นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานประชุมการหารือแนวทางการระบายน้ำเขื่อนกิ่วลม-กิ่วคอหมาและการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยมีองค์กรปกครอง ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชนที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมประชุม ที่หอประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลมคอหมา ต.บ้านแลง อ.เมืองลำปาง วันที่ 11 ส.ค. 2565 ที่่ผ่านมา
นายพีระยุทธ
เหมาะพิชัย
ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา รายงานว่า
ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีน้ำเข้าเขื่อนทั้ง 2 เขื่อนหลัก 10 ล้าน ลบ.ม.เกือบทุกวัน
จึงจะเป็นต้องมีการระบายน้ำออกต่อเนื่อง โดยวันที่ 10 ส.ค.65 มีน้ำไหลเข้าเขื่อนสูงที่สุดถึง 12 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเขื่อนกิ่วลมได้มีการระบายออกวันละประมาณ 9 ล้าน ลบ.ม. ส่วนกิ่วคอหมาอยู่ที่ประมาณวันละ 6 ล้าน ลบ.ม. แต่ในช่วงวันที่ 11-17 ส.ค.นี้ จะต้องเตรียมพร้อมรับฝนที่ตกลงมาอีก จึงมีการวางแผนร่วมกันหาทางออกในการระบายน้ำออกเพิ่มขึ้นให้กระทบกับผู้อาศัยอยู่ท้ายน้ำน้อยที่สุด
นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
กล่าวว่า จังหวัดได้รับการแจ้งเตือนจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สนทช.
ว่าน้ำเก็บกักของ 2 เขื่อนเกินเกณฑ์การเก็บกักสูงสุดแล้ว
จึงต้องมีการระบายน้ำออกให้มีความสมดุล
และประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด โดยเฉพาะประชาชนท้ายเขื่อนกิ่วคอหมา 4 ตำบลคือ ปงดอน แจ้ห่ม บ้านสา และวิเชตนคร ที่ได้รับผลกระทบ ผลการตกลงกันสรุปได้ว่า
ชาวบ้านขอให้ปล่อยน้ำในระดับ 70 ลบ.ม. แต่ไม่เกิน 100 ลบ.ม.ต่อวินาที หรือประมาณ 9 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน แม้จะได้รับผลกระทบแต่ยังพอรับเงื่อนไขได้
ส่วนของเขื่อนกิ่วลมนั้นได้รับมวลน้ำจากเขื่อนกิ่วคอหมาเพิ่มขึ้น
จึงต้องปล่อยออก 150 ลบ.ม.ต่อวินาที หรือประมาณ 12 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ระดับนี้พื้นที่ท้ายเขื่อนยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวอีกว่า น้ำมักจะมาเร็วไปเร็ว มามากไปมาก
ก็เกิดความเสียหายมาก แต่เราโชคดีที่มีเขื่อนเก็บกักไว้ก่อน
และบริหารจัดการให้น้ำที่มาเร็วแต่ไปไม่เร็ว
เพื่อให้เกิดความสูญเสียท้ายน้ำน้อยที่สุด
ถ้าไม่มีเขื่อนรองรับมวลน้ำวันละ 13 ล้าน ลบ.ม.
ความเสียหายมากมายแน่นอน
ยังไงก็ต้องปล่อยน้ำออก แต่จะช่วยชะลอให้น้ำไปช้าลง
จะไม่เกิดความสูญเสียเลยคงเป็นไปไม่ได้ แต่เราจะทำให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
สำหรับการระบายน้ำที่
ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ท้ายเขื่อนกิ่วคอหมา ได้รับผลกระทบประมาณ 80 ไร่
ทำให้ได้รับความเสียหายด้านพืชผลทางการเกษตร ,ด้านประมง,ด้านปศุสัตว์ ซึ่งหากมีการปล่อยน้ำเพิ่มอาจจะกระทบไปถึง
2,000 ไร่ ในที่ประชุมได้ร่วมกันวางแผน
การให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยชดเชยค่าความเสียหายต่อไป
โดยให้ติดตามพยากรณ์อากาศในพื้นที่จังหวัดลำปาง
ระหว่างวันที่ 10 - 17 สิงหาคมประกอบด้วย
กรณีเกิดฝนตกหนักและมีน้ำเข้าเขื่อนมากกว่าเกณฑ์
อาจจะต้องการพิจารณาปล่อยเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม
ซึ่งทางผู้ว่าราชการฯ กำชับการติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น