วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สสธวท เดินหน้ารณรงค์จัดการขยะติดเชื้อ “ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย”


ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังคงมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่ในหลายพื้นที่สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สสธวท)  พร้อมด้วยสมาคมสมาชิก สสธวท 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของทุกคนในสังคม จึงได้จัดแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการจัดการขยะติดเชื้อ ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้ถึงอันตรายจากการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมถึงแนะนำวิธีการแยกขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี โดยมุ่งขยายผลเชิญชวนภาครัฐและเอกชนช่วยกันแยกขยะ ใส่ถุงผูกโบแดง เป็นสัญลักษณ์ เพื่อลดการแพร่กระจายโควิด-19 จากขยะติดเชื้อ โดยจะได้มีการจัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้และอบรมสัมมนาให้ความรู้แนะนำวิธีการจัดการขยะ เพื่อให้องค์กรสมาชิกทั่วประเทศนำไปเป็นแนวทางในการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง และหลังจากการดำเนินโครงการ 3 เดือน จะได้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการต่อไป


คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล  ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน   การป้องกันตัวและเฝ้าระวังตนเองจากเชื้อโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ วิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดขยะติดเชื้อในปริมาณสูงควบคู่ไปด้วย  การจัดการปัญหาที่มากับขยะติดเชื้อจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มิใช่เป็น ความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่ทุกคนในสังคม ควรที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือ  โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีที่อยากมุ่งให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดีในการร่วมกันสร้างพฤติกรรมการกำจัดขยะติดเชื้อให้ถูกวิธี  อีกทั้งเพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่น สังคมมีสุขภาวะที่ดี จึงได้สนับสนุนให้องค์กรสมาชิกของสหพันธ์ฯ โดยมี สธวท กรุงเทพ เป็นสมาคม นำร่องต้นแบบในการดำเนินโครงการเพื่อให้องค์กรสมาชิกนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการภายในจังหวัดของตนเองและขยายผลเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนนำไปดำเนินการจัดการแยกขยะภายในหน่วยงานของตนเอง และขอเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจังให้เกิดเป็นรูปธรรม และขอให้สื่อมวลชน ช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนนำไปดำเนินการให้บรรลุผลต่อไป

 


 “ทั้งนี้โครงการจัดการขยะติดเชื้อ “ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย” เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า  (คืนขยะ...ให้คุ้มประโยชน์) หรือ “WEEE  (Waste of Electronic and Electrical Equipments)  ที่ สสธวท เคยทำมาในอดีต  ด้วยความตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมลพิษขยะอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และสุขภาพของคนทั่วโลก จึงได้มีการริเริ่มดำเนินโครงการแยกขยะอีเลกทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องภัยของสารพิษและรณรงค์การคัดแยกขยะพิษที่มีอันตรายต่อสุขภาวะของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ปี 2552  เป็นต้นมา โดยมี สธวท กรุงเทพ เป็นสมาคมนำร่องต้นแบบในการดำเนินโครงการ” คุณหญิงณัฐิกา กล่าว

 


ดร.ณ ฤดี  เคียงศิริ   นายกสธวท กรุงเทพ และประธาน (ร่วม) โครงการ กล่าวว่า ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบและอันตรายจากขยะติดเชื้อที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของทุกคนในสังคม โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่   สธวท กรุงเทพ เป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายให้เป็นสมาคมนำร่องต้นแบบของโครงการจัดการขยะติดเชื้อ “ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย”  ร่วมกับสมาคมสมาชิกของสหพันธ์ฯ อีก 21 จังหวัด  ในการเร่งผลักดันและรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกัน ทิ้งขยะให้ถูก โดยแยกทิ้งขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือ ชุดตรวจ ATK. ที่ใช้แล้ว เป็นต้น แล้วจัดการผูกโบแดง เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นขยะติดเชื้อ เพื่อสื่อสารให้ผู้จัดการเก็บและทำลายขยะได้รู้ ได้เข้าใจ และนำไปดำเนินการจัดเก็บขยะและกำจัดขยะได้อย่างถูกวิธี”           

                                  

ดร.นันทริกา  ชันซื่อ  อุปนายก สธวท กรุงเทพ และ ประธานโครงการฯ (ร่วม) กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อมุ่งเน้นการรณรงค์ให้เกิดการรับรู้ถึงผลกระทบจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากขยะติดเชื้อและเพื่อให้เกิดการแยกหรือกำจัดขยะอย่างถูกวิธีแล้ว  จึงได้ดำเนินโครงการ ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจายภายใต้โมเดลเชิงสัญลักษณ์  โบสีแดงผูกถุงขยะติดเชื้อ”  ด้วยคาดหวังว่า จะช่วยให้ระบบการบริหารจัดการขยะภายในองค์กรรัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ โดยผ่านการจัดทำสื่ออิเลคทรอนิค ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบและอันตรายจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากขยะติดเชื้อ, จัดทำสื่ออิเลคทรอนิคส์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้  แนะนำวิธีการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี รวมถึงจัดทำสื่ออิเลคทรอนิคส์หลักสูตรการอบรมการจัดการ พื้นที่ส่วนกลางในการกำจัดขยะติดเชื้อสำหรับผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป อาทิ โรงเรียน หมู่บ้าน อาคารชุด วัด บริษัท หน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้หากทุกคนช่วยกันรณรงค์ให้โครงการนี้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติได้จริง จะสามารถจัดระเบียบสังคม หยุดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 ที่อาจเกิดจากขยะมีพิษ ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ดำเนินการจัดเก็บขยะสามารถแยกขยะได้โดยง่าย และผู้มีหน้าที่กำจัดขยะสามารถจัดการขยะมีพิษ หรือขยะติดเชื้อได้อย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ จึงขอเชิญชวนให้ช่วยกันรณรงค์โครงการนี้ ทิ้งถูกผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย  


กอบแก้ว แผนสท้าน...เรื่อง

 


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์