waste ได้ทาง https://www.facebook.com/ais.sustainability
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น