ในงานมี นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายโกวิท ผกามาศ
ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นายชัยพล สุขเอี่ยม
ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ
ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายสุทธิพงษ์ สุริยะ
ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ผู้บริหาร
วัฒนธรรมจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเครือข่ายวัฒนธรรมเข้าร่วม ณ
บริเวณลานพญานาค (พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต)
และบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา ตำบลหนองพันทา อำเภอโซ่พิสัย
จังหวัดบึงกาฬ
การจัดงานแห่ธุงพญานาคศิลปะลุ่มน้ำโขง
"เทศกาลแห่งศรัทธา" ถือเป็นงานที่รวมเอาสองเทศกาลมารวมไว้ที่เดียว คือ
เทศกาลผีตาโขนจังหวัดเลยและเทศกาลวันมาฆบูชาสักการะพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ที่ใช้ “ธุง” หลากสีสันมาประดับในงาน ซึ่งจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ติดแม่น้ำโขง
มีความเชื่อเรื่องพญานาค เกิดแรงศรัทธา ทำความดี จึงนำความเชื่อนี้มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเกิดเป็นงานแห่ธุงพญานาคศิลปะลุ่มน้ำโขง
"เทศกาลแห่งศรัทธา" ผ่านงานวัฒนธรรมและศิลปะร่วมสมัย
ส่วนวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจ สร้างค่านิยม ในกลุ่มประชาชน เด็กเยาวชน ศิลปินร่วมสมัยและเครือข่ายในชุมชนกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความภาคภูมิใจ
มีจิตสำนึกรักและเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
นำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติงานวัฒนธรรมและศิลปะร่วมสมัย
พร้อมกับเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและการเสริมความมั่นคงระหว่างประเทศในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ทั้งนี้ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทย เช่น งานฝีมือและหัตถกรรม ศิลปะการแสดง อาหารไทย การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ยกระดับเทศกาลประเพณีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ วธ. โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย บูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดบึงกาฬ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต นายสุทธิพงษ์ สุริยะ นักออกแบบชื่อดัง เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
ปลัดวธ. กล่าวต่อไปว่า
ภายในงานมีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนโดยรถสามล้อพ่วงข้างพญานาค
การโชว์ผ้าพื้นถิ่น ชาติพันธุ์จังหวัดบึงกาฬ กิจกรรมสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT)
“ตลาดวัฒนธรรมร่วมสมัย” ทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ
กิจกรรมของดีของเด่นอำเภอ กิจกรรมสาธิตผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์จากผ้า
การโชว์ควายงาม บึงกาฬ โดยไฮไลท์สำคัญในการจัดงาน
มีการจัดขบวนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขบวนแห่ธุงพญานาคศิลปะลุ่มน้ำโขง “เทศกาลแห่งศรัทธา” กว่า 500 ธุง
พร้อมด้วยขบวนรถสามล้อพ่วงข้างพญานาค ขบวนขันหมากเบ็ง ขบวนแห่กระติ๊บข้าว
ขบวนนางรำจาก 8 ตำบล เป็นต้น
“ขณะเดียวกันการจัดงานครั้งนี้ ยังมุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและการเสริมความมั่นคงระหว่างประเทศในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ขอขอบคุณทุกภาคส่วน ชาวจังหวัดบึงกาฬที่ร่วมใจกันจัดงานดังกล่าวขึ้นเพื่อสนับสนุนสินค้าผลิตภัณฑ์
CPOT
สร้างงาน สร้างรายได้ เรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมเทศกาลทางศิลปะที่รวมพลังการสร้างสรรค์จากการนำมิติวัฒนธรรมและ
Soft Power ความเป็นไทย ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน
ยกระดับงานเทศกาลประเพณีของอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและนานาชาติ”
ปลัด วธ. กล่าว
ด้าน นายสุทธิพงษ์ สุริยะ
ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า
งานแห่ธุงพญานาคศิลปะลุ่มน้ำโขง “เทศกาลแห่งศรัทธา”
เป็นการนำทุนวัฒนธรรมที่ท้องถิ่นมีอยู่แล้วและนำศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สำหรับ”ธุง” ประดับในงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก “ครูโต” ม.ล.จิราธร จิระประวัติ
ศิลปินนักวาดภาพประกอบชื่อดัง เป็นผู้ออกแบบลวดลายพญานาค
เพราะจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ติดแม่น้ำโขง มีความเชื่อเรื่องพญานาค รวมถึงมีลวดลายดอกไม้
ธีมสีของธุง ประกอบด้วยสีม่วง สีประจำจังหวัดบึงกาฬ สีเขียว สีประจำอำเภอโซ่พิสัย
และสีขาว สื่อพลังศรัทธาพญานาค ถือเป็นต้นแบบนำงานดีไซน์ยกระดับกิจกรรมวัฒนธรรม
และยังเป็นครั้งแรกที่จัดแห่ธุงพญานาคในประเทศไทย
ตั้งเป้าจะผลักดันให้เป็นประเพณีประจำจังหวัดต่อไป
“นอกจากงานแห่ธุงพญานาคแล้ว
ในพื้นที่อ.โซ่พิสัย ยังมีพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ
เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งก่อตั้งมา 6 ปี เป็นตัวอย่างการนำ “Soft
Power” มาพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจฐานราก
เปลี่ยนโฉมหมู่บ้านเกษตรกรรมชนบทด้วยศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นำวิถีชีวิต วัฒนธรรม
ความเชื่อเรื่องพญานาค มานำเสนอในพิพิธภัณธ์ฯ
เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ
นอกจากเที่ยวชมพิพิภัณฑ์ ชมผลงานกราฟฟิตี้ 100 ผลงานที่กระจายทั่วหมู่บ้าน
ยังสามารถจับจ่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่นำงานออกแบบมาเพิ่มมูลค่า เช่น ปลาร้าบอง เครื่องจักสาน
ยาหม่อง ผ้าฝ้ายทอมือ นอกจากนี้
ยังมีผลงานกราฟฟิตี้พญานาคร่วมสมัยกระจายในพื้นที่ต่างๆ ของอำเภอ ทั้งสถานีตำรวจ
โรงพยาบาล สำนักสงฆ์ วัด โรงเรียน รวมแล้วกว่า 300 ชิ้น
ที่จะสร้างรอยยิ้มให้กับผู้มาเยือน และเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น”
นายสุทธิพงษ์ ย้ำ
กอบแก้ว
แผนสท้าน...เรื่อง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น