ในช่วงเวลาที่สถานการณ์โลกไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่วิกฤต ปัญหาภัยแล้ง ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจการเมือง ความฝืดเคืองทางการเงิน เป็นสิ่งที่ชวนให้คนในสังคมปัจจุบัน ต้องหันมาขบคิด ว่าอะไร คือ สิ่งที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไข ป้องกันกับสิ่งต่างๆ ที่พากันถาโถมเข้ามา อย่างตรงจุด และเกิดประโยชน์สูงสุด และในสถานการณ์ที่พลังงานต่างๆ กำลังจะสูญสิ้นไป สิ่งที่สังคมโลกต้องการมากที่สุด คงหนีไม่พ้น “พลังงานทดแทน”
หากพูดถึงแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนในจังหวัดลำปางนั้น
ต้องคิดถึง วิทยาลัยเทคนิค กฟผ. แม่เมาะ หรือเดิมชื่อว่า วิทยาลัย
กฟผ.แม่เมาะ เป็นแน่ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
แล้วยังเป็นแหล่งการศึกษาสายอาชีพที่คอยขับเคลื่อน
พัฒนาเกี่ยวกับพลังงานอัจฉริยะอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ล่าสุด LannaPost ได้พูดคุยกับ นายรุ่งโรจน์ อาริยะ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิค กฟผ. แม่เมาะ ผู้บริหารไฟแรง ที่มีความมุ่งมั่นที่จะนำพาวิทยาลัย พัฒนาไปไกลในด้านของพลังงานทดแทน ทราบว่าก่อนหน้าที่ท่านจะมาดำรงตำแหน่งที่วิทยาลัยเทคนิค กฟผ.นั้น ทางวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจากทาง กฟผ.เกี่ยวกับพลังงานทดแทนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว วิทยาลัยแห่งนี้มี “ห้องเรียนเสมือนจริง” เป็นห้องเรียนที่ใช้จำลองการผลิตไฟฟ้า ทำให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสบรรยากาศเหมือนการได้เข้าไปทำงานจริงๆ และ ห้องเรียนห้องนี้ก็ได้กลายเป็นห้องเรียนที่ใช้ในการผลิตของนักเรียน นักศึกษาหลายๆ แห่ง
นอกจากนี้วิทยาลัยแห่งนี้ยังพูดถึงเรื่องไฟฟ้าเป็นหลัก
โดยมีแนวทางที่จะลดต้นทุนของการใช้ไฟฟ้า และการใช้น้ำมัน ซึ่งเป็นตัวหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะโลกร้อน
และเศรษฐกิจ ดังจะเห็นจากการใช้พลังงานจากรถ EV (Electric Vehicle)
เพื่อลดการใช้น้ำมัน การนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งที่หน้าสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมา
เพื่อใช้ในบางอาคารที่ใช้ไฟน้อย
อีกทั้งยังสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา
ทำสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับเรื่องของการอนุรักษ์พลังงาน การใช้แผงโซลาร์เซลล์
และปั๊มน้ำ ในศูนย์ชีววิถี เพื่อหวังว่าจะเป็นการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันไปพร้อมกับนักเรียน
นักศึกษา และเป็นตัวอย่างแก่พี่น้องประชาชนชาวแม่เมาะต่อไป
Smart
Energy ร่วมสร้าง “แม่เมาะเมืองน่าอยู่”
จากที่หลายๆ
ท่านทราบดีเกี่ยวกับโครงการ “แม่เมาะเมืองน่าอยู่” จังหวัดลำปาง
ที่มุ่งเน้นความร่วมมือ ระหว่าง กฟผ. ชุมชนอำเภอแม่เมาะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องนี้
ผอ.รุ่งโรจน์ เล่าว่า ทางวิทยาลัยเทคนิค กฟผ. ได้รับความอนุเคราะห์จากการไฟฟ้า
ให้ทางวิทยาลัยได้เข้าร่วม โครงการ Smart Energy โดยได้มีการประชุมหารือกันถึงลักษณะของโครงการ
เบื้องต้นทางการไฟฟ้าได้เข้ามาดูตึกเฉพาะทางของทางวิทยาลัย
เพื่อที่จะประเมินว่าตึกนี้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด โดยมีการนำแผงโซลาร์เซลล์มาลงที่ตึกนี้เรียบร้อย
ทั้งนี้ถือเป็นการทดลองดูว่าทั้งเดือนจะใช้พลังงานไปเท่าใด
และจะนำมาคำนวณในการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งในส่วนอื่นๆ ต่อไป
อนาคตที่หวังไว้
นายรุ่งโรจน์
อาริยะ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิค กฟผ. แม่เมาะ กล่าวว่า หากโครงการ Smart
Energy สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแล้ว ในภายภาคหน้า ก็มีแผนว่าอาจจะมีแผงโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ
(Floating Solar Farm) คือการนำแผงโซลาร์เซลล์ลอยในสระน้ำกลางแจ้งของวิทยาลัย
มีแสงแดดทั่วถึงตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังมีโครงการที่นำเสนอให้วิทยาลัย เป็นศูนย์ที่จะปรับรถทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์
ให้กลายเป็นรถ EV โดยจะมีการเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งตอนนี้อยู่ในส่วนของการประสานงาน
ในส่วนของทางวิทยาลัยนั้นก็ได้มีการเตรียมการไว้หมดแล้ว โดยมีนักเรียน
นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการให้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องพลังงาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น