วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อบจ.ผุดโรงไฟฟ้าขยะ ขนาด 10 เมกะวัตต์ งบโครงการ 1,900 ล้าน หวังลดปัญหาขยะลำปาง จัดประชุมรับฟังความเห็นชาวบ้าน ครั้งที่ 1 เป็นไปอย่างราบรื่น



          วันที่ 21 พ.ค.65 นายจำลักษณ์ กันเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายวราวุธ หน่อคำ รอง นายก อบจ.ลำปาง ร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง   โดยมี ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ ม.เชียงใหม่ และ รศ.ดร.อรรณพ วงศ์เรือง  อ.ประจำวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมให้ข้อมูล  ซึ่งในการประชุมมีชาวบ้านเข้าร่วมประมาณ 500 คน





โดยโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าฯ  มีวัตถุประสงค์  เพื่อให้สามารถกำจัดขยะมูลฝอยถึงร้อยละ 75 ของจังหวัด ลดขยะที่จะนำไปฝังกลบ ลดกลิ่นเหม็น แมลง และสัตว์พาหะนำโรค  รวมถึงลดการระบายก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการฝังกลบขยะ  เพราะสามารถนำเถ้าหนักที่เหลือจากการเผาไหม้ มาใช้เป็นสารปรับปรุงดินได้  มีรายไดจากการขายไฟเข้าระบบของ กฟภ.  สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจโดยรอบพื้นที่โครงการ

ซึ่งจะทำการกำจัดขยะมูลฝอย 650 ตันต่อวัน มีค่าความร้อนเฉลี่ย 1,600  กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ  9.50 เมกะวัตต์  สามารถส่งขายเข้าระบบได้ 6.00 เมกะวัตต์  โดยมีจุดเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าจากโครงการไปยังสถานีไฟฟ้า ลำปาง 3 วร 1cรหัสวงจร LPC01 ซึ่งสามารถรับไฟฟ้าได้ 8,000  กิโลวัตต์




การก่อสร้างของโครงการฯ จะใช้พื้นที่ของที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ลป.1358   เลขที่ 232 หมู่ที่ 59 ต.ต้นธงชัย อ.เมืองลำปาง  ตั้งอยู่ใกล้กับโครงการกำจัดขยะมูลฝอยครบวงจรของ อบจ.ลำปาง   ใช้พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 311 ไร่ 1งาน 67 ตารางวา  งบประมาณในการลงทุนโครงการประมาณ  1,900  ล้านบาท  โดย อบจ.จะเสนอเชิญชวนเอกชนเข้ามายื่นข้อเสนอเป็นใจผู้ลงทุนทั้งในการก่อสร้างและบริหารโครงการในลักษณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางมอบให้เอกชนดำเนินการแทนในการลงทุนก่อสร้างและบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้า ระยะเวลาโครงการ 25 ปี  ดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนได้ผลพลอยได้เป็นพลังงานไฟฟ้า สามารถนำส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพลังงานในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจากผู้ผลิตรายเล็กมาก (VSPP) ขนาดกำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ เป็นการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

 



Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์